ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 18-06-2021, 22:57
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,647
ได้ให้อนุโมทนา: 151,944
ได้รับอนุโมทนา 4,415,863 ครั้ง ใน 34,237 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..ตรงจุดนี้เมื่อเราทราบแล้วว่าจุดบกพร่องของเราอยู่ตรงไหน ก็ต้องพยายามแก้ไข การมีปัญญารู้จักสงสัยเป็นเรื่องดี แต่ต้องควบคุมให้อยู่ในกรอบที่เหมาะสม ก็คือก่อนปฏิบัติธรรมจะลังเลสงสัยเท่าไรก็ได้ แต่ตอนที่ท่านปฏิบัติธรรมต้องลืมให้หมด แล้วตั้งหน้าตั้งตาภาวนาเท่านั้น

และยังมีอีกหลายท่าน ที่ต้องบอกว่าปัญญาน้อยเกินหรือปัญญามากเกินไปก็ไม่ทราบ อย่างเช่นสงสัยว่า ในเมื่อหลวงพ่อสอนว่าไม่ให้ยึดลมหายใจเข้าออก แต่พอตนเองปฏิบัติไประยะหนึ่ง กำลังใจกลับเกาะติดอยู่กับลมหายใจเข้าออก ไม่ยอมปล่อย แล้วอย่างนี้ทำอย่างไรถึงจะก้าวหน้าได้ ?

ตรงนี้ต้องบอกว่าเป็นพวกฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียด...! เพราะว่าการปฏิบัติตั้งแต่แรกเริ่มก็คือ เราต้องพยายามอยู่กับลมหายใจเข้าออก จนกำลังใจแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับลมหายใจเข้าออก คือเกาะติดชนิดไม่ยอมปล่อย

แต่ในส่วนที่ไม่ให้สนใจลมหายใจเข้าออกก็คือ เมื่อกำลังใจเริ่มเข้าสู่ภาวะของทุติยฌาน เป็นอัปปนาสมาธิขั้นที่ ๒ ลมหายใจจะเบาลงบ้าง หายไปบ้าง คำภาวนาจะหายไปบ้าง เราค่อยปล่อยวาง ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับลมหายใจ แค่รับรู้เฉย ๆ ว่าตอนนี้อาการเป็นอย่างนั้น ไม่ดิ้นรนเพื่อให้เข้าถึงอาการอย่างนั้น และไม่พยายามกลับมาหายใจใหม่ ก็คือไม่ต้องไปใส่ใจกับลมหายใจแล้ว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 20-06-2021 เมื่อ 00:13
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา