"โบราณกล่าวไว้ว่า "ช่างกลึงพึ่งช่างชัก ช่างสลักพึ่งช่างเขียน ช่างรู้พึ่งช่างเรียน ช่างติเตียนไม่ต้องพึ่งใครเลย" การตำหนิติเตียนนั้นจัดอยู่ในคำพูดประเภทนินทาว่าร้าย เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า การตำหนิติเตียนนั้นมักจะไม่ได้อยู่ในลักษณะสร้างสรรค์
การตำหนิติเตียนแบบสร้างสรรค์นั้น ต้องบอกวิธีแก้ไขเอาไว้ด้วย ไม่ใช่ติแบบ "ตีหัวเข้าบ้าน" คือสักแต่ว่าคนอื่น บุคคลที่ทำงานอยู่ย่อมมีโอกาสผิดพลาด ไม่รอบคอบ ถ้าเราเห็นว่าตรงไหนไม่ดี ก็ช่วยชี้ทางออก บอกทางถูก เพื่อที่ผู้อื่นจะได้รับไปแก้ไข
ดังนั้น..ผู้ที่ติเตือนผู้อื่น จึงต้องมีจิตใจที่ประกอบไปด้วยเมตตากรุณา ที่สำคัญคือต้องมีอุเบกขาพรหมวิหาร มองเหตุการณ์แบบคนอยู่วงนอก ไม่ได้กระโดดขึ้นไปเล่นบนเวที บอกกล่าวด้วยความหวังดีปรารถนาดีจริง ๆ หวังให้สิ่งต่าง ๆ ดีขึ้น เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นมากกว่านี้"
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-04-2020 เมื่อ 10:26
|