หลายท่านเข้าวัดเข้าวาแล้วกลายเป็นว่า ความประพฤติ กาย วาจา ใจ เป็นทุกข์เป็นโทษกับคนอื่น เพราะว่าไปเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐาน ไปมั่นใจว่าสิ่งที่เราทำนั้นดีแล้ว ถูกแล้ว ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ใช่ แต่ดีแค่นั้น ถูกแค่นั้น ส่วนที่ดีกว่านั้นและถูกกว่านั้นยังมีอยู่อีก เรายังก้าวไปไม่ถึง
ไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นสีลัพพตุปาทาน ยึดมั่นในหลักการปฏิบัติของตนว่าดี ถ้ายึดก็เสร็จ ท่านบอกว่า อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ความยึดมั่นถือมั่นทำให้เกิดภพ ก็คือที่เกิด ภะวะปัจจะยา ชาติ เมื่อมีที่เกิด ก็ต้องมีการเกิด ก็แปลว่าเกิดแล้วเกิดเล่าไม่รู้จบ ที่ท่านใช้คำว่า ปุนัปปุนัง แล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่รู้จะหมดสักที
ในส่วนพวกนี้พวกเราต้องระมัดระวังเอง อะไรที่ลงท้ายด้วยคำว่า "กว่า" ใช้ไม่ได้ทั้งนั้น "ดีกว่า" "ชั่วกว่า"เป็นการแบกมานะโดยที่เราไม่รู้ตัว แล้วก็เป็นเรื่องแปลกว่า ถ้าปัญญายังไม่ถึง คนอื่นบอกให้ตายก็ไม่รู้สึก เพราะไปคิดว่าที่ตัวเองทำดีแล้ว ถูกแล้ว แต่พอก้าวข้ามไปได้มองย้อนกลับมา อ้าว...ตอนนั้นยังไม่ดีจริง มีที่ดีกว่านั้น มีที่ถูกกว่านั้น แล้วเราก็ไปยึดมั่นถือมั่นอีกว่า "ตรงนี้ใช่แล้ว" ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-11-2019 เมื่อ 02:37
|