อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ นางมารร้าย
วันและเวลาที่เป็นมงคล
ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ เวลาเช้าจะยกศาลดีไหมครับ?
…
ตั้งศาลไว้ในบ้าน
ผู้ถาม :
พอไปถึงเข้าแล้วก็ปรากฏว่า ฉันก็อั้นเหมือนกัน แกถามว่าตั้งที่ไหน...ฉันก็นิ่งเขาก็ถามว่าที่นั่นได้ไหม...ที่มี่ได้ไหม...มันไม่ได้ ไป ๆ มา ๆ ก็ไม่มีตำราจะพลิก ก็ถามพระภูมิที่นั่นว่า จะตั้งที่ไหนดี...นี่เขาเคารพนับถือ เขาจะตั้งศาลเป็นเครื่องบูชา แล้วก็สถานที่มันไม่เหมาะ ท่านจะเอาตรงไหน...ท่านตัดสินใจเอาหัวนอนก็แล้วกัน ได้เรื่องเลย ก็ตั้งศาลที่หัวนอน
…
ผู้ถาม : คือลูกตั้งใจจะตั้งศาลพระภูมิที่บ้าน พอตั้งใจปุ๊บ ปรากฏว่าตอนกลางคืนมีเทวดามาบอกว่า ข้าคือเจ้าพ่อพระภูมิ ถ้าเอ็งไม่เชื่อข้าให้ไปถามหลวงพ่อฤๅษีวัดท่าซุง ที่จะเรียนถามก็คือว่าพระภูมิท่านสั่งว่า "ศาลของฉันให้เอาเสา ๔ ต้น” แต่เห็นที่อื่นเขามีต้นเดียว จะทำอย่างไรดีเจ้าคะ...?
หลวงพ่อ : นั่นไม่ใช่ภูมิเทวดาแล้ว เป็น อากาศเทวดา ดินแดนตรงไหนถ้าท่านพวกนี้อยู่นะ ถ้าเราไม่รับรองท่าน ๒ ปีแรกท่านให้คุณ ถ้าปีที่ ๓ ไม่รับรองเริ่มเจี๊ยะแล้ว แต่ถ้ารับรองแล้วจะดีมาก เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าตามแบบฉบับฉันมี๖ เสา เพราะบางแห่งเขากลัวจะล้มลงมา เขาใส่ ๖ เสา
|

เอาเรื่องภาษาไทยก่อน
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ นางมารร้าย
ความรู้ตรงนี้มาจากพระอาจารย์ หากจำผิดต้องขออภัยด้วย "มาศ" แปลว่าทอง ถั่วเขียวไม่เราะเปลือก มันจะสีทองได้อย่างไร สมัยป้าสุไม่ได้เราะเปลือกนั้นจริง แต่ภายหลังเมื่อได้ความรู้ตรงนี้จากพระอาจารย์ นางมารร้ายจึงเปลี่ยนความเข้าใจใหม่
ใช้กล้วยสุกน่ะใช่ แต่ห้ามขาดกล้วยดิบนี่ไม่น่าจะใช่ มะพร้าวก็เช่นกัน เพราะถ้าถึงเวลาทุกอย่างพร้อม เหลือแต่กล้วยสุกไม่ทัน แล้วหามีดเฉาะมะพร้าวไม่ได้นี่ จะต้องล้มงานบวงสรวงเลยหรือเปล่าคะ
แล้วในเมื่อเทียน ไม่ปิดทองก็ยังได้ ถ้าหนูมีทอง ๑ แผ่น หนูอยากจะปิดบูชา จะกลายเป็นความผิดร้ายแรงไหมคะ
ถ้าทำแบบนี้ในงานบวงสรวงที่วัดท่าขนุน คงโดนถีบแน่ค่ะ
พี่จะเอาถูกต้องตามตำราไหนล่ะคะ นางมารร้ายเพียงแต่บอกเล่าสิ่งพบเห็นจากครูบาอาจารย์ คือหลวงปู่ฤๅษีฯ พระอาจารย์เล็ก เคยทำมา สิ่งที่พี่ถามมา อาจถูกต้องตามตำราอื่นก็ได้นะคะ จะให้บอกว่าผิดก็คงไม่กล้าหรอกค่ะ ในสมัยหลวงปู่ฤๅษีฯ เวลาหาในตำราไม่เจอ ท่านถามเทวดาเอาเป็นเรื่อง ๆ ไป
ลองดูในถามตอบของหลวงปู่ฤๅษีฯ ท่านยังว่า ถ้าเราทำตามตำราไหนแล้วสบายใจ ก็ทำไปเพื่อความสบายใจ แล้วท่านยังบอกอีกว่า บางอย่างถ้าเราลืมเทวดาท่านจะไม่ทวงหรอก เราต้องทำให้ท่านเอง นางมารร้ายเองก็ขอทำตามครูบาอาจารย์ไว้ก่อนค่ะ ถ้าติดขัดจริง ๆ (ไม่ใช่เพราะมักง่าย) แต่ใจยอมรับนับถือ เชื่อว่าท่านคงให้อภัยได้
|
ขอบคุณที่ตอบนะจ๊ะ

เห็นว่านางมารร้ายศึกษาหาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย โดยเฉพาะของพระอาจารย์มาให้ได้ทราบกัน

ปกติก่อนหน้านี้ พวกเราก็จะทำตามแบบอย่างหลวงพ่อเขียนไว้ เล่าไว้ อยู่แล้ว
ยกเว้นอาจมีเหตุที่เราอาจทำได้ไม่ประณีตเท่า
เช่นการกรอกข้าวปากหม้อ เนื่องจากเราไม่ได้ทำบายศรีทั้งหมดเอง
ก็จะทำด้วยความเคารพเสมอ

ดังที่หลวงพ่อว่า แม้หากไม่มีหัวหมูก็อาจใช้หมูชิ้นแทน เป็นต้น
ที่ถามแต่ละข้อนั้น เพราะใช้ความจำเอาว่าเคยเห็น หรือเคยอ่านผ่านตามาก่อน เช่น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ยังเห็นถั่วเขียวไม่เราะเปลือกอยู่ในพิธีบวงสรวงของวัดสายหลวงพ่อนี้แหละ
(ไม่ยืนยันวัด เกรงผิดพลาดจากสัญญาที่เสื่อมอยู่นี้)
เรื่องกล้วยสุก ก็เคยอ่านจากเรื่องของหลวงพ่อเช่นกัน
คล้ายว่ามีคนเอากล้วยดิบแบบกล้วยไหว้เจ้ามาใช้บวงสรวง
จึงอยากได้อ่านอีกครั้งว่ายังจำได้ถูกต้องหรือไม่ (ที่วัดท่าขนุน วัดเขาวง ฯลฯ ก็ยังเห็นเป็นกล้วยสุก)
การเลือกกล้วยให้สุกพอดี หรือ เปิดหน้ามะพร้าว หรือแม้ปิดทองเทียนนั้น
คิดว่าเป็นการแสดงความเคารพด้วยความตั้งใจ
แต่หากเหลือวิสัยดังว่า อย่าไปทำให้ใจหมองก็ดีอยู่แล้ว
ปกติคนอื่นเขาก็ไม่ได้ปิดทองที่เทียน
แต่พี่มักจะนำมาปิดทองเองด้วยความเคารพทุกครั้ง และปิดเต็มทั้งเล่มด้วย

จนเมื่อเร็ว ๆ นี้ เข้าใจว่ามีคนไปถามในพิธีบวงสรวงของวัดเขาวง
และได้รับข้อแนะนำการปิดทอง ๓ แผ่นนี้มา
พี่ก็เลยสงสัยว่า มีคติใดแฝงอยู่หรือไม่ เผื่อจะหลงหูหลงตา
ไม่ได้อ่านเรื่องของหลวงพ่อหรือฟังจากครูบาอาจารย์เท่านั้นเอง

(เมื่อเร็ว ๆ นี้เอง ที่จันทบุรี ครูบาวิฑูรย์เพิ่งเล่าเรื่องตั้งศาลเสาเดียว กับ ๔ เสาให้ฟัง)
ทำด้วยใจเคารพนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่พี่ชอบที่เห็นใคร ๆ ตั้งโต๊ะบวงสรวงเลย