อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ สายท่าขนุน
สงสัยตรงถั่วลาชมาศ ที่ไม่เคยเห็นว่าต้องเลาะเปลือก (แม้แต่ครั้งที่เห็นที่โต๊ะฝีมือโยมสุของหลวงตา)
|
ความรู้ตรงนี้มาจากพระอาจารย์ หากจำผิดต้องขออภัยด้วย "มาศ" แปลว่าทอง ถั่วเขียวไม่เราะเปลือก มันจะสีทองได้อย่างไร สมัยป้าสุไม่ได้เราะเปลือกนั้นจริง แต่ภายหลังเมื่อได้ความรู้ตรงนี้จากพระอาจารย์ นางมารร้ายจึงเปลี่ยนความเข้าใจใหม่
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ สายท่าขนุน
อีกเรื่องคือ กล้วยบนโต๊ะบวงสรวง ให้ใช้กล้วยสุก ห้ามใช้กล้วยดิบ
มะพร้าวอ่อนให้เปิดฝา
และความรู้ล่าสุดคือ หากจะปิดทองที่เทียน ให้ใช้ตั้งแต่ ๓ แผ่นขึ้นไป
|
ใช้กล้วยสุกน่ะใช่ แต่ห้ามขาดกล้วยดิบนี่ไม่น่าจะใช่ มะพร้าวก็เช่นกัน เพราะถ้าถึงเวลาทุกอย่างพร้อม เหลือแต่กล้วยสุกไม่ทัน แล้วหามีดเฉาะมะพร้าวไม่ได้นี่ จะต้องล้มงานบวงสรวงเลยหรือเปล่าคะ
แล้วในเมื่อเทียน ไม่ปิดทองก็ยังได้ ถ้าหนูมีทอง ๑ แผ่น หนูอยากจะปิดบูชา จะกลายเป็นความผิดร้ายแรงไหมคะ
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ สายท่าขนุน
ข้าวปากหม้ออาจใส่ชามวางข้างบายศรีพร้อมแก้วน้ำ
|
ถ้าทำแบบนี้ในงานบวงสรวงที่วัดท่าขนุน คงโดนถีบแน่ค่ะ
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ สายท่าขนุน
ขอความรู้ที่ถูกต้องด้วย 
หากผิดพลาดไป รบกวนช่วยให้ความรู้ที่ถูกต้อง 
|
พี่จะเอาถูกต้องตามตำราไหนล่ะคะ นางมารร้ายเพียงแต่บอกเล่าสิ่งพบเห็นจากครูบาอาจารย์ คือหลวงปู่ฤๅษีฯ พระอาจารย์เล็ก เคยทำมา สิ่งที่พี่ถามมา อาจถูกต้องตามตำราอื่นก็ได้นะคะ จะให้บอกว่าผิดก็คงไม่กล้าหรอกค่ะ ในสมัยหลวงปู่ฤๅษีฯ เวลาหาในตำราไม่เจอ ท่านถามเทวดาเอาเป็นเรื่อง ๆ ไป
ลองดูในถามตอบของหลวงปู่ฤๅษีฯ ท่านยังว่า ถ้าเราทำตามตำราไหนแล้วสบายใจ ก็ทำไปเพื่อความสบายใจ แล้วท่านยังบอกอีกว่า บางอย่างถ้าเราลืมเทวดาท่านจะไม่ทวงหรอก เราต้องทำให้ท่านเอง นางมารร้ายเองก็ขอทำตามครูบาอาจารย์ไว้ก่อนค่ะ ถ้าติดขัดจริง ๆ (ไม่ใช่เพราะมักง่าย) แต่ใจยอมรับนับถือ เชื่อว่าท่านคงให้อภัยได้