
20-10-2009, 13:52
|
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
|
|
วันที่สมัคร: Feb 2009
ข้อความ: 618
ได้ให้อนุโมทนา: 16,587
ได้รับอนุโมทนา 75,267 ครั้ง ใน 1,359 โพสต์
|
|
การบวงสรวง - บายศรี
บายศรี
การบวงสรวงตามสายของหลวงปู่ปาน – หลวงปู่ฤๅษีฯจะมีบายศรีใหญ่ตรงกลาง เรียกบายศรีต้น และมีบายศรีปากชามวางรอบสี่ทิศเพื่อไหว้ท้าวมหาราช
บายศรีต้น หากใช้ไหว้พระ มักจะใช้บายศรีลูกเก้า (บายศรี ๑ ตัวจะเย็บเป็นเก้ากลีบใบตอง เรียกว่าลูกเก้า) จำนวนชั้นในต้นบายศรีนั้น หากเป็นพิธีใหญ่เรื่องใหญ่ เช่นบวงสรวงขออนุญาตสร้างโบสถ์ มักใช้จำนวนเก้าชั้น หากพิธีเล็ก หรือเกรงใจญาติโยมอย่างพระอาจารย์เล็ก ท่านก็มักจะใช้สามชั้นเป็นอย่างน้อย ขยันหน่อยก็ห้าชั้น และเจ็ดชั้น บนยอดบายศรีต้น ใช้ธูปเทียนประดับดอกไม้หลากสี
บายศรีลูกเจ็ด
บายศรีต้น ๓ ชั้น
ส่วนบายศรีสี่ทิศ ใช้บายศรีปากชาม เพื่อไหว้ท่านท้าวจาตุมหาราชในทิศทั้งสี่ ใช้บายศรีลูกเจ็ด (ซึ่งเป็นการว่าตามตำรา แต่คณะบายศรีนำโดยป้าแจ๊ดเย็บลูกเก้าหมดไม่ว่าบายศรีต้น หรือบายศรีปากชาม) มักทำชั้นเดียว ตรงกลางเป็นกรวยใบตองใส่ข้าวปากหม้อ แล้วใช้ไข่ต้มเสียบไว้ยอดกรวย
หากไปซื้อที่ปากคลอง เขาจะมีให้เลือกสำหรับ ไหว้พระ ไหว้พรหม หรือไหว้เทพ ถ้าไหว้เทพนี่จะเย็บใบตองลูกเจ็ด ทั้งหมด ๓ ตัว มีกรวยตรงกลาง (ต้องเอามารื้อกรอกข้าวปากหม้อเอาเอง) เหมือน ๆ ที่ทางเราทำกัน
แต่บายศรีไหว้พระไหว้พรหมของปากคลองนี่ เขามักทำตัวบายศรีแค่ ๓ - ๔ ตัว ใน ๑ ชั้น ขณะที่ทางวัดท่าซุงมักใช้ชั้นละ ๕ ตัว (ถ้าจะเอา ๕ ตัวก็สั่งล่วงหน้าได้) ส่วนตัวบายศรีไหว้พระนี่มีลูกเก้าเหมือนกัน ไหว้พรหมเขาใช้ลูกสิบหก ซึ่งสายวัดเราไม่เคยเห็นใครใช้
บายศรีปากชามจากปากคลองตลาด
เอามาเปลี่ยนยอดเป็นไข่ต้มได้
บางคนรื้อมากรอกข้าวปากหม้อใส่กรวยไม่ไหว ก็เลยเอาข้าวใส่ชามมาวางข้าง ๆ แทน
แต่ถึงที่สุดหากหาไม่ได้ทำไม่เป็น..บ้อท่ามาจริง ๆ ท่านก็ให้เอาใบตองมาพับซ้อน ๆ กันเป็นชั้น ๆ ให้ได้ก็แล้วกัน ที่วัดหนองบัวก็จัดว่าเข้าตำราสุดท้ายนี่ เพราะทำออกมาแล้วเหมือนหัวปลี..ก็ดีกว่าไม่มีแหละน่า
ไม่มีขาย ก็เอาใบตองมาพับ ๆ ประมาณนี้
การเย็บบายศรีแบบที่วัดท่าซุงนั้น เห็นป้าสุเรียกว่าบายศรีเทวฤทธิ์ คือเทวดามาสอนป้าชอป้าเชิญทำ พอท่านถ่ายทอดให้ป้าสุเสร็จ ทั้งสองท่านก็วางมือ หากใครอยากได้บายศรีและจัดบวงสรวงตามแบบวัดท่าซุง ก็สามารถติดต่อจ้างป้าสุ หรือทิดตั้น ได้ค่ะ
ส่วนบายศรีที่วัดท่าขนุนในงานเป่ายันต์เกราะเพชรนั้น ตอนหลังเป็นบายศรีแบบทางล้านช้าง...ก็อีสานบ้านเฮานั่นแหละค่ะ จำนวนลูก จำนวนตัว จำนวนชั้น มากมายนับไม่ถ้วนเลยค่ะ นำทีมโดยหลวงพี่จำเนียร หลวงพี่คมสัน (ร่วมด้วยหลวงพี่ฉลาด หลวงพี่สมเกียรติ) ท่านเป็นยอดฝีมือทางแถบนั้น บายศรีเลยอลังการงานช้างขึ้นทุกปี..ตามอารมณ์ศิลปิน
เว้นแต่บายศรีแล้ว จะอย่างไร ของบวงสรวงก็ยังคงตามแบบหลวงปู่ปาน - หลวงปู่ฤๅษีฯ อยู่ดีค่ะ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นางมารร้าย : 06-06-2013 เมื่อ 15:14
|