"ในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เปลี่ยนใช้สีพระราชนิยมแทบทั้งนั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นธรรมยุตหรือมหานิกาย แต่ด้วยความเคยชิน ทางต่างจังหวัดก็ยังรักษาสภาพของวัดป่าอยู่ เพราะว่าอยู่กับป่า อยู่กับเขา อยู่กับดิน ถึงเวลาถ้าใช้สีเข้ม ๆ หน่อยก็จะเปื้อนยาก จึงมีการย้อมกัน จะย้อมในวันโกน ถึงเวลา ๑๕ วันก็ย้อมผ้าทีหนึ่ง บางรูปก็เดือนหนึ่งย้อมผ้าทีหนึ่ง
อาตมาเองใหม่ ๆ ย้อมผ้าไม่เป็น มารู้ทีหลังว่าจะย้อมผ้า ต้องแช่ผ้าให้เปียกจนทั่วก่อน ไม่ใช่หย่อนผ้าแห้ง ๆ ลงไป ถ้าหย่อนผ้าแห้ง ๆ ลงไปสีจะซึมไม่ทั่ว ขึ้นมาก็กระดำกระด่าง กว่าจะย้อมเป็นก็เจอไปหลายยก ถึงเวลาต้องเอาผ้าชุบน้ำก่อน แล้วค่อยหย่อนลงหม้อต้มกรักไป
โดยเฉพาะการต้มสีกรักนั้น สมัยก่อนเขาใช้หม้อ หม้อต้มกรัก หม้อใบใหญ่ เขาเรียกว่าหม้อตีนช้าง สมัยนี้บางคนใช้กระทะเลยก็มี ก็คือต้องใช้น้ำอุ่นค่อนข้างร้อน ถึงเวลาชุบผ้า เสร็จแล้วค่อยใส่สีลงไป ปัจจุบันนี้ง่าย เพราะเขาจะมีสีสำเร็จรูปมาเป็นซอง แล้วจะระบุเลยว่าซองหนึ่งใส่น้ำกี่ลิตร ก็จะออกมาพอดี สมัยพวกอาตมาหัดกันนี้ประเภทมั่วกันเอา ได้สีเข้มหน่อยบ้าง อ่อนหน่อยบ้าง แล้วแต่ดวง"
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-11-2018 เมื่อ 20:39
|