ภาพ พระเทพกรรม(กลาง),ฤๅษีทรภาศเทพกรรม(ซ้าย),ฤๅษีสิทธิพระกรรม(ขวา)
พญาองค์นี้ชื่อ เทพกรรม
ฤๅษีทรภาศเทพกรรม ฤๅษีสิทธิพระกรรม
เทพบุตร
มโหทโร มหากาโย ศิวปุตฺโต มหิทฺธิโก
หตฺถาธาโร หตฺถิชโย ฉ จาหิ ปาสธโร
นาคปาโส นาคพนฺโธ คชรกฺโส จ
อาไจ
สพฺพเตเช จ เทวราช ตูริยเทว จ เม สิทฺธิ
โอม เห เห ติษจหนยเตเชน
อไส สฺวาหาย สฺวาผัด
มนต์นี้ อ่าน ๓ คาบ คัดบาศถูกย่อมลุ้ยแล
อธิบายคำศัพท์
โกญจนาท หมายถึง การเปล่งเสียงเหมือนเสียงนกกระเรียน, ความกึกก้อง โดยมากใช้แก่เสียงช้าง
โกญจนาทเนศวร หมายถึง พระโกญจนาเนศวร ตามตำราสร้างโลกกล่าวถึงตำนานการกำเนิดช้างเผือกว่า พระโกญจนาเนศวรศิวบุตร เกิดจากเปลวเพลิงที่พุ่งจากพระกรรณ(หู)เบื้องซ้ายของพระอัคนี
คัดเชิง หมายถึง การกำกับท่าที การสยบท่าที
คัดบาศ หมายถึง การขดเชือกให้เป็นบ่วง หรือ บาศ
คุรุบาทิยาย, ครูบาทิยาย หมายถึง ผู้ที่มีความรู้เรื่องช้างอย่างเชี่ยวชาญชำนาญสูงยิ่งกว่าหมอช้างผู้ใหญ่
ทรงคชศาสตร์ หมายถึง ศึกษาวิชาว่าด้วยเรื่องช้าง
พญาเทพกรรม หมายถึง เทพเจ้าผู้มีสิทธิอำนาจในเรื่องช้าง บางตำราเรียกว่า เทพกรรม หรือ พระกรรมบดีก็มี ศักดิ์สิทธิ์รองลงมาจาก พระพิฆเนศวร และ พระโกญจนาเนศวร
มีฤๅษีเป็นบริวาร ๒ ตน คือ ฤๅษีทรภาศเทพกรรม หรือ ธรรมเทพ และ ฤๅษีสิทธิพระกรรม
พระศิวบุตรพิฆเนศวร หมายถึง พระพิฆเนศวร
ลุ้ย หมายถึง สะดวก คล่องแคล่ว
หน หมายถึง ทาง ทิศ
สรรค์ หมายถึง สร้างให้มีให้เป็นขึ้น มักใช้เข้าคู่กับคำว่า สร้าง เป็น สรรค์สร้าง หรือ สร้างสรรค์
หมายเหตุ
คำว่า "อาไจ" และ "อไส" ในหนังสือท่านไม่มีคำแปลครับ