(สังเวคะปริกิตตะนะปาฐะ)
บทสวดที่แสดงถึงความน่าสลดใจ
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
พระธรรมที่พระตถาคตเจ้าทรงแสดงแล้ว เป็นธรรมที่ช่วยนำหมู่สัตว์ออกจากทุกข์
เป็นธรรมที่ทำความสงบระงับกิเลส เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความดับไม่มีเชื้อคือพระนิพพาน เป็นทางปฏิบัติให้ถึงความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตเจ้าทรงประกาศยืนยันแล้ว
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ
พวกเราได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า,
ชาติปิ ทุกขา
แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา
แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง
แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
แม้ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเสียใจและความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ความประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
แม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา เสยยะถีทัง
ว่าโดยย่อแล้ว การเอาิตเข้าไปยึดเกาะอยู่กับขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์ นั่นก็คือ
รูปูปาทานักขันโธ
การเอาจิตยึดเกาะในรูป ก็เป็นทุกข์
เวทะนูปาทานักขันโธ
การเอาจิตยึดเกาะในเวทนา ก็เป็นทุกข์
สัญญูปาทานักขันโธ
การเอาจิตยึดเกาะในสัญญา ก็เป็นทุกข์
สังขารูปาทานักขันโธ
การเอาจิตยึดเกาะในสังขาร ก็เป็นทุกข์
วิญญาณูปาทานักขันโธ
การเอาจิตยึดเกาะในวิญญาณ ก็เป็นทุกข์
เยสัง ปะริญญายะ ธะระมาโน โส ภะคะวา เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ได้ทรงแนำนะสาวกทั้งหลาย เพื่อให้กำหนดรู้ความทุกข์อันเกิดจากการยึดเกาะในัขนธ์ ๕ อย่างนี้เป็นส่วนมาก
เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ
ก็แล พร่ำสอนเป็นอันมากของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมทำให้สาวกทั้งหลายประทับใจ เพราะการชี้แนะอย่างนี้ว่า
รูปัง อะนิจจัง
รูปหาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้
เวทะนา อะนิจจา
เวทนาหาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้
สัญญา อะนิจจา
สัญญาหาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้
สังขารา อะนิจจา
สังขารหาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้
วิญญาณัง อะนิจจัง
วิญญาณหาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้
รูปัง อะนัตตา
รูปไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็ต้องสลายไป
เวทะนา อะนัตตา
เวทนาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็ต้องสลายไป
สัญญา อะนัตตา
สัญญาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็ต้องสลายไป
สังขารา อะนัตตา
สังขารไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็ต้องสลายไป
วิญญาณัง อะนัตตา
วิญญาณไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็ต้องสลายไป
สัพเพ สังขารา อะนิจจา
สังขารไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็ต้องสลายไป
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา บังคับบัญชาไม่ได้ ต้องสลายไปในที่สุด ดังนี้
เต (ผู้หญิงว่า ตา) มะยัง โอติณณามะหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
เราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว โดยความเกิด ความแก่ และความตาย โดยความโศก ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเสียใจและความคับแค้นใจทั้งหลาย
ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา
เราทั้งหลายชื่อว่าเป็นผู้มีความทุกข์ครอบงำแล้ว มีความทุกข์นำหน้าแล้ว
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ*
ไฉนหนอ การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จักปรากฏแก่เราได้
(สำหรับพระภิกษุ-สามเณร)
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง
เราทั้งหลายตั้งใจจำเพาะเจาะจง เฉพาะพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานไปนานแล้ว,
สัทธา อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา,
เราทั้งหลายมีศรัทธาออกจากเรือนแล้วบวช เป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว
ตัส๎มิง ภะคะวะติ พ์รัมห์มะจะริยัง จะรามะ
พากันประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ภิกขูนัง (สามะเณรานัง) สิกขาสาชีวะสะมาปันนา
(ถึงพร้อมแล้วด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา และธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีพของภิกษุทั้งหลาย (และสามเณร) ทั้งหลาย)
ตัง โน พ๎รัห๎มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตูติ
ขอพรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นเถิดฯ
(*สำหรับอุบาสก-อุบาสิกา เมื่อสวดถึง"ปัญญาเยถาติ"แล้วให้สวดต่อไปดังนี้)
* จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะโต (ผู้หญิงว่า ตา)
เราทั้งหลายขอยึดเอาพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น เป็นที่พึ่ง
ธัมมัญจะ ภิกขุ สังฆัญจะ ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
ขอยึดเอาพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ด้วย เป็นที่พึ่ง และกำหนดถึงรัตนะทั้งสามนั้นไว้ในใจอยู่ และปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตามสติปัญญาและตามกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ
ขอการปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะสังวัตตะตุ
จงเป็นไปเพื่อการกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เถิดฯ