ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 12-02-2016, 14:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,713
ได้ให้อนุโมทนา: 152,063
ได้รับอนุโมทนา 4,418,882 ครั้ง ใน 34,303 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๙

ขอให้ทุกท่านตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์วันที่สอง วันนี้จะขอกล่าวถึงเรื่องของสติสัมปชัญญะ สติ แปลว่า ระลึกได้ สัมปชัญญะ แปลว่า ความรู้ตัว สติและสัมปชัญญะนี้ เป็นธรรมที่มีอุปการะต่อหลักธรรมอื่น ๆ ทั้งหมด พูดง่าย ๆ ว่า ถ้ามีสติสัปชัญญะสมบูรณ์ หลักธรรมทุกอย่างก็จะเจริญขึ้นโดยง่าย แล้วทำอย่างไรเราถึงจะเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ?

การที่เราจะมีสติสัปชัญญะสมบูรณ์นั้น เราต้องเน้นในเรื่องของสมาธิภาวนา โดยเฉพาะในส่วนของอานาปานสติ ก็คือมีความระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออก เพื่อที่จะสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับจิตของเรา ถ้าหากว่าสติของเราจดจ่ออยู่เฉพาะลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ไม่ไปคิดเรื่องอื่น สามารถกำหนดคำภาวนาไปพร้อมกันด้วย ก็แปลว่าสมาธิเริ่มเกิดกับเราแล้ว

ขอให้ทุกท่านพากเพียรพยายาม สร้างสมาธิของตนให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป สมาธิยิ่งทรงตัวมากเท่าไร สติสัมปชัญญะของเราก็จะสมบูรณ์บริบูรณ์มากเท่านั้น ในเมื่อสร้างสติสัมปชัญญะได้แล้ว เราจะเอาไว้ทำอะไร ?

การที่เรามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความแหลมคมว่องไว สิ่งหนึ่งประการใดที่ไม่ดีไม่งามเมื่อเกิดขึ้น เราจะมีสติรู้เท่าทันในเวลานั้น ถ้าหากว่าสติสัมปชัญญะสมบูรณ์มาก ๆ ก็จะเป็นปัญญาในส่วนของภาวนามยปัญญา ก็คือสามารถระลึกรู้ถึงตั้งแต่ต้นเหตุว่า รัก โลภ โกรธ หลง ที่จะเกิดแก่เรานั้น เกิดจากสาเหตุใดบ้าง แล้วก็จะเตือนตนเองไม่ให้ไปสร้างสาเหตุทั้งหลายเหล่านั้น ในเมื่อไม่ไปสร้างสาเหตุทั้งหลายเหล่านั้น รัก โลภ โกรธ หลง ก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ กิเลสทั้งหลายก็เท่ากับโดนดับไปโดยสิ้นเชิง นั่นคือเข้าถึงความเป็นนิโรธ คือสภาพจิตที่ดับกิเลสได้โดยสนิท เป็นสมุทเฉทปหาน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-02-2016 เมื่อ 17:56
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา