ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 24-10-2014, 17:22
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,395
ได้ให้อนุโมทนา: 157,983
ได้รับอนุโมทนา 4,479,638 ครั้ง ใน 36,004 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๗

ทุกคนขยับนั่งในท่าที่สบายของตนเอง ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ตามที่เราถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จะขอกล่าวถึงพื้นฐานของการปฏิบัติ ซึ่งการปฏิบัติภาวนาของพวกเรานั้น พื้นฐานสำคัญก็คือศีล ๕ ข้อ หรือว่ากรรมบถ ๑๐ หรือศีล ๘ ตามที่เรายึดถือ ให้ทุกคนทบทวนสิกขาบทของตนให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ถ้ามีการบกพร่องอยู่ ก็ให้ตั้งใจว่า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราจะรักษาศีลหรือกรรมบถของเรา ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ทุกข้อ ตั้งใจไว้ว่า เราจะไม่ละเมิดด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิด และไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดในศีลหรือกรรมบถนั้น ๆ

หลังจากนั้นให้กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไปจนสุด หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมาจนสุด การที่จะหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้นให้เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นไปตามความต้องการของร่างกายระยะนั้น อย่าไปบังคับลมหายใจ

ลำดับถัดไปก็คือ ให้ตัดความกังวลทุกอย่างออกไปจากใจเสีย ตอนนี้เราอยู่ปฏิบัติธรรมในสถานที่นี้ เรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นหรือว่าเกิดขึ้นในสถานที่อื่น เราไม่สามารถที่จะไปยุ่งเกี่ยวแก้ไขได้อยู่แล้ว หรือถ้ามีเครื่องมือสื่อสาร เพื่อเป็นการตัดกังวล ก็ให้ปิดเครื่องไปชั่วคราวในระหว่างที่ปฏิบัติ

ลำดับต่อไปก็ให้พิจารณาว่า กำลังใจของเราตอนนี้สะอาด ปราศจากนิวรณ์หรือไม่ ? นิวรณ์ทั้ง ๕ อย่างนั้นประกอบไปด้วยกามฉันทะ ความยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย และสัมผัสระหว่างเพศ พยาบาท คือความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นผู้อื่น ถีนมิทธะ ประกอบไปด้วยความง่วงเหงาหาวนอน ชวนให้ขี้เกียจปฏิบัติ อุทธัจจกุกกุจจะ มีความฟุ้งซ่าน หงุดหงิดรำคาญใจ จนปฏิบัติไม่ได้ และวิจิกิจฉา มีความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ว่าจะเกิดผลจริงหรือไม่

ถ้าหากว่ามีนิวรณ์ข้อใดข้อหนึ่งอยู่ ก็ให้เร่งขับไล่ออกจากใจของเราไป วิธีไล่นิวรณ์ที่ดีที่สุดก็คือ เอาความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เมื่อความรู้สึกของเราทรงตัว นิวรณ์ต่าง ๆ ก็จะกินใจของเราไม่ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-10-2014 เมื่อ 19:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา