๕. ให้ใจเย็น ๆ กฎของกรรมทั้งหลายจะค่อย ๆ คลายตัวไปในไม่ช้า และให้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกอย่างเป็นอนัตตา สลายตัวไปหมด ถ้าหากไปยึดเข้าไว้ก็เป็นทุกข์ ให้ปล่อยวางโดยพิจารณาขันธ์ ๕ ของตัวเองเป็นหลักใหญ่ การพ้นทุกข์อยู่ที่จิตของเราเอง มิใช่ไปพ้นทุกข์ที่บุคคลอื่น ให้พิจารณาจิตของตนเอง อย่าไปแก้ไขจิตของบุคคลอื่น เรื่องของร่างกายมันก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน ที่สุดก็เป็นอนัตตา อย่าไปยึดถือร่างกาย ถ้าหากต้องการพระนิพพานก็จงละไปให้ถึงที่สุด พิจารณาอาการ ๓๒ ให้จิตทรงตัว แล้วการตัดร่างกายจักง่ายเข้า มุ่งตัดร่างกายของตนเองเป็นสำคัญ
ถ้าหากตัดร่างกายของตนเองได้แล้ว ร่างกายของบุคคลอื่นก็จักตัดได้เอง อย่าไปห่วงใคร งานทุกอย่างทำตามหน้าที่ โดยพยายามอย่าเอาจิตไปเกาะ.. ทำเสร็จแล้วก็แล้วดับไป การทำงานของร่างกายก็เหมือนกับการมีชีวิตอยู่ นั่นเป็นหน้าที่ของมัน แล้วในที่สุดงานก็ดี ชีวิตของร่างกายก็ดี ย่อมถึงกาลอนัตตาไปในที่สุด เราทำงาน หรือมีชีวิตอยู่เพื่อรอความตายเท่านั้น ให้มีความรู้สึกเอาไว้เสมอ ความตายมาถึงเมื่อไหร่ จุดที่จิตเราต้องการคือพระนิพพานเท่านั้น ในยามปกติจึงพึงทำกาย - วาจา - ใจให้พร้อมอยู่ในศีล - สมาธิ - ปัญญา เพื่อพระนิพพานด้วย
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2014 เมื่อ 09:21
|