ดูแบบคำตอบเดียว
  #112  
เก่า 31-07-2014, 08:58
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๙. ไม่ว่ากรณีใด ๆ ถ้าหากตั้งความหวังไว้มาก ก็จักผิดหวังมาก เพราะการตั้งความหวังนั้น ทำให้จิตเร่าร้อน เร่งเร้าอยากให้เป็นเช่นที่หวัง ก็เป็นการเบียดเบียนจิตและกายตนเอง จุดนี้เป็นอารมณ์หลง หลงคิดว่าจักเอาสมบัติของโลกไปได้ โดยเฉพาะหลงติดในร่างกายตนเอง อันเป็นการเพิ่มสักกายทิฏฐิ

แต่ถ้าหากไม่ตั้งความหวังจักเอาสมบัติของโลกและขันธโลกไปด้วย เพราะรู้ชัดว่าเอาไปไม่ได้ มันหาใช่เรา หาใช่ของเราไม่ จิตก็จักเยือกเย็น - ไม่ดิ้นรน - ไม่ห่วง - ไม่กังวล ด้วยประการทั้งปวง จิตมีความไม่ประมาทในชีวิต พร้อมตายและซ้อมตาย เพื่อเอาจิตคือตัวเราไปพระนิพพานอยู่เสมอ ด้วยอารมณ์เบา ๆ สบาย ๆ ยอมรับความเป็นจริงของโลก และขันธโลกว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ที่สุด เป็นอนัตตาทั้งสิ้น ทุกอย่างเป็นกฎของกรรม - เป็นกฎธรรมดา - เป็นอริยสัจ มันเที่ยงของมันอยู่อย่างนี้ หากเราไม่เคยทำกรรมนี้มาก่อน ก็จักไม่พบกับกรรมเหล่านี้เลย


การปฏิบัติต้องเดินสายกลาง ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป ทำด้วยอารมณ์เบา ๆ สบาย ๆ ได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น จึงต้องพยายามรักษาอารมณ์ให้เยือกเย็นไว้เสมอ คอยดูอารมณ์ของจิตให้ดี จักเห็นอารมณ์ที่ไหวไปตามอายตนะตลอดเวลา เมื่อรู้ก็ให้ใช้กรรมฐานแก้จริต ให้ถูกต้องตามอารมณ์ตลอดเวลาเช่นกัน การทรงอานาปานุสติ จึงต้องทรงตลอดเวลา เพราะเป็นการเจริญสติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์ คุมจิตไม่ให้คิดชั่วไปตามอายตนะ จุดนี้ต้องมีสัจจะ ตั้งใจทำจริง ด้วยความเพียร – ความอดทน หรือมีวิริยะ - ขันติ - สัจจะ โดยมีปัญญาบารมีคุม ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เพราะตราบใดที่จิตยังเข้าไม่ถึงพระนิพพาน ก็จงอย่าหลงคิดว่าตัวเองดีเป็นอันขาด

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-07-2014 เมื่อ 16:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา