๑๕. ธรรมของตถาคตจักต้องหยุดอารมณ์จิตให้ได้ก่อน จึงจักเห็นการเคลื่อนไหวของกิเลสได้ชัดเจน การทำจิตให้สงบตั้งมั่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่างคนกำลังวิ่งหรือเดินเร็ว ๆ อะไรผ่านมากระทบมองไม่ใคร่เห็น ต่างกับคนที่ยืนอยู่กับที่ มีอะไรมากระทบก็มองเห็นได้ชัดกว่ามาก จิตหวั่นไหวมากยิ่งมองสภาวะกระทบไม่ชัดเจน แต่จิตหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเลย ย่อมมองอะไรได้ชัดเจน และเข้าใจได้ดี การปฏิบัติธรรมฉันใดก็ฉันนั้น
สุขภาพของตนเองก็เช่นกัน จงอย่าห่วงใยให้มากนัก เพราะหนีความจริงในสัทธรรม ๕ ไม่พ้น ให้พิจารณาอยู่อย่างนี้จึงจักนำจิตให้พ้นทุกข์ได้ ต้องพิจารณาให้ลึกลงไป ๆ จิตจึงจักเกิดปัญญาไม่ใช่เกิดแต่สัญญา ความจำที่ไม่เที่ยง เดี๋ยวก็ลืม ตัวปัญญาเท่านั้น จึงจักตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ ดังนั้น..จงอย่าห่วงกายให้มากนัก ให้ห่วงจิตเป็นหลักสำคัญ อย่าไปห่วงกาย - ห่วงจิตผู้อื่น พ้นทุกข์ไม่ได้ ให้ห่วงจิต ดูอารมณ์จิตของตนเอง ไม่ให้ประมาทในชีวิต รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน จำไว้..อย่าห่วงใคร ตัดกังวลออกไปให้หมด จิตจึงจักผ่องใสขึ้นมาได้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-07-2014 เมื่อ 12:13
|