พระอาจารย์กล่าวว่าที่วัดมีพระใหม่ท่านหนึ่งบอกว่า “อาจารย์ครับ ผมบวชได้ ๓ พรรษาแล้ว ขออนุญาตลาสึกครับ” อาตมาสะดุ้งเฮือก บอกว่า อะไรวะ ? เพิ่งเห็นบวชได้ไม่นาน ๓ พรรษาแล้ว” เขาบอก “ได้ ๙ เดือนแล้วครับ” อาตมาถอนหายใจเฮือกเลย เป็นการเข้าใจผิดเอง เขาไปเข้าใจว่า ๑ พรรษาคือ ๓ เดือน เขาไม่ได้เข้าใจว่าพรรษาของพระหมายถึง ๑ ปี แต่ต้องผ่านช่วงเข้าพรรษา ๓ เดือนนั้นด้วย อาตมาก็ว่าบวชพักเดียวท่านบอกว่าได้ ๓ พรรษาแล้ว มีอะไรเข้าใจผิดกันเยอะแยะเกี่ยวกับเรื่องของศัพท์แสงทางพระ
ถาม : อย่างการจะเรียกทิดจริง ๆ ก็ต้องบวชให้ได้พรรษาใช่ไหมคะ ?
ตอบ : อย่างน้อยก็ต้องบวชได้พรรษา แต่สมัยนี้เขาถือว่าสึกมาก็เป็นทิดหมดแหละ เพราะคำว่าทิดก็มาจากคำว่าบัณฑิต แต่สมัยก่อนคนเขาออกเสียง ฑ เป็น ท ก็เลยกลายเป็น “บัณทิด” แล้วก็ตัดเลยแค่ทิดคำเดียว อุบาสกเมื่อย่อลงเหลือ ประสก อุบาสิกาย่อลงเหลือ สีกา ที่เราสงสัยว่าคำว่าประสกกับสีกามาจากไหน
พระใหม่กับพระเก่าเราจะเห็นต่างกัน ความเป็นธรรมชาติ กลมกลืนกับเพศภาวะของตนยังไม่มี ก็ต้องค่อย ๆ ขัดเกลาไปเรื่อย ๆ แรก ๆ ก็ไม่เคยชิน พระใหม่เยอะต่อเยอะด้วยกัน เจอญาติโยมอาวุโสกว่าก็ยกมือไหว้ เล่นเอาโยมสะดุ้งเฮือก”
พระอาจารย์กล่าวให้โอวาทพระที่บวชใหม่ว่า “เป็นพระเรา อยู่ต่อหน้าโยมให้สงบเหมือนอยู่ตัวคนเดียว อยู่ตัวคนเดียวให้ระมัดระวังเหมือนอยู่ต่อหน้าโยม พอเคยชินเข้าแล้วจะสบาย ๆ ไปเอง”
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-07-2014 เมื่อ 01:59
|