ดูแบบคำตอบเดียว
  #103  
เก่า 17-06-2014, 08:53
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๑. ก่อนเจริญพระกรรมฐาน หลวงพ่อฤๅษีท่านให้อธิษฐานจิตเป็นภาษาบาลีว่า อิมาหัง ภควา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจจัชชามิ ซึ่งมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอให้สัจจะต่อพระพุทธองค์ว่า ข้าฯ ขอมอบกายถวายชีวิตกับพระองค์และศาสนาของพระองค์ตลอดชีวิต แต่มีบุคคลท่านหนึ่งอธิษฐานความว่า ข้าพเจ้าขอให้สัจจะต่อพระองค์ว่า ข้าพเจ้าจะพยายามทำความดีในพระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุดให้ได้ตลอดชีวิต ซึ่งจัดว่าเป็นสัจจะบารมี โดยมีปัญญาบารมีคุมโดยแท้ ไม่อธิษฐานผูกมัดใจตนเอง โดยใช้คำว่าจะพยายาม ทำได้แค่ไหนตามกำลังใจแห่งตน ก็ได้แค่นั้น เป็นตัวปัญญาแท้ในพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอรหันต์ทุกท่านต่างก็บรรลุจบกิจในพุทธศาสนาด้วยทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทาด้วยก้นทั้งสิ้น

การใช้คำว่าจะพยายามทำความดีในพระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุดนั้น เป็นทางสายกลาง คือไม่ตึงไป ไม่หย่อนไปนั่นเอง หากจะเพิ่มอธิษฐานบารมีเข้าไปอีกหน่อยจะสมบูรณ์แบบคือ ข้าพเจ้าจะพยายามทำความดีในพระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด โดยจะทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว.. ประโยคนี้จัดเป็นอธิษฐานบารมีเต็มกำลังใจทันที คือมีมรณานุสติกับอุปสมานุสติ ซึ่งเท่ากับตัดอวิชชา หรือสังโยชน์ข้อที่ ๑๐ ไปในตัวเสร็จ

จิตมีสภาพรู้กับเร็ว เป็นอกาลิโก หากจิตเป็นฌานในมรณาฯ บวกอุปสมานุสติ กายพังเมื่อไหร่ จิตก็เร็วไปตามที่จิตเกาะอยู่ชนิดแกะไม่ออกเป็นอัตโนมัติ เป็นอกาลิโกเช่นกัน จิตเกาะนิพพานซึ่งเที่ยงแล้วเกาะได้ และเป็นแดนสุดยอดของความสุขในการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ทุกท่านมุ่งหมาย อธิษฐานบารมีเต็มมีผลบุญใหญ่สุดประมาณด้วยเหตุนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-06-2014 เมื่อ 12:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา