ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 05-04-2014, 18:04
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,720
ได้ให้อนุโมทนา: 152,086
ได้รับอนุโมทนา 4,418,903 ครั้ง ใน 34,310 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเราพยายามพิจารณาในส่วนของวิปัสสนาญาณจนสภาพจิตยอมรับแล้ว สภาพจิตของเราก็จะทรงตัวเป็นสมาธิอีกรอบหนึ่ง ก็ให้น้อมกลับเข้าไปในเรื่องของสมาธิใหม่ ถ้าเป็นส่วนนี้เขาจะเรียกว่าวิปัสสนายานิก หรือ วิปัสสนายานิกะ เป็นการใช้วิปัสสนาญาณจนกระทั่งสภาพจิตทรงเป็นสมาธิเอง ถ้าเราภาวนาแล้วมาพิจารณาวิปัสสนาญาณ เขาเรียกว่า สมถยานิก หรือ สมถะยานิกะ คือผู้ที่เริ่มต้นจากสมถะ แล้วค่อยน้อมเข้าสู่การวิปัสสนา

การปฏิบัติของเรานั้นในส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง คือต้องต่อเนื่องตามกันอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเราทำแล้วทิ้ง เปิดโอกาสให้กิเลสงอกงาม โอกาสที่เราจะเข้าหาความดีก็เป็นไปได้ยาก เพราะในบาลีเปรียบกิเลสไว้ว่า เหมือนกับป่าชัฏที่เต็มไปด้วยความรก เต็มไปด้วยพงหนาม เราจะแหวกเข้าไปหาความดี ก็ย่อมเป็นไปได้โดยยากหรือเป็นไปไม่ได้เลย เราจึงต้องรักษาความดีให้ต่อเนื่องตามกัน ถ้าความดีของเราสามารถตัวต่อเนื่องตามกันได้ ความก้าวหน้าในการประพฤติปฏิบัติก็จะปรากฏชัดแก่เรา

โดยเฉพาะในส่วนสุดท้าย ก็คือ เมื่อพิจารณาวิปัสสนาญาณไปแล้ว สภาพจิตรู้แจ้งเห็นจริง ก็จะยอมรับว่าสภาพของร่างกายเราก็ดี ร่างกายของคนอื่นก็ดี สัตว์อื่นก็ดี หรือสภาพของโลกนี้และโลกอื่น ๆ ก็ดี มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด ถ้าสภาพจิตของเราไม่ยอมรับ มรรคผลก็จะไม่เกิดขึ้น

แต่สภาพจิตของเราถึงยอมรับ ถ้ากำลังของสมาธิที่หนุนเสริมในการตัดละกิเลสมีไม่เพียงพอ ก็อาจจะเข้าถึงเพียงมรรคผลขั้นต้น ๆ อย่างเช่นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นต้น จนกว่าสมาธิของเราจะทรงตัวแนบแน่นถึงระดับฌาน ๔ ถึงจะมีโอกาสที่จะเข้าถึงมรรคผลในระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป

เนื่องจากว่ากำลังการเข้าถึงมรรคผลในตอนท้าย ๆ นั้นต้องอาศัยกำลังของสมาธิในการตัดละความรัก ความโกรธอย่างแรงกล้า ถ้ากำลังไม่พอ แม้แต่การกดให้ความรักความโกรธนิ่งลงก็เป็นไปได้ยากแล้ว ไม่ต้องไปกล่าวถึงการตัดการละเลย

ดังนั้น..การปฏิบัติของพวกเราทั้งหมดในทุกวัน ทุกเวลา ควรให้ความสนใจกับอานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออกของเราให้มากไว้ เพื่อสร้างสมาธิสมาบัติให้เกิดขึ้น เมื่ออารมณ์ใจเริ่มทรงตัว จนกระทั่งไปต่อไม่ได้แล้ว ก็จะคลายตัวออกมาโดยอัตโนมัติ เราต้องรีบหาวิปัสสนาญาณมาให้พิจารณา เมื่อพิจารณาวิปัสสนาญาณ ก็จะต้องทำให้ต่อเนื่องจนกระทั่งกลับไปเป็นสมาธิ เมื่อภาวนาจนกระทั่งสมาธิทรงตัว คลายออกมา ก็พิจารณาวิปัสสนาญาณ สลับไปสลับมาอย่างนี้ถึงจะก้าวหน้า

และท้ายที่สุดก็คือการตัดสินใจให้เด็ดขาด ในเรื่องของการตัดการละกิเลสต่าง ๆ ตลอดจนกระทั่งกระทำให้ต่อเนื่องตามกันอยู่ตลอดเวลา ความก้าวหน้าในการปฏิบัติ และการเข้าถึงมรรคผล จึงจะเกิดแก่เราได้ ลำดับต่อไปขอให้ทุกท่านภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันอาทิตย์ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๗

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยรัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-04-2014 เมื่อ 02:27
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา