ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 05-12-2013, 06:50
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,559 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

ขอให้ทุกคนนั่งในท่าที่ถนัดและสบายของตน จะนั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบก็ได้ ถ้าเป็นตัวอาตมาเองจะถนัดพับเพียบมาตลอด เนื่องจากด้วยความเคยชินก็คือ เมื่อเห็นพระท่านก็จะกราบ การนั่งขัดสมาธิกราบพระเป็นกิริยาที่ไม่สมควร จึงเคยชินกับการนั่งพับเพียบมาตลอด ให้ทุกคนยืดกายของตนเองให้ตรง แต่ไม่ใช่เกร็งตัว เหมือนกับว่าให้กระดูกสันหลังของเราทุกข้อเรียงกันเป็นเส้นตรง จะทำให้เราสามารถนั่งได้นาน แล้วก็ไม่เกิดอาการง่วงโงก แต่ถ้าเรานั่งหลังค่อม ถึงเวลาก็จะเกิดเผลอสติแล้วหลับได้ง่าย

เอาความรู้สึกทั้งหมดของเราอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานของเดือนพฤศจิกายนครั้งสุดท้าย ในเรื่องของการปฏิบัติกรรมฐานนั้น สิ่งที่ทิ้งไม่ได้เลยคือ การรู้ลมหายใจเข้าออกหรืออานาปานสติ เพราะว่าจะช่วยสร้างความมั่นคง สร้างสมาธิให้เกิดขึ้นแก่จิตใจของเรา จะได้เป็นพื้นฐาน เป็นกำลังในการตัดกิเลส ลำดับถัดไปก็คือพุทธานุสติซึ่งเป็นกองกรรมฐานที่ช่วยให้เราไปสู่พระนิพพานได้ง่ายที่สุด

ดังนั้น..โดยความเคยชินของอาตมาก็คือ จะจับลมหายใจเข้าออกพร้อมกับภาพพระ หายใจเข้าให้ภาพพระไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออกให้ภาพพระไหลตามลมหายใจออกมา ดังนี้เป็นต้น กรรมฐานกองต่อไปสำหรับนักปฏิบัติที่จะละทิ้งไม่ได้เลยก็คือพรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะการแผ่เมตตา เพราะว่าพรหมวิหารนั้นเป็นตัวคุมศีลของเราให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ถ้าเราระมัดระวังศีลของเราให้บริบูรณ์ได้ สมาธิก็จะทรงตัวได้ง่าย พรหมวิหาร ๔ จะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้ชุ่มชื่น เยือกเย็น ไม่รู้สึกว่าแห้งแล้ง ทำให้ไม่เบื่อไม่หน่ายในการปฏิบัติ

ถ้าถามว่าต้องใช้พรหมวิหาร ๔ ในเวลาใดบ้าง ก็ขอตอบว่าต้องใช้อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าไม่สามารถที่จะทำได้ตลอดเวลา อย่างน้อย ๆ เวลาปฏิบัติกรรมฐานเช้า ๆ เย็น ๆ ของเรา ก็ให้ซักซ้อมแผ่เมตตาให้เคยชิน เนื่องจากว่าจะทำให้ตัวเราเป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งจะไม่ให้มาเบียดเบียนเราเองโดยประการต่าง ๆ เมื่อแผ่เมตตาจนเคยชินแล้ว ไม่ว่าจะไปที่ใดก็ตาม สภาพจิตของเราก็จะชุ่มชื่น เบิกบาน เยือกเย็น ทรงตัวอยู่ ทำให้สามารถรักษากองกรรมฐานที่ตนเองกระทำได้โดยง่าย

กองกรรมฐานต่อไปที่จะต้องระลึกถึงเสมอ ก็คือมรณานุสติกรรมฐาน การนึกถึงความตายว่ามีแก่เราทุกลมหายใจเข้าออก เราจะได้ไม่เป็นผู้ประมาท เมื่อรู้ว่าเราอาจจะสิ้นชีวิตลงไปเมื่อใดก็ได้ หายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกเราก็ตายแล้ว หายใจออกถ้าไม่หายใจเข้าเราก็ตายอีกเช่นกัน เมื่อความตายอยู่ใกล้ชิดเราได้ขนาดนี้ จึงเป็นเรื่องที่เราจะต้องเร่งรีบในการปฏิบัติ เพื่อที่จะหลุดพ้นจากกองทุกข์นี้ให้ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-12-2013 เมื่อ 10:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 64 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา