ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 31-10-2013, 18:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,541 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเรื่องของการปฏิบัติของเรา ถ้าเรายังกลัวอยู่ถือว่าใช้ไม่ได้ ฉะนั้น..ต้องปฏิบัติอย่างไรที่จะไม่ให้กลัว ก็ต้องพิจารณาให้เห็นชัดให้ได้ว่า ความตายเป็นเรื่องปกติธรรมดา ความตายมาถึงเราอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกอยู่แล้ว ถ้าไม่กลัวตายเสียอย่างเดียวจะไม่มีอะไรให้กลัวเลย แล้วอีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่ทำให้เรากลัวก็คือความไม่รู้ หรือที่ภาษาบาลีเรียกว่า อวิชชา

อาตมาฝึกพิจารณาความตายตอนที่ยังอยู่วัดท่าซุงสมัยบวชใหม่ ๆ ฝึกอยู่เป็นปี ๆ ทำให้รู้ว่า จริง ๆ แล้วเรากลัวเพราะใจเราคิดหลอกตัวเอง ไปนั่งกรรมฐานอยู่ในป่าช้า พอดึก ๆ ได้ยินเสียงงูเลื้อยมา พอได้ยินเสียงเลื้อยผ่านใบไม้แห้งแกรก ๆ มา ความรู้สึกบอกชัดเลยว่า ตัวอย่างเก่งก็ไม่เกินถ่านไฟฉายขนาด ๓ เอหรอก ตัวนิดเดียว แต่ปรากฏว่ามีอีกความคิดหนึ่ง “เอ๊ะ ถึงตัวเล็กแค่นั้นถ้ามีพิษก็กัดเราตายได้นะ” ความกลัวก็เริ่มเกิดขึ้น

พอความกลัวเริ่มเกิดขึ้น ในความรู้สึกก็ “เอ..? น่าจะตัวใหญ่กว่าที่เราคิดสักนิดหนึ่งนะ” จะปรุงอย่างนี้ไปเรื่อย ไปเรื่อย ท้ายสุดความรู้สึกของเราคือ งูตัวนั้นใหญ่เป็นต้นเสาเลย ใหญ่ขึ้นตามความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งของเรา ท้ายสุดกลัวจนกระทั่งทนไม่ไหว แล้วอาตมาเป็นประเภทกลัวแล้วไม่หนี ในเมื่อเป็นอย่างนั้นก็เผชิญหน้ากันให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย คว้าไฟฉายได้ก็เปิดกลดไปส่องไฟดู

โห..เป็นงูที่โบราณเราเรียกว่า งูก่านปล้อง บางทีเขาเรียกงูปล้องฉนวน จะเป็นสีดำสลับขาว ตัวประมาณนิ้วก้อย ยาวยังไม่ถึงศอกเลย พอเจอเรางูก็รีบหนีแล้ว สรุปว่า..ที่หลงกลัวอยู่แทบตายเกือบชั่วโมงนั่นเราคิดหลอกตัวเอง เพราะใจเราไปปรุงแต่งเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-11-2013 เมื่อ 01:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 110 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา