ในทักขิณาวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถึงอานิสงส์ของการให้ทาน ขนาดการให้ทานแก่นักบวชนอกพุทธศาสนา ยังบอกว่าอานิสงส์เป็นแสนเท่า เพราะส่วนใหญ่นักบวชนอกพระพุทธศาสนาจะได้ฌาน ได้อภิญญา แม้จะเป็นฌานโลกีย์ อภิญญาโลกีย์ก็ตาม แต่กำลังใจความสะอาดมากกว่าคนปกติมาก ฉะนั้น..เวลาให้ทานจึงมีอานิสงส์เป็นแสนเท่า
ท่านบอกว่าให้ทานพระโสดาบันประมาณอานิสงส์ไม่ได้ แต่ให้ทานพระโสดาบัน ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังไม่เท่ากับให้ทานพระสกทาคามี ๑ ครั้ง คูณ ๑๐๐ เข้าไปเรื่อย ๆ จนถึงพระอรหันต์ จนถึงพระพุทธเจ้า จนถึงสังฆทาน บอกว่าให้ทานโดยตรงต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าสังฆทาน ๑ ครั้ง ฉะนั้น..ถ้าทำบุญเป็น ที่ไหนก็ทำได้
ในธรรมบท กล่าวถึงท่านเศรษฐี นิมนต์พระที่วัดใกล้บ้าน สมาทานศีลด้วยความเคารพ น้อมของเข้าไปถวายด้วยความเคารพ ถึงเวลาก็หิ้วของไปส่งที่วัด ปรากฏว่าไปถึงวัด พระท่านจะขึ้นกุฏิ สมัยก่อนพระเขาไม่ใส่รองเท้ากัน พระบอกให้เศรษฐีช่วยหยิบขันน้ำให้หน่อยจะล้างเท้า เศรษฐีเอาเท้าเขี่ยให้ คนเห็นก็สงสัย เมื่อครู่ยังทำทานด้วยความเคารพสุดจิตสุดใจ ทำไมตอนนี้เอาเท้าเขี่ยให้ เศรษฐีบอกว่าตอนทำทานท่านถวายเป็นสังฆทาน พระที่วัดใกล้บ้านเป็นตัวแทนสงฆ์ ในเมื่อเป็นตัวแทนสงฆ์ท่านต้องเคารพ แต่โดยจริยาของพระรูปนั้นแล้วส่วนตัวท่านไม่เคารพ พอใช้ให้หยิบของ เอาเท้าเขี่ยให้ยังเสียดายเท้าเลย..!
ต้องวางกำลังใจให้ได้อย่างนั้น ถึงเวลาส่วนของบุญ ก็ทำดีให้เต็มที่ แต่ส่วนตัวท่านใช้ไม่ได้ เราก็เอาแค่นั้นแหละ
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-08-2013 เมื่อ 02:55
|