
17-01-2013, 17:19
|
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
|
|
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
|
|
หลวงปู่มั่น บิณฑบาตซ้อนสังฆาฏิ
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต* ซึ่งอยู่ร่วมจำพรรษากับหลวงปู่มั่นในช่วงวัดป่าบ้านหนองผือ บันทึกข้อปฏิบัติของหลวงปู่มั่นขณะเตรียมและออกบิณฑบาต ดังนี้
“...การกลับจากบิณฑบาต เมื่อองค์ท่าน (หลวงปู่มั่น) เดินไปถึงบันไดศาลา ก็มีผู้หนึ่งคอยรับ ถอดรองเท้าเอาเก็บไว้ที่ควร ระวังมิให้น้ำถูกเพราะเป็นรองเท้าหนัง องค์หนึ่งถือกระบวยล้างเท้าด้วยมือขวา มือซ้ายถูตามแข้งและฝ่าเท้า ทั้งใต้ฝ่าเท้าและหลังเท้า เทถู เทถูโดยเร็ว และไม่ให้กระทบกระเทือนด้วย และไม่แสดงมารยาทอันไม่ตั้งใจแลบออกมาให้ปรากฏด้วย และมีผู้คอยเช็ดเท้าอีก ต้องเช็ดเร็ว ๆ แต่เร็วมีสติ ไม่ให้กระทบกระเทือนเกินไป ไม่ให้เบาเกินไป
องค์ท่านขึ้นไปถึงศาลาฉัน ไม่ได้นั่งลงกราบ เพราะศาลาฉันโต้ง ๆ ไม่มีพระพุทธรูป (ศาลามีพระพุทธรูปลงอุโบสถต่างหาก) แล้วก็ซ้อนสังฆาฏิถวายองค์ท่าน เว้นไว้แต่ท่าทางฝนจะตก ขณะนี้ต้องซ้อนช่วยกันสององค์ องค์หนึ่งม้วนลูกบวบ.. ช่วยสองสามรอบแล้วปิดรังดุมคอถวาย องค์หนึ่งปิดรังดุมใต้ถวาย การเข้าบ้านซ้อนสังฆาฏิกลัดรังดุมใต้และบนนี้ องค์ท่านถือเคร่งมาก ตลอดถึงการนุ่งสบงที่มีขัณฑ์เข้าไปธุระบ้าน เช่น บิณฑบาตและสวดมนต์ องค์ท่านกล่าวว่า
‘การห่มผ้านุ่งผ้า พระลังกาชอบเอาอนุวาตเข้าข้างใน เพราะกันผืนเดิมไม่ให้ซุยผุ ก่อนอนุวาด.. จะเอาอนุวาดเข้าข้างในหรือออกนอกก็ไม่ผิดวินัย จะผินเบื้องบนเบื้องล่างสลับกันไปก็ไม่ผิดพระวินัย เพราะที่ระแข้งจะได้ทนหรือสึกหรอทันกัน’...
ยุควัดป่าบ้านหนองผือ เป็นยุคสุดท้ายแห่งหลวงปู่มั่นและเก็บลูกศิษย์.. ก็เก็บไว้มากกว่ายุคใด ๆ ในสำนัก สิ่งใดเป็นประโยชน์แก่ลูกศิษย์ก็ทุ่มเท ทอดสะพานให้ไม่ปิดบัง ไม่ว่าแต่เท่านี้ ผ้าสังฆาฏิและจีวรขององค์ท่าน ท่านใส่รังดุมทั้งดุมคอและดุมล่างทั้งสองทาง วันหนึ่งห่มผืนทางหนึ่งขึ้น..สลับกันเป็นวัน ๆ ลูกศิษย์ผู้ไปซ้อนไปห่มให้ต้องมีสติจำไว้จึงห่มถวายให้ถูกเป็นวัน ๆ จึงถูกกับธรรมประสงค์ขององค์ท่าน...
* ต่อมาท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดภูจ้อก้อ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-01-2013 เมื่อ 09:36
|