อันนี้ในตำราพูดไว้ไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่เราก็เข้าใจ เวลามาปฏิบัติแล้วเข้าใจ เวลาอ่านตำราไม่ค่อยเข้าใจ ลักษณะเป็นมัว ๆ อยู่ ท่านพูดถึงเรื่องพระโคธิกะ ในภาคปฏิบัติของเรามันก็จับกันได้ทันที...”
เมื่อโอกาสอันควรมาถึง ท่านจึงเข้ากราบเรียนปรึกษาถึงภาวะจิตเสื่อม ว่าควรแก้ไขอย่างไร และด้วยกุศโลบายแยบยลของครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่นกลับแสดงเป็นเชิงเสียใจไปด้วยพร้อมกับให้กำลังใจศิษย์ว่า“...น่าเสียดาย..มันเสื่อมไปที่ไหนกันนา เอาเถอะ..ท่านอย่าเสียใจ จงพยายามทำความเพียรเข้ามาก ๆ เดี๋ยวมันจะกลับมาอีกแน่ ๆ มันไปเที่ยวเฉย ๆ พอเราเร่งความเพียรมันก็กลับมาเอง หนีจากเราไปไม่พ้น
เพราะจิตเป็นเหมือนสุนัขนั่นแล เจ้าของไปไหนมันต้องติดตามเจ้าของไปจนได้ นี่ถ้าเราเร่งความเพียรเข้าให้มาก จิตก็ต้องกลับมาเอง ไม่ต้องติดตามมันให้เสียเวลา มันหนีไปไหนไม่พ้นเราแน่ ๆ ...
จงปล่อยความคิดถึงมันเสีย แล้วให้คิดถึงพุทโธ ติด ๆ อย่าลดละ พอบริกรรมพุทโธถี่ยิบติด ๆ กันเข้า มันวิ่งกลับมาเอง คราวนี้แม้มันกลับมาก็อย่าปล่อยพุทโธ มันไม่มีอาหารกิน เดี๋ยวมันก็วิ่งกลับมาหาเรา
จงนึกพุทโธ เพื่อเป็นอาหารของมันไว้มาก ๆ เมื่อมันกินอิ่มแล้วต้องพักผ่อน เราสบาย.. ขณะที่มันพักสงบตัว ไม่วิ่งวุ่นขุ่นเคืองเที่ยวหาไฟมาเผาเรา ทำจนไล่มันไม่ยอมหนีไปจากเรา นั่นแลพอดีกับใจตัว หิวโหยอาหารไม่มีวันอิ่มวันพอ ถ้าอาหารพอกับมันแล้ว แม้ไล่หนีไปไหนมันก็ไม่ยอมไป ทำอย่างนั้นแล จิตเราจะไม่ยอมเสื่อมต่อไป...”
คำสอนดังกล่าวของหลวงปู่มั่น ทำให้ท่านตั้งคำมั่นสัญญาขึ้นว่า
“...อย่างไรจะต้องนำคำบริกรรมพุทโธมากำกับจิตทุกเวลา ไม่ว่าเข้าสมาธิ ออกสมาธิ ไม่ว่าจะที่ไหน อยู่ที่ไหน แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด หรือทำกิจวัตรต่าง ๆ จะไม่ยอมให้สติพลั้งเผลอจากคำบริกรรมนั้นเลย...”
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-09-2012 เมื่อ 02:55
|