![]() |
บริวารของเทวดาในชั้นดุสิต ต้องเป็นพระโพธิสัตว์ด้วยหรือไม่ ?
๑.ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน กล่าวว่า ในสมัยพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น มหาทุคคตะ และได้ถวายกฐินพร้อมปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าสมณโคดม แต่ในพระไตรปิฎก พุทธวงศ์ บอกว่าเสวยพระชาติเป็นชฎิลชื่อ รัฎฐิกะ ทรงเป็นพระชาติเดียวกันแต่คนละช่วงเวลา หรือคนละพระชาติแต่ยุคพระพุทธเจ้าปทุมุตตระเหมือนกันครับ
๒.บริวารในวิมานของเทวดาชั้นดุสิตต้องเป็น พุทธภูมิ พุทธมารดา พุทธบิดา หรือพระอริยเจ้า เท่านั้นหรือไม่ครับ ๓.หากคิดจะไปทำหยอดเงินใส่ตู้ทำบุญที่วัดจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อไปถึงวัดแล้วพิจารณาถึงความจำเป็นด้านต่าง ๆ จึงเปลี่ยนใจหยอดน้อยกว่านั้น จะถือว่าขโมยของกึ่งกลางสงฆ์หรือไม่ครับ ๔.พระคำข้าว พระหางหมาก ต้องอาราธนาด้วยการท่อง นะโม ๓ จบ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วต่อด้วยคาถาอิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตตัง ทั้งเช้าและเย็น หรือตอนเย็นอาราธนาเฉพาะคาถาอิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตังครับ ๕.วัตถุมงคลของหลวงพ่อปาน หลวงพ่อวัดท่าซุง หรือของวัดท่าขนุน ที่ไม่มีคาถาเฉพาะเวลาอาราธนาต้องทำแบบพระคำข้าว พระหางหมาก หรือแค่คาถาอิทธิฤทธิ พุทธนิมิตตัง อย่างเดียวครับ ๖.ผมสามารถอาราธนาวัตถุมงคลที่ติดตัวพ่อแม่ให้ท่านคุ้มครองพ่อแม่แทนได้หรือไม่ ๗.การสวดคาถาเงินล้านควบลมหายใจ จำเป็นต้องหายใจเข้า สัมปะจิตฉามิ หายใจออก นาสังสิโม หรือ ท่องคาถาไปเรื่อย ๆ คาถาที่ท่องจะอยู่ตรงช่วงหายใจเข้าหรืออกไม่ต้องเหมือนกันทุกรอบก็ได้ครับ ๘.คาถาอิติปิโสแปดทิศ ลองค้นข้อมูลมี ๒ ตำราที่ต่างกันบางส่วน อยากทราบว่าของหลวงพ่อวัดท่าซุงนั้น ภะสัมสัมวิสะเทภะ คือ คาถาตวาดป่าหิมพานต์ คะพุทปันทูธัมวะคะ คือ คาถานารายณ์พลิกแผ่นดิน วาโธโนอะมะมะวา คือ คาถานารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภพ ผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ. |
ถาม : ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน กล่าวว่า ในสมัยพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น มหาทุคตะ และได้ถวายกฐินพร้อมปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าสมณโคดม แต่ในพระไตรปิฎกพุทธวงศ์ บอกว่าท่านเสวยพระชาติเป็นชฎิลชื่อ รัฏฐิกะ ไม่ทราบว่าเป็นพระชาติเดียวกันแต่คนละช่วงเวลา หรือคนละพระชาติแต่เป็นยุคพระพุทธเจ้าปทุมุตตระเหมือนกันครับ ?
ตอบ : คุณรู้ไหมว่ายุคพระพุทธเจ้าปทุมุตตระอายุพระศาสนาท่าน ๓๐,๐๐๐ ปี ? ๓๐,๐๐๐ ปีถ้าคนจะเกิดจะตายนี่เกิดกี่ครั้ง ? เพราะฉะนั้น..ยุคเดียวอาจจะเกิดหลายครั้งได้ ก็แปลว่าเป็นคนละชาติกัน แต่ว่าอยู่ในยุคสมัยพระพุทธปทุมุตตระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวกัน |
ถาม : บริวารในวิมานของเทวดาชั้นดุสิตต้องเป็น พุทธภูมิ พุทธมารดา พุทธบิดา หรือพระอริยเจ้า เท่านั้นหรือไม่ครับ ?
ตอบ : ไม่เป็นก็ต้องตกกระไดพลอยโจนเป็นจนได้ เพราะว่าถ้ากติกาไม่พอก็เข้าในเขตนั้นไม่ได้ |
ถาม : พระคำข้าว พระหางหมาก ต้องอาราธนาด้วยการท่อง นะโมฯ ๓ จบ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ต่อด้วยคาถาอิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตตังฯ ทั้งเช้าและเย็น หรือว่าตอนเย็นอาราธนาเฉพาะคาถาอิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตังฯ ครับ ?
ตอบ : ของอาตมาเล่นด้วยคาถาเงินล้านอย่างเดียวมานานแล้ว มีเวลาก็ทำให้เต็มที่ตามที่เราสบายใจ หลังจากนั้นเราชอบพระคาถาบทไหนหรือว่าภาวนาบทไหนจนติดใจ เราก็ภาวนาไป เพียงแต่ว่านึกถึงภาพพระสมเด็จคำข้าว หรือ พระสมเด็จหางหมากเอาไว้ก็แล้วกัน |
ถาม : ผมสามารถอาราธนาวัตถุมงคลที่ติดตัวพ่อแม่ให้ท่านคุ้มครองพ่อแม่แทนได้หรือไม่ ?
ตอบ : เป็นไปไม่ได้ สมมติว่าเราโทรศัพท์ไปหาเพื่อนคนหนึ่งเพื่อที่จะคุยแทนพ่อแม่ คุณคิดว่าจะรู้เรื่องกันไหม ? เครื่องรับอยู่กับพ่อแม่ เครื่องส่งอยู่ที่พระท่าน ก็ต้องให้คนที่เป็นเจ้าของเครื่องรับเปิดเครื่องรับเอง ไม่ใช่เราไปเปิดเพื่อรับแทน ยกเว้นอยู่กรณีเดียวคือได้อภิญญา ๕ ถ้าหากว่าได้อภิญญา ๕ ขึ้นไป สามารถที่จะอธิษฐานให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการแทนคนอื่นได้ |
ถาม : การสวดคาถาเงินล้านควบลมหายใจ จำเป็นต้องหายใจเข้า-สัมปะจิตฉามิ หายใจออก-นาสังสิโม หรือท่องคาถาไปเรื่อย ๆ คาถาที่ท่องจะอยู่ตรงช่วงหายใจเข้าหรือไม่ต้องเหมือนกันทุกรอบก็ได้ครับ ?
ตอบ : อย่างไรก็ได้ ให้เรารู้สึกว่าภาวนาได้คล่องตัวตามลมหายใจเท่านั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องไปบังคับว่าตรงไหนขึ้นตรงไหนจบ |
ถาม : คาถาอิติปิ โสฯ แปดทิศ ลองค้นข้อมูลมี ๒ ตำราที่ต่างกันบางส่วน อยากทราบว่าของหลวงพ่อวัดท่าซุงนั้น
ภะสัมสัมวิสะเทภะ คือ คาถาตวาดป่าหิมพานต์ คะพุทปันทูทัมวะคะ คือ คาถานารายณ์พลิกแผ่นดิน วาโธโนอะมะมะวา คือ คาถานารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภพ ผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ ? ตอบ : จะถูกหรือไม่ถูกก็ช่างหัวมัน เพราะว่าคาถาเป็นเพียงเครื่องโยงใจให้เป็นสมาธิ พอสมาธิทรงตัว ต้องการความสำเร็จอย่างไรอยู่ที่ใจเราคิด เพราะฉะนั้น..คาถาจะผิดจะถูก ถ้าใจเราคิดให้เป็นอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้น |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:27 |
ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน
เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.