![]() |
โทษของการกล่าวโทษพระอริยะ ๑๐
โทษของการกล่าวโทษพระอริยะ ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑.ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๒.เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๓.สัทธรรมย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๔.เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๕.ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๖.ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๗.ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๘.ถึงความเป็นบ้ามีจิตฟุ้งซ่าน ๙.เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ(ตายอย่างขาดสติ) ๑๐.เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก จาก"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ ข้อ ๘๘ |
เถรีสงสัยค่ะว่า การกล่าวโทษพระอริยเจ้าแล้วมีผลดังกล่าวข้างต้น หมายถึงกล่าวโทษเฉพาะพระอรหันต์หรือเปล่าคะ
แล้วอย่างพระอริยเจ้าที่ไม่ใช่พระอริยเจ้าเบื้องสูง เช่น พระโสดาบัน พระสกิทาคาจะให้ผลแบบนั้นด้วยหรือไม่ เพราะอ่านดูแล้วโทษแลหนักเหลือเกิน วันหลังจะได้ไม่ไปแตะท่าน :154218d4::154218d4: |
โทษจะหนัก จะเบา ตามระดับความเป็นพระอริยเจ้า เช่นเดียวกับเวลาทำบุญกับพระอริยเจ้าเลยใช่ไหมครับ?
อย่างนี้ก็ไม่ควรประมาท เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าท่านใดเป็นพระอริยเจ้าบ้าง? และการขอขมาต่อพระรัตนตรัยบ่อย ๆ เพื่อความปลอดภัย จะช่วยได้ไหมครับ? |
ถ้าระวังตัว ระวังใจ คงช่วยได้มากสุด แหะ ๆ
|
เพราะเหตุนี้แล เวลาข้าพเจ้าอยู่ในรัศมีของพระอาจารย์ ข้าพเจ้าจะสำรวมที่สุด(ใบ้รับประทาน)เพราะไม่ไว้ใจคำพูดตัวเองครับ:l43841274qn5:
|
ต่อไปนี้เวลาจะถามหลวงพี่เล็ก
จะทำอย่างไรดี |
อ้างอิง:
|
พอดีอ่านหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๐
หลวงพ่อสอนว่า : ให้ขอขมาตรงต่อพระพุทธเจ้า ปรามาสตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ขอขมาโทษเป็นส่วนตัวไม่หาย ต้องขอขมาโทษตรงต่อพระพุทธเจ้า |
คุมกายคุมวาจานั้นยังง่าย แต่คุมใจไม่ให้ปรามาสนี่สิ ยากมาก ต้องพยายามกำหนดจิตให้อยู่ในองค์ภาวนา หรือไม่ก็อยู่ที่ลมหายใจตลอดสำหรับคนที่จิตยังไม่ละเอียด คนที่ละเอียดแล้วจิตก็จะลดการปรามาสตามกำลังใจ สมัยฝึกใหม่ ๆ แหม...อย่าให้เล่าเลย ไม่รู้คิดไปได้อย่างไรเลวจริง ๆ พอได้ความรู้จากหลวงพี่สมปองก็ค่อย ๆ เข้าใจมากขึ้น ดูเจตนาเป็นอันดับแรก บางทีเราไม่ได้ต้องการคิดอย่างนี้ แต่มันปรุงแต่งให้คิดอย่างนี้เพราะตัวสังขารขันธ์ ไม่ใช่เราเป็นผู้ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันเกิดแล้วก็ต้องขอขมาทุก ๆ ครั้งที่เรารู้ตัว
|
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 03:24 |
ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน
เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.