![]() |
ที่มาของบทสวดพุทธชัยมงคลคาถา บทที่ ๖
ถาม: บทสวดพุทธชัยมงคลคาถา ตรง "ปัญญาปะทีปะชะลิโต" มีที่มาอย่างไร ?
ตอบ: ปัญญาปะทีปะชะลิโต แปลตรง ๆ ว่ามีปัญญาอันสว่างไสวเหมือนอย่างกับเปลวไฟที่สว่างรุ่งโรจน์ ถาม: เคยอ่านเจอแล้ว ที่มาของบทสวดพุทธชัยมงคลคาถาตรงนี้ ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าถูกคนถามปัญหา แล้วใช้ปัญญาโต้ตอบกันและกัน ใครเป็นคนถามและโต้ตอบกัน ? ตอบ: สัจจกนิครนถ์ นิครนถ์เป็นนักบวชจำพวกหนึ่ง สัจจกนิครนถ์เขาเป็นคนมีปัญญามาก ศึกษาวิชาการทางด้านของเขาจนเจนจบ เขามีความเชื่อว่าความรู้ของเขาล้นพุง จนต้องเอาเหล็กแผ่นมาคาดพุงเอาไว้ กลัวพุงแตกเพราะความรู้เยอะ แต่บังเอิญความรู้ของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าท่านเสด็จไปเพื่อที่จะแก้ไขให้ เพราะท่านตรวจดูด้วยญาณแล้วว่าคนนี้โปรดได้ พระองค์ท่านก็ไปในลักษณะของการโต้ตอบปัญหา แล้วพระองค์ท่านชนะ โดยที่สัจจกนิครนถ์ไม่สามารถที่จะเถียงได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แจ่มแจ้ง เปรียบเหมือนกับการหงายของที่คว่ำ หรือจุดไฟในที่มืด สัจจกนิครนถ์รู้แจ้งเห็นจริงในจุดนั้น จึงเปรียบว่าพระองค์ท่านมีปัญญารุ่งเรืองเหมือนกับเปลวไฟ ส่องสว่างทำให้ความมืดมนของเขาหมดไปได้ "สัจจกนิครนถ์" อยู่ในบทสวดพาหุงฯ ๘ บท ในบทที่ ๖ "สัจจังวิหายะมะติ สัจจะกะวาทะเกตุง" เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า คนเวลาดื้อ..ก็ดื้อสะเด็ดเหมือนกัน ไม่เจอคนที่รู้จริง เก่งจริง ก็ยากที่จะยอมรับคนอื่น สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:25 |
ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน
เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.