![]() |
เก็บเล็กผสมน้อย จากพระอาจารย์
ผมคิดว่าจะนำเอาคำสอนของพระอาจารย์ที่ผมได้จดเอาไว้มาลง เพราะคิดว่าอาจจะเกิดประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย หากจะเกิดโทษใด ๆ ผมขอรับเอาไว้แต่เพียงผู้เดียว มา ณ ที่นี้ครับ
หากไม่เป็นการสมควรอย่างใด ก็โปรดท้วงติงได้เลยครับ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ “การปฏิบัติ สำคัญที่การตัดสินใจ” “การปฏิบัติดีแล้วล้มไม่แปลก ให้นึกถึงสิ่งที่เคยทำมาแล้ว ทั้งการคิด การทำ การพูด สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แล้วทำกลับไปให้เหมือนเดิม” “จำเอาไว้ว่าการปฏิบัติ อย่าอยาก ให้คิดว่ามีหน้าที่เพียงทำเพียงอย่างเดียว ถ้าอยากแล้วจะฟุ้งซ่าน คืออุทธัจจกุกกุจจะ” “การฝึกมโนมยิทธิ อย่ากลัวผิด ถ้าผิดให้ถือเป็นครู” “การฟังให้ฟังเป็นคำสั่ง ไม่ใช่ฟังแล้วเป็นคำสอน” “เพราะรัก จึงโลภ จึงโกรธ จึงหลง” เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ “นักปฏิบัติที่ดี ต้องหมั่นทบทวนตัวเองอยู่เสมอ ว่าดี หรือเลว ตกต่ำไปแค่ไหน แล้วสามารถกู้คืนได้เร็วแค่ไหน” “การบรรลุ เหมือนการก้าวพ้นแม่น้ำแห่งกิเลส กามคุณ ๕ คือวังวนของสายน้ำ ความอยากเหมือนจระเข้ เพศเหมือนปลาอันร้ายกาจ คลื่นลมเหมือนดั่งคำสั่งสอน ให้รู้จักทนและฝ่าฟันไปให้ได้” “ดูอดีต จนปัจจุบัน ในการปฏิบัติว่าก้าวหน้าขึ้นแค่ไหน ล้มแล้วลุกขึ้นเร็วแค่ไหน จงตั้งหน้า ตั้งตา ทบทวนตัวเองให้มากที่สุด” “รักษาศีล สมาธิ ปัญญา ให้ทรงตัว” |
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
“การไม่กลัวตาย ก็ไม่มีอะไรต้องกลัวอีก จงเห็นความตายเป็นปกติของร่างกาย” “ไม่มีใครสามารถตัดเวทนาได้ แต่พยายามตัดกังวลต่าง ๆ ด้วยการมีสติให้มากที่สุด” “หลักธรรมที่ใช้ในปัจจุบัน ไตรลักษณ์ คือ มีเกิดในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง ดับสลายในที่สุด” “ถ้าจะคิดทำกิจการใด ให้คิดในแง่ที่แย่ที่สุด อย่ากู้ แล้วจงอดทนทำไปเรื่อย ๆ ไม่จำเป็น อย่าเป็นหนี้ใคร อย่าให้ใครเขาเป็นหนี้เรา” “อย่าเป็นคนกินบุญเก่าอย่างเดียว ให้สร้างขึ้นมาใหม่ด้วย ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา” “จงทำดีเพราะอยากทำ อย่าทำเพราะอยากดี” “การสร้างสั่งสมบุญบารมี จะใช้ความใจร้อนไม่ได้ แต่ต้องใช้เวลา จนพอและพร้อม จะพอก็ต่อเมื่อคนเห็น แล้วเขาจะช่วยเอง ถ้าทำเพราะอยากโอกาสรอดยากมาก เพราะมารจะเข้าแทรกเสมอ” “เมื่อเราไม่เก่งจริง จะไม่ได้รับความเชื่อถือ อยากเป็นหัวหน้า คนหัวแถว ต้องเก่งจริง สามารถแก้ปัญหาได้ตลอด” “มีสิ่งใดที่สามารถทำได้ตามหลวงพ่อบ้าง มีความภูมิใจไหนบ้างที่ เด่นชัดที่สุด” “ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามา ทั้งอารมณ์ ที่ชอบใจ และที่เราไม่ชอบใจ เป็นสิ่งที่ดีทั้งนั้น แต่อยู่ที่ตัวเราจะผ่านไปอย่างไร” |
ผมเริ่มจดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑
และก็ไม่ได้ไปทุกวัน จึงอาจจะขาดบ้าง หายไปบ้าง ถ้าข้อความใดที่ผิด ก็ขอพี่ ๆ แก้ไขให้ด้วยนะครับ เหลืออีกไม่เยอะแล้ว พยายามแคะ เอาออกจากสมองให้มาก ที่จริงพระอาจารย์ท่านสอน ก็เนื่องจากมีผู้มาถามปัญหา หรือท่านเทศน์สอน หรือเล่าเรื่องอะไรให้ฟังบ้าง ก่อนเที่ยง หลังเที่ยง ช่วงก่อนทำกรรมฐาน เมื่อก่อนไม่ค่อยได้นั่งอยู่ในห้องมากเท่าไหร่ แต่ช่วงนี้ถ้าทำได้มักจะมาให้มาก โดยเฉพาะช่วงก่อนทำกรรมฐาน ท่านมักจะเล่าอะไรให้ฟัง หรือไม่ก็เทศน์สอนเตือนสติ แนะนำสิ่งต่าง ๆ จึงเป็นช่วงที่สนใจมาก รองมาจากช่วงทำกรรมฐาน เพราะได้ความรู้ ข้อคิด ต่าง ๆ ครับ ขอบคุณครับ |
เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
“อาการของร่างกาย เหนื่อย ง่วง เพลีย เป็นการทดสอบอารมณ์ที่ดี เพราะมักจะอารมณ์เสียได้ง่าย ต้องระวัง มารจะวางบ่วง คือกับดักเอาไว้ตลอดเวลา” “คนจะสอนผู้อื่นได้ ควรที่จะปฏิบัติได้ก่อน เพื่อที่จะเข้าใจและอธิบาย ตอบปัญหาได้อย่างถูกต้อง” |
เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๒
"ให้ก่ออิทธิบาท ๔ ใช้วิมังสา คือรู้จักทบทวนตัวเอง ย้อนกลับไปดูการปฏิบัติของตนเองว่าเป็นอย่างไร อันไหนควรรักษาไว้ อันไหนควรแก้ไข เพื่อประโยชน์และความก้าวหน้าในการปฏิบัติ" "ตัดในสิ่งที่ควรตัด อย่าไปต่อความยาวสาวความยืด บางสิ่งบางอย่าง ควรที่จะตัดได้แล้ว มันก็ตัดไม่ได้ ขยายยืดเสียผลแก่ตนเองอีก กำลังใจในการตัดจากสิ่งต่าง ๆ ล้วนใช้กำลังใจเท่ากัน ห้ามใจจากความอยากใด ๆ ของร่างกายได้ ก็สามารถห้ามใจจากการผิดศีล จากการละเมิดสิ่งต่าง ๆ ได้เช่นกัน และขึ้นอยู่ว่าเราจะมองจากมุมไหน" "อารมณ์ต่าง ๆ ทั้งความพอใจและไม่พอใจเป็นผลของมาร เป็นผลเสียแก่เราทั้งสิ้น พอใจก็ค่อนไปทาง ราคะ โลภะ ไม่พอใจก็ค่อนไปทาง โทสะ โมหะ ต้องมีความระวังอย่างยิ่ง" |
เดือนมกราคม ๒๕๕๐ (ต่อ)
มีพี่ชายท่านหนึ่งถามเกี่ยวกับเรื่องวิปัสสนาญาณ มีประโยคหนึ่งที่เขาบอกกับหลวงพ่อว่า "อยากเรียนรู้เร็ว ๆ แบบลัด" หลวงพ่อบอกเขาไปว่า " ถ้าเราอยากลัดมันมากไป ก็จะกลายเป็นว่าเรามองไปข้างหน้าอย่างทะเยอทะยาน แต่การที่เราไปเป็นขั้น ๆ มันทำให้เรามองย้อนหลังไปได้ มันจะเป็นกำลังใจให้เราว่า กว่าจะมาถึงตรงนี้ได้มันลำบากแค่ไหน" |
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
- มีพี่คนหนึ่งถือพานมาขอขมาหลวงพ่อเล็ก พี่เขาได้สารภาพกับหลวงพ่อเล็กว่าปรามาสท่าน โดยให้เหตุผลว่า "เพราะผมรู้น้อย" หลวงพ่อเล็กท่านก็ยิ้ม ๆ แล้วบอกว่า "ไม่มีหรอก รู้น้อย มีแต่รู้มากขึ้น" - มีหลายท่านที่มากราบหลวงพ่อ พยายามที่จะหายาดี ๆ มาถวาย ทั้งยาไทยและยานอก หลวงพ่อท่านก็ว่า "ที่กิน(ยา)นี่ไม่ได้อะไรหรอกนะ เดี๋ยวมันจะหาว่าที่ไม่หายเพราะไม่ยอมกินยา ก็เลยกินให้ดู จะได้รู้ว่ากินแล้วไม่หาย (หัวเราะ)" |
กันยายน ๕๑
ถาม : พวกคนรวย ๆ เขาก็ต้องมีทานบารมีมาดี แต่ทำไมชาติปัจจุบันบางคนจึงตระหนี่ถี่เหนียว อะไรก็ไม่ยอมทำ ตอบ : บางทีในอดีตเขาอาจจะได้ทำโดยที่ไม่เจตนาก็มี คือ ไม่ได้เกิดจากการสละออกโดยใจจริง พวกสละด้วยใจจริงมาชาตินี้ก็ทำต่อ |
เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๒ (ต่อ)
"เรื่องของกรรม หากไม่เคยกระทำไว้ ไม่ต้องกลัวเรื่องผลที่จะต้องรับ" "การเลือกใช้อะไร ให้เลือกใช้เท่าที่จำเป็น ดำรงชีวิตตามเศรษฐกิจพอเพียง" "อย่าเสียดายเวลาในการปฏิบัติแต่ละวัน ให้รู้จักสละเวลามาปฏิบัติให้มากขึ้น จงเห็นความสำคัญของการทำความดีจริง ๆ เพราะเวลาของเรามีแค่ชั่วลมหายใจเดียว (เข้าไม่ออกก็ตาย ออกไม่เข้าก็ตาย)" "ต้องรู้จักทนความลำบาก อย่าสนความสบายนัก ไม่อย่างนั้นจะเอาดีได้ยาก" "พยายามเอาทุกอิริยาบถให้อยู่กับคำภาวนา แล้วจะเอาดีได้" "งานทางโลกก็สำคัญ แต่งานทางธรรม (การภาวนา) สำคัญที่สุด เพราะข้างหน้า ถ้าต้องมีคนมาพึ่งเรา เราอาจจะไม่มีอะไรให้เขาพึ่งได้เลย" |
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
"ธรรมะของพระพุทธเจ้า มีสติระลึกรู้อยู่ ไม่ว่าจะ ยืน – เดิน – นั่ง – นอน – ดื่ม – กิน – คิด – พูด – ทำ" *อ้างอิงเพิ่มเติม อ้างอิง:
และ อ้างอิง:
ขอบพระคุณ คุณเถรีและคุณสุรจิตรและคุณ Vanco (เว็บพลังจิต) |
เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒
"ผู้ปฏิบัติจะมีสติเท่ากันทั้งหลับหรือตื่น เพื่อให้รู้เท่าทันกับกิเลส ควรจะทำให้ถึงระดับนี้เป็นอย่างน้อย" |
เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
"การฝึกกรรมฐาน ให้รักษาอารมณ์ใจ ลมหายใจ - รู้จักปลีกตัวจากหมู่ชน - ระวังอารมณ์หลุดจากลมหายใจ - จิตที่มีความละเอียด จะรับรู้สัมผัสสิ่งต่าง ๆ ง่ายขึ้น มากขึ้น - อย่าสนใจในนิมิต - ระวังมาร" |
เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ)
"สมมุติมันซ้อนสมมุติแล้วมายึดว่าเป็นตัวเรา ของเรา" "มองตัวเองมาก ๆ เมื่อใดเราเห็นว่าใครต่อใครเลว ให้จำไว้ว่าตัวเราแย่มาก ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างมาตามวาระเวลา ทั้งหมดเป็นเพียงแค่สมมุติ" "ถ้าเขาดี น่ายินดี ไม่ต้องเป็นภาระ ,ถ้าเขาแย่ น่าสงสาร ควรส่งเสริม" "รักษากำลังของตนเองให้สูงที่สุด ในแต่ละวันต้องไม่ไหลไปตามรัก โลภ โกรธ หลง" |
เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ)
สิ่งใดที่เห็นว่าดีให้นำมาใช้ ถ้าไม่ดีให้ปล่อยวาง การทำดีให้เอาดีให้ได้ จะได้ภูมิใจว่าเป็นลูกใคร จงเลียนแบบประติมากรรมชีวิต เอาสิ่งที่ดี ๆ ของบุคคลอื่นที่ปฏิบัติดีมาแล้ว เอามาปรับปรุงตนเองจนดีที่สุด แล้วดูจากสิ่งรอบข้างว่าเขาปฏิสัมพันธ์กับเราอย่างไร เพราะเขาไม่ได้ดูแต่ภายนอก แต่จะดูไปถึงภายใน อย่าเอาแค่ฟัง ให้ฟังแล้วจำ นำไปคิด แล้วปฏิบัติให้เห็นผล |
เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ)
“ไล่ความชั่วออกไปจากใจ ทำความดีให้เกิดขึ้น รักษาความดีนั้นเอาไว้ แล้วทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก” |
เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ)
“ทุกคนเปรียบเหมือนทหาร ทหารแห่งกองทัพธรรม มีพระพุทธเจ้าเป็นธรรมราชา หลวงปู่ หลวงพ่อทั้งหลายเป็นธรรมเสนา ต้องปฏิบัติตามท่านให้ได้” “ต้องดูว่ากายสมบูรณ์หรือไม่ คือไม่ละเมิดในศีล วาจาสมบูรณ์หรือไม่ คือไม่โกหก ส่อเสียด ใจสมบูรณ์หรือไม่ คือไม่คิดว่าร้าย ไม่คิดในทางละเมิดศีล อย่าปล่อยให้มีรูรั่วแม้เพียงเล็กน้อย เพราะรูรั่วเพียงเล็กน้อยสามารถทำให้เขื่อนขนาดใหญ่พังทลายได้ เรือทั้งลำจมได้” “พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าความอดทนเป็นเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง เพื่อนิพพานอันเป็นธรรมอันสูงสุด เป็นทหารจึงต้องมีความอดทน อดทนต่อกิเลสตัณหาที่เข้ามา กิเลสมีรัก โลภ โกรธ หลง แต่มาได้หลายต่อหลายแบบ มีแพ้บ้างชนะบ้างเป็นธรรมดา ให้รู้จัดคิดวิเคราะห์ว่า ชนะ แพ้ เพราะอะไร” “ต้องมีอิทธิบาท ๔ ให้ประจำอยู่กับใจกับการปฏิบัติ” |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:54 |
ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน
เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.