![]() |
เรื่องที่ควรพูด ๑๐ อย่าง
๑. มักน้อย
๒. สันโดษ ๓. วิเวก ๔. ไม่คลุกคลี ๕. ความเพียร ๖. ศีล ๗. สมาธิ ๘. ปัญญา ๙. วิมุติ ๑๐. วิมุติญาณะทัสสนะ คัดลอกจากหนังสืออนุสรณ์งานบำเพ็ญกุศลศพ ครบ ๑ ปี พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงพ่อสาย อคฺควํโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ต. ท่าขนุน อ. ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี |
เคยอ่านกลอนของหลวงปู่สายที่ติดไว้ที่ข้างฝากุฏิวัดท่าขนุน มีความหมายที่น่าสนใจ ว่าดังนี้ครับ
"ฆ้องระฆัง ดังเมื่อตี มีเสียงเพราะ ถ้าไม่เคาะ ก็ไม่ดัง ตั้งอยู่เฉย วิสัยปราชญ์ มาตรไม่ถาม ไม่ภิเปรย ถึงคราวเอ่ย แต่ละครั้ง ฝังใจคน" ฝากไว้ให้พิจารณากันดูนะครับ |
ถ้าเป็นเรื่องของการพูดสอน พระอาจารย์เล็กท่านเคยกล่าวแนะนำพระลูกศิษย์ว่า
๑. พูดเน้นการปฏิบัติ ๒. พูดให้เคารพพระรัตนตรัย ๓. พูดให้คลายกำหนัด ๔. พูดให้ห่างจากการครองเรือน เป็นต้น |
“อัคคิเวสสนะ เวทนา ๓ อย่างนี้คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนาในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนา เท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยแต่ทุกขเวทนา ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา
“อัคคิเวสสนะ สุขเวทนา...... ทุกขเวทนา....... อทุกขมสุขเวทนา.....ไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คล้ายไปดับไปเป็นธรรมดา “อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งใน ทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา ทั้งอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใคร ๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกันก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฐิ” |
อัคคิเวสสนะ เวทนา ๓ อย่างนี้คือ
สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ในสมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา และไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวยสุขเวทนา และไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวยสุขเวทนา และไม่ได้เสวยแต่ทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น อัคคิเวสสนะ สุขเวทนา...... ทุกขเวทนา....... อทุกขมสุขเวทนา.....ไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คล้ายไปดับไปเป็นธรรมดา อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งใน ทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา ทั้งอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใคร ๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกันก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฐิ สาธุครับ ผมช่วยจัดย่อหน้าใหม่เพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น |
ทำให้นึกถึงที่พระท่านเมตตาเทศน์ให้ฟังเมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า
โสมนัส โทมนัส และอุเบกขา ควรพิจารณาเป็นไปให้ละเอียดเพิ่มขึ้นอีก ๒ ลักษณะเพื่อความเข้าใจในเวทนาทั้งหลายได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น คือ โสมนัสใด เป็นไปเพื่อกุศลธรรมเจริญขึ้น อกุศลธรรมเสื่อมลง โสมนัสนั้นควรเสพ โสมนัสใด เป็นไปเพื่อกุศลธรรมเสื่อมลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น โสมนัสนั้นไม่ควรเสพ โทมนัสใด เป็นไปเพื่อกุศลธรรมเจริญขึ้น อกุศลธรรมเสื่อมลง โทมนัสนั้นควรเสพ โทมนัสใด เป็นไปเพื่อกุศลธรรมเสื่อมลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น โทมนัสนั้นไม่ควรเสพ อุเบกขารมณ์ใด เป็นไปเพื่อกุศลธรรมเจริญขึ้น อกุศลธรรมเสื่อมลง อุเบกขารมณ์นั้นควรเสพ อุเบกขารมณ์ใด เป็นไปเพื่อกุศลธรรมเสื่อมลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น อุเบกขารมณ์นั้นไม่ควรเสพ ป.ล.ขออภัย ณ ครับ นี่อาจจะไม่ตรงกับหัวข้อของห้องที่ว่าคำสอนของหลวงปู่สาย แต่ขออนุญาตเพิ่มเติมไว้ประกอบกับหัวข้อธรรมด้านบนนะครับ หากเห็นว่าไม่สมควรกรุณาลบหรือย้ายได้เลยนะครับ |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:13 |
ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน
เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.