![]() |
การกำหนดรู้ระวังที่ใจสำคัญที่สุด
ถาม : เวลาคิดกำหนดระยะเวลานาน ๆ ถ้า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีการสัมผัส แล้วทีนี้เวลาที่ใจออกมา มันออกมาทางไหนคะ จับไม่ทันเลย ?
ตอบ : จับไม่ทัน ? เขาระวังตรงใจ อย่าไประวังตรงตา หู จมูก ลิ้น กาย ถาม : เกิดขึ้นมาเองคะ ไม่ทันระวัง ก็ขึ้นมาแล้ว ? ตอบ : กำหนดใจเหมือนกับตัวเรานั่งอยู่ในห้องว่าง ๆ มีประตูอยู่ตรงหน้าของเรา อะไรเข้ามาเราจะรู้ นึกออกไหม ? เหมือนอาคันตุกะมาเยี่ยม โผล่หน้ามาก็รู้แล้ว นี่มาทางตานะ..ต้องระวังไว้ เดี๋ยวจะเข้ามาในใจเราได้ นี่มาทางหู..ต้องระวังไว้ เดี๋ยวจะเข้ามาในใจเราได้ หูกับตาจะมาเร็วที่สุด ถาม : ยังพอทัน หูกับตา แต่ใจนั้นไม่ชัด ? ตอบ : นั่นแหละ คือ ระวังใจตัวเดียว หกตัว ระวังใจตัวเดียว อย่าให้เข้ามาในใจของเรา แล้วจะไปเสียเวลากำหนดไปทำไม ภาวนาให้จิตทรงเป็นฌานก็รู้รอบแล้ว ถ้าเราจับลมหายใจเข้าออกได้ สังเกตไหมว่ากิเลสจะกินเราไม่ได้เลย เพราะกำลังสมาธิปิดหมด ถาม : ช่วงจับบางทีก็แน่น แน่นหน้าอกจนจุก ? ตอบ : อาการอย่างนั้น บางทีเป็นขั้นตอนของการบอกให้รู้ว่า ตอนนี้อารมณ์ใจทรงตัวแล้ว เราเองเราก็จับอาการนั้นเอาไว้ ถึงเวลาถ้าอาการนั้นแน่นขึ้นมา เราก็รู้ว่าตอนนี้อารมณ์อยู่ในระดับที่จะพึ่งตัวเองได้ แล้วเราก็ระวังได้ บางทีอาการบางอย่างในร่างกายไม่เหมือนเขา เมื่อเกิดขึ้นเราก็ต้องรู้ไว้ จริง ๆ แล้วอาการที่แน่นเข้ามา บางทีเย็นเหมือนกับซุกน้ำแข็งในอกก็มี คอยสังเกตตัวเองว่า ของเราต่างกับของเขานิดหน่อย พออารมณ์ใจถึงตรงนั้น แล้วดูซิว่าสติพร้อมไหม ถ้าสติพร้อม คือ อาการของการทรงฌาน อย่างน้อย ๆ เป็นอาการของอุปจารฌาน สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๔ |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:02 |
ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน
เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.