![]() |
สังขารุเปกขาญาณในพรหมวิหาร ๔
ถาม : อารมณ์สังขารุเปกขาญาณที่เป็นการวางเฉย เมื่อวางเฉยแบบสังขารุเปกขาญาณแล้ว จะนำไปใช้กับตัวเมตตาในพรหมวิหาร ๔ ได้อย่างไรบ้างครับ ?
ตอบ : อุเบกขาก็จะเป็นอุเบกขาในเมตตา แม้ว่าปล่อยวางก็ยังมีความรัก มีความห่วงใยเป็นปกติ อุเบกขาในกรุณา แม้ว่าปล่อยวางก็ยังสงสาร อยากให้เขาพ้นทุกข์อยู่เช่นเดิม อุเบกขาในมุทิตา แม้ว่าจิตใจไม่ยินดียินร้าย แต่ถ้าหากว่าเขาได้ดีก็ยังยินดีกับเขาอยู่ ไม่หวั่นไหวแต่มีความยินดีด้วย ต้องเป็นอุเบกขาในอุเบกขา จึงหยุดสนิท ไม่ยินดียินร้ายอะไรกับใคร คราวนี้ถ้าทำเข้าถึงแล้ว จะเป็นพรหมวิหารสี่ที่ประกอบด้วยปัญญา ป้องกันตัวเองได้ทุกวิถีทาง ไม่อย่างนั้นแล้วบางคนช่วยเหลือผู้อื่นแต่ตัวเองเดือดร้อน ดีไม่ดีเขาก็สรรเสริญว่าไอ้บ้า ไม่ได้รู้จักกันเสียหน่อย มายุ่งกับกูทำไม ? เมตตาไม่ดูตาม้าตาเรือ คราวนี้ในสังขารุเปกขาญาณจะประกอบด้วยเมตตา พูดง่าย ๆ ว่าไม่ใช่เรื่องวาระบุญ วาระกรรม ก็ไม่ไปแตะต้อง อย่างที่อาตมาสรุปง่าย ๆ ว่าถ้าไม่ได้มาล้มทับตีนอยู่ข้างหน้า แล้วเรายังเดินต่อไปได้ ก็ไม่ไปยุ่งกับเขา นี่เล่นล้มทับตีนอยู่ เราเดินต่อไม่ได้ ก็เลยต้องช่วยเขาหน่อย ถาม : พูดง่าย ๆ ว่าตัวสังขารุเปกขาญาณไม่ได้ทำให้ตัวพรหมวิหารลดลง..ใช่ไหมครับ ? ตอบ : ไม่ได้ลดลง แต่มีความมั่นคง และรู้ระมัดระวังมากขึ้น ไม่ยุ่งกับกรรมของใครโดยไม่จำเป็น เพราะใจยอมรับกฎของกรรมจริง ๆ ถาม-ตอบ ณ บ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:00 |
ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน
เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.