![]() |
๑๔๑. อย่าทิ้งอานาปานุสติ ยิ่งกำหนดรู้ลมมากเท่าไหร่ จิตยิ่งทรงสติได้มากขึ้นเท่านั้น ช่วยเตือนใจว่า ชีวิตนี้มันไม่เที่ยง อาจตายได้ตลอดเวลา มีมรณาฯ ควบอุปสมานุสติอยู่เสมอ ความไม่ประมาทก็ยิ่งน้อยลง ก็ยิ่งใกล้พระนิพพานเพียงนั้น |
๑๔๒. จิตจักเจริญได้ต้องอาศัยความเพียร ในการปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ให้ตัดสังโยชน์ ๓ ให้ได้ก่อน โดยเอาอธิศีลเป็นพื้นฐาน เมื่อได้แล้วสังโยชน์ ๔-๕ ไม่ต้องตัด ให้รวบรัดตัดอวิชชาข้อ ๑๐ เลย รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน |
๑๔๓. อุบายที่ทรงเมตตาแนะวิธีเข้าพระนิพพานแบบง่าย ๆ สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานได้สังโยชน์ ๓ ข้อแรกแล้ว ก็คือ รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน |
๑๔๔. กาม-กิน-นอน ...สามตัวนี้ยังติดกันมาก ซึ่งล้วนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดร่างกาย หรือรูป-นาม (ขันธ์ ๕) ทั้งสิ้น อันเป็นโทษของการเกาะติด หากละวางได้ก็เป็นคุณ ซึ่งมีอยู่ในศีล ๘ ทั้งสิ้น |
๑๔๕. อธิศีล มีศีล ๕ รองรับ ก็พ้นอบายภูมิ ๔ ได้ถาวร อธิจิต ไม่ติดในกาม-กิน-นอน มีศีล ๘ รองรับ ก็พ้นเกิดพ้นตาย อธิปัญญา จิตไม่ยินดี-ยินร้ายในสมมุติของโลกและขันธโลก ในสมมุติบัญญัติ ๖ คือ หมดอุปาทาน มีศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ รองรับ จิตวางสมมุติได้ จิตก็วิมุติทั้งกาย-วาจา-ใจ |
๑๔๖. ให้พิจารณาโทษของการติดรูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส-ธรรมารมณ์ ให้มาก และพิจารณาโทษของการติดกาม-กินและนอนให้มากด้วย แล้วจักทำให้จิตหลุดจากกามคุณ ๕ ได้ หากโชคดีก็จบกิจเลย |
๑๔๗. งานใดที่ทำอยู่พึงคิดว่า งานนั้นเป็นกรรมฐาน เห็นธรรมภายนอก ก็น้อมเข้ามาเป็นธรรมภายใน ให้เห็นไตรลักษณ์ เห็นทุกข์ในงานนั้น ๆ พิจารณาเข้าหาอริยสัจ อันเป็นตัวปัญญาสูงสุดในพุทธศาสนา |
๑๔๘. ให้สังเกตอายตนะสัมผัสกระทบให้มาก แล้วดูอารมณ์จิตที่ไหวไปตามอายตนะนั้นด้วยปัญญา คือรู้เท่าทันกองสังขารแห่งกายและจิต ชื่อว่าปัญญา จงอย่าเผลอในธรรมสัมผัสที่เกิดจากทวารทั้งหก |
๑๔๙. หมั่นพิจารณากายคตานุสติ กับอสุภกรรมฐานเข้าไว้ เพื่อเตือนสติให้รู้เท่าทันสภาวะร่างกายของตน จักได้คลายอารมณ์เกาะติดรูปในยามที่ถูกกระทบ จุดนี้สำคัญ จักต้องใช้ปัญญาพิจารณาจริงจัง จึงจักวางได้ |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 23:31 |
ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน
เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.