![]() |
๑๒๑. หากจิตเกาะงานทางโลก ตายแล้ว.. ตายอีก ก็ต้องกลับมาทำงานนั้นใหม่ อย่างไม่รู้จบ |
๑๒๒. ถ้าไม่ฝืนความจริงเสียอย่างเดียว จิตก็สงบ วางอารมณ์ ยอมรับกฎของกรรมได้ หากทำได้ก็เรียกว่าเข้าถึงอริยสัจ จักพ้นทุกข์ได้ก็ที่ตรงนี้ |
๑๒๓. บุคคลใดใช้ปัญญาพิจารณากฎของกรรมตามความเป็นจริงแล้ว จักได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจ สามารถตัดสังโยชน์ได้ง่าย |
๑๒๔. กฎของกรรมหรืออริยสัจนั่นแหละ ตัวเดียวกัน ให้รู้ว่าโลกนี้เป็นทุกข์ โลกนี้ไม่เที่ยง ยึดถืออันใดมิได้ กฎของกรรมเกิดขึ้นมาได้เพราะเรายึดถือทุกข์ |
๑๒๕. หลักการของการปฏิบัติธรรม จักต้องรู้อารมณ์อยู่ตลอดเวลา ได้บ้าง ตกบ้าง ก็ไม่เป็นไร เพราะการกำหนดรู้อารมณ์ คือผลของการปฏิบัติ และผลจักเป็นของจริง ต้องถูกกระทบก่อนเสมอ แล้วจบลงที่ว่ามันทุกข์ มันเป็นอริยสัจ |
๑๒๖. ให้พิจารณาว่า อะไรเกิดขึ้นเป็นที่ขัดข้องแล้ว ล้วนแต่เป็นความทุกข์ทั้งสิ้น นี่คืออริยสัจหรือกฎของกรรม |
๑๒๗. บุญบารมีเต็ม คือรักษาไว้ซึ่งกำลังใจให้เต็ม อยู่ในการตัดสังโยชน์เป็นปกติ ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เอาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกรรมฐานหมด |
๑๒๘. จิตที่เย็นสนิท คือจิตที่พิจารณากฎของกรรม แล้วยอมรับความเป็นจริงของขันธ์ ๕ โดยไม่ดิ้นรน |
๑๒๙. บุคคลใดที่ต้องการจักไปพระนิพพานในชาตินี้ บรรดาเจ้าหนี้เก่า ๆ ก็จักตามทวงตามเล่นงานอย่างไม่ลดละ หากทนไม่ได้ก็ไปไม่ได้ ต้องวางอารมณ์ยอมรับกฎของกรรมให้เป็นธรรมดาให้ได้ การพ่ายแพ้เป็นของธรรมดา แต่จงอย่าถอย จิตก็จักไม่ดิ้นรนมาก ไม่ช้าไม่นาน กฎของกรรมก็จักคลายตัวไปเอง |
๑๓๐. ทุกอย่างที่ทำให้จิตมีอารมณ์กังวลอยู่ ล้วนแต่เกี่ยวเนื่องด้วยการเกาะติดขันธ์ ๕ ทั้งสิ้น เช่น เศรษฐกิจไม่ดี, การเจ็บป่วย ต้นเหตุ เพราะจิตไม่ยอมรับนับถือกฎของกรรม |
๑๓๑. ใช้ทุกขเวทนาให้เป็นประโยชน์ เอาทุกข์นั่นแหละ สอนจิตให้ยอมรับความไม่เที่ยงของโลก และขันธโลก (ร่างกาย) ทุกขสัจหรือทุกข์กาย ต้องกำหนดรู้จึงจักรู้ว่าเป็นทุกข์ แล้วลงตัวธรรมดา ว่ามันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้เอง ไม่มีใครฝืนได้ |
๑๓๒. การเจ็บป่วยจึงเป็นของดี จักได้ไม่ประมาทในความตาย เพราะไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้ รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน เป็นทางลัดเข้าสู่พระนิพพานได้ง่าย ๆ |
๑๓๓. การรู้เป็นเพียงแค่เข้าใจเท่านั้น ของจริงอยู่ที่ผลของการปฏิบัติ การรู้คือมรรค การปฏิบัติเพื่อตัดโกรธ-โลภ-หลง คือผล |
๑๓๔. จิตฟุ้งอยู่ในสัญญา เพราะมัวไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่น จิตชอบจำแต่ความเลวของผู้อื่น อันเป็นภัยที่กลับมาทำร้ายจิตตนเองให้เศร้าหมอง ขาดเมตตากับกรุณาจิตตนเอง ชอบจุดไฟเผาตนเอง |
๑๓๕. ฟุ้งเลว ให้แก้ที่ฟุ้งดี จำเลวให้แก้ที่จำดี ฟุ้งออกนอกตัวเป็นกิเลส ฟุ้งอยู่กับตัวเป็นพระธรรม หากฟุ้งเข้าหาอริยสัจ เข้าหาพระธรรมเป็นธัมมวิจัย.. ไม่ใช่นิวรณ์ |
๑๓๖. ฟุ้งเรื่องอะไร ให้พยายามแก้เรื่องนั้น โดยใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา หากแก้ไม่ไหว จงใช้อานาปานุสติเข้าระงับจิตให้สงบ แล้วจึงใช้อริยสัจ ธรรมของตถาคตต้องหยุดอารมณ์จิตให้สงบก่อน จึงจักเห็นการเคลื่อนไหวของกิเลสได้ตามความเป็นจริง |
๑๓๗. จิตของผู้มีปัญญา จักเป็นจิตที่รู้เท่าทันความจริงในอริยสัจอยู่เสมอ พระอรหันต์ท่านทรงอธิปัญญา ก็อยู่ที่ตรงนี้ |
๑๓๘. อย่าหนีความโกรธ เพราะเป็นกิเลสที่ต้องละด้วยสมถะและวิปัสสนา (กสิณ ๔ และพรหมวิหาร ๔) ให้คิดว่าคือครูทดสอบอารมณ์จิต จึงต้องแก้ที่จิตตน อย่าไปแก้ที่บุคคลอื่น |
๑๓๙. พุทธานุสติอย่าทิ้งไปจากจิต เมื่อรู้ว่าอารมณ์โทสะจริตยังเด่นอยู่ จงอย่าทิ้งพระ อย่าไปไหนคนเดียว อย่าอยู่คนเดียว ให้อยู่กับพระ พระอรหันต์ทุกองค์ท่านยังไม่ทิ้งพระ แล้วเราเป็นใคร |
๑๔๐. การพิจารณาร่างกายอยู่เสมอ เป็นอุบายไม่ให้จิตส่งออกนอกกาย เป็นวิปัสสนาญาณที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา เป็นอริยสัจ ให้ดูอาการของจิต ที่เกาะติดร่างกายนี้ว่าเป็นเราเป็นของเรา นี้แหละเป็นสำคัญ |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:44 |
ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน
เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.