![]() |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1336397210 ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ มหาธรรมปาลชาดก ว่าด้วยเหตุที่ไม่ตายในวัยหนุ่ม พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1336471160 ผลไม้ที่สุกแล้ว ก็พลันแต่จะหล่นลงเป็นแน่ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็พลันแต่จะตายเป็นแน่ ฉันนั้น ทสรถชาดก ว่าด้วยผู้มีปัญญาย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เสียไปแล้ว พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1336560255 บุคคลผู้มีศีล ย่อมเป็นที่รักของญาติทั้งหลาย และรุ่งเรืองในหมู่มิตร เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติ สีลวีมังสชาดก พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1336651677 บุคคลพึงอดทนถ้อยคำของคนผู้ประเสริฐกว่าได้ เพราะความกลัว พึงอดทนถ้อยคำของคนที่เสมอกันได้ เพราะการแข่งขันเป็นเหตุ ส่วนผู้ใดในโลกนี้ พึงอดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนของผู้นั้นว่าสูงสุด สรภังคชาดก สรภังคดาบสเฉลยปัญหา พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1336736902 บุตรผู้เป็นบัณฑิต พึงนอบน้อมและสักการะมารดาบิดาทั้ง ๒ นั้น ด้วยข้าว น้ำ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรนั้น ด้วยการบำรุงในมารดาบิดาในโลกนี้ ครั้นบุตรนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ โสณนันทชาดก เรื่องพระราชาไปขอขมาโทษโสณดาบส พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1336903015 ผู้ใดย่อมทำบาปด้วยความสำคัญว่าเราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และครั้นกระทำแล้วก็ไม่สะดุ้งกลัวต่อชนเหล่าอื่น ผู้นั้นย่อมไม่เป็นอยู่ตลอดอายุยืนยาว เพราะกรรมนั้น แม้เทวดาก็มองดูผู้นั้นด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม อุมมาทันตีชาดก เสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1336995988 ใจจดจ่ออยู่ในบุคคลใด แม้บุคคลนั้นจะอยู่ไกลก็เหมือนกับอยู่ใกล้ ใจเหินห่างจากบุคคลใด แม้บุคคลนั้นจะอยู่ใกล้ก็เหมือนกับอยู่ไกล ชวนหังสชาดก รักกันอยู่ไกลก็เหมือนอยู่ใกล้ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...0&d=1337078900 หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ ความจน ๑ เจ็บกระเสาะกระแสะ ๑ เป็นคนแก่ ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นคนโง่ ๑ เป็นคนมัวเมา ๑ คล้อยตามในกิจทุกอย่าง ๑ ไม่ก่อสิ่งปรารถนาทุกอย่างให้เกิดขึ้น ๑ กุณาลชาดก ว่าด้วยนางนกดุเหว่า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1337165693 แม่น้ำที่เต็มฝั่งย่อมไม่ไหลไปสู่ที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่กลับมาสู่ความเป็นเด็กอีก ฉันนั้น แม่น้ำที่เต็มฝั่งย่อมพัดพาเอาต้นไม้ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้หักโค่นไป ฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป ฉันนั้น มหานิบาตชาดก เตมิยชาดก พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1337245298 หยาดน้ำย่อมไม่ติดในใบบัว วารีย่อมไม่ติดในดอกบัว ฉันใด มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ ฉันนั้น ชราสุตตนิทเทสที่ ๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1337339981 ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ผู้นั้นพึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น บุคคลไม่หวั่นไหวเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙ ว่าด้วยเมถุนธรรม พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1337426513 โลกถูกชราและมรณะเผาแล้วอย่างนี้ บุคคลพึงนำออกเสียด้วยการให้ทาน ทานที่ให้แล้วจะน้อยก็ตามมากก็ตาม ชื่อว่าเป็นอันนำออกดีแล้ว อาทิตตชาดก ว่าด้วยการให้ทานกับการรบ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1337510898 กรรมชั่วอันบุคคลทำด้วยตนเองแล้ว จักเศร้าหมองด้วยตนเอง กรรมชั่วอันบุคคลไม่ทำด้วยตนเองแล้ว ย่อมบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน ผู้อื่นจะช่วยชำระผู้อื่นให้บริสุทธิ์หาได้ไม่ โธตกมาณวกปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของท่านโธตกะ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...7&d=1337602820 สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นความสุข มหาสุทัสสนสูตร พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1337691063 ดูกรภัคควะ...เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับได้เฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์ ปาฏิกสูตร พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๓ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1338001477 พระราชาเหล่าใด ทรงยินดีแล้วในทศพิธราชธรรม อันพระอริยเจ้าประกาศไว้ พระราชาเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐด้วยกาย วาจา และใจ สุมังคลชาดก ว่าด้วยคุณธรรมของกษัตริย์ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1338130621 ดูกรสารีบุตร....เราย่อมสำเร็จการนอนแอบอิงกระดูกศพในป่าช้า พวกเด็กเลี้ยงโคเข้ามาใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลายรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดแล้ว โปรยฝุ่นรดบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่องหูบ้าง เราไม่รู้สึกว่า ยังจิตอันลามกให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย ดูกรสารีบุตร...นี้แหละเป็นวัตรในการอยู่ด้วยอุเบกขาของเรา มหาสีหนาทสูตร พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1338207694 ดูกรภิกษุทั้งหลาย...ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นคนสงบเสงี่ยมจัด เป็นคนอ่อนโยนจัด เป็นคนเรียบร้อยจัด ได้ก็เพียงชั่วเวลาที่ยังไม่ได้กระทบด้วยคำอันไม่เป็นที่พอใจเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย...ก็เมื่อใดเธอกระทบถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจเข้า ก็ยังเป็นคนสงบเสงี่ยม อ่อนโยนเรียบร้อยอยู่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย.....เมื่อนั้นแหละ ควรถือว่าเธอเป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนอ่อนโยน เป็นคนเรียบร้อยจริง โอปัมมวรรค กกจูปมสูตร พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1338289312 สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว จูฬตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ |
1 Attachment(s)
http://www.watthakhanun.com/webboard...1&d=1338463433 ดูกรราหุล...แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมใดด้วยใจ เธอก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้นแหละว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ ภิกขุวรรค จูฬราหุโลวาทสูตร พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:53 |
ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน
เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.