กระดานสนทนาวัดท่าขนุน

กระดานสนทนาวัดท่าขนุน (https://www.watthakhanun.com/webboard/index.php)
-   ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน (https://www.watthakhanun.com/webboard/forumdisplay.php?f=21)
-   -   ญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์ (https://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=3286)

ลัก...ยิ้ม 04-10-2012 11:19

มารกระซิบ

การภาวนาอยู่โดยลำพังคนเดียววัน ๆ หนึ่ง ท่านไม่พูดคุยกับใครเลย ถ้าไม่ออกฉันข้าววันใด ก็ไม่พบเห็นใครทั้งสิ้น จึงไม่มีสิ่งใดมารบกวน ยุ่งเกี่ยวในการประกอบความเพียรของท่านตลอด เว้นแต่เวลาหลับ แม้อย่างนั้น บางวันพยายามต่อสู้อย่างหนัก จิตก็ยังลงไม่ได้เลย บางทีกิเลสก็กล่อมเอาบ้างเหมือนกันว่า

“...โธ่!! มาอยู่อย่างนี้ .. เหมือนคนสิ้นท่า ไม่มีคุณค่ามีราคาอะไรเลย โลกสงสารเขาก็อยู่ได้สะดวกสบาย สนุกสนาน ไม่ต้องมารับความทุกข์ทรมานเหมือนเรา ซึ่งเปรียบเหมือนคนสิ้นท่านี่ ทำไมจึงต้องมาทรมานอยู่ในป่าในรกกับสัตว์กับเสืออย่างนี้ ไม่มีคุณค่าราคาอะไร...”


ความคิดเช่นนี้ ทำให้ท่านรู้สึกท้อถอยน้อยใจ และอ่อนความเพียรลงไปบ้างเหมือนกัน ท่านเล่าว่า กิเลสมารมันคอยแอบกระซิบ คอยสอดแทรกอยู่ตลอดทั้ง ๆ ที่ก็พยายามทำความเพียรอยู่อย่างนั้น ดังนี้

“...วันหนึ่งเรายังไม่ลืม เราไม่ได้ดูนาฬิกา ก็นั่งภาวนาจะไปดูนาฬิกาอะไร มันคงประมาณหกทุ่มหรือตีหนึ่ง มันดึกจริง ๆ นะวันนั้น จิตมันยังลงไม่ได้ ... ก็พอดีเขามีลำกัน ทางภาคอีสานเขาเรียกลำ ลำยาวข้ามทุ่งนาไปจากบ้านนามน


เขามาเที่ยวสาวบ้านนามน เขาอยู่บ้านโพนทอง ด้านตะวันออกวัดบ้านนามนโน้นน่ะ เขาลำยาวไปตามทุ่งนา ฟังอาการเขาร้องเพลง เขาลำยาวเพลงภาคนี้ จิตมันยังวิตกขึ้นมาได้ในขณะนั้น

‘โอ้.. เขายังมีความสนุกสนานรื่นเริง เดินขับลำทำเพลงตัดทุ่งนาไปอย่างเพลิดเพลิน ไม่มีความทุกข์กายทรมานใจเหมือนเรา ไอ้เรานี้กำลังตกนรกทั้งเป็น... ไม่มีใครที่จะทุกข์ยิ่งกว่าเรา คนในโลกนี้ กำลังตกนรกทั้งเป็นอยู่เวลานี้’…”


ความคิดปรุงดังกล่าวมีขึ้นขณะได้ยินเสียงลำเพลงอยู่นั้น แต่แล้วท่านก็หวนรำลึกเป็นธรรมขึ้นมาแก้ในทันทีว่า

“...อันรื่นเริงบันเทิงแบบนี้เราเคยเป็นมาแล้ว ทุกข์แบบนี้เราเคยเป็นมาแล้ว เราเคยตกนรกทั้งเป็นกับกิเลส ตกนรกทั้งตายกับกิเลสมากี่กัปกี่กัลป์แล้ว นี่เราจะตะเกียกตะกายตนให้พ้นจากนรกของกิเลส เราจะถอนตัวของเราด้วยความพากเพียรเพื่อความพ้นทุกข์ ทำไมจึงเห็นว่าเป็นความทุกข์ ความลำบาก เราประกอบความเพียรหาอะไร ? หานรกอเวจีที่ไหน เวลานี้ยังจะอยากตกนรกกับเขาอยู่หรือ !..”


ท่านว่า มันคิดขึ้นปุ๊บแก้กันทันทีเลย จากนั้นไม่นานจิตก็สงบลงได้

ลัก...ยิ้ม 05-10-2012 11:24

จิตตั้งหลักได้

หลังจากได้รับอุบายอันแยบคายจากหลวงปู่มั่น ท่านจึงนำมาตั้งเป็นข้อสังเกตขึ้น แล้วเร่งความเพียร นำคำบริกรรมพุทโธมากำกับจิตทุกเวลา ไม่ว่าเข้าสมาธิออกสมาธิ ไม่ว่าจะที่ไหน อยู่ที่ใดหรือทำกิจวัตรต่าง ๆ จะไม่ยอมให้สติพลั้งเผลอจากคำบริกรรมนั้นเลย ทำให้เริ่มรู้ถึงเรื่องราวภาวะเสื่อมของจิตได้อย่างชัดเจน ดังนี้

“...คราวนี้เราจะตั้งใหม่ คราวนี้เอาคำบริกรรมเป็นหลัก ไม่ได้กำหนดเอาเฉพาะความรู้เหมือนแต่ก่อน ซึ่งเจริญขึ้นแล้วเสื่อมลง ๆ เหมือนว่าตั้งต้นใหม่ ตั้งแต่บัดนี้ต่อไป.. เราจะภาวนาด้วยบทคำบริกรรมคือพุทโธ เราชอบพุทโธ นิสัยผมกลมกลืนกับพุทโธมาดั้งเดิม ก็ตั้งกำหนดกฎเกณฑ์ให้ใหม่ ทีนี้จะบริกรรมด้วยพุทโธ แต่สำหรับนิสัยเรานี้รู้สึกว่าเป็นคนจริงจังมากตลอดมา พอว่าตั้งกับคำว่าพุทโธก็เหมือนทำสัตยาบันสัญญากันเลย จะเคลื่อนเป็นอื่นไปไม่ได้ กับคำว่าพุทโธจะต้องตั้งกันตลอดเวลา ไม่ว่าอิริยาบถใดจะไม่ยอมให้เผลอจากคำว่าพุทโธนี้เลย.. ตั้งตลอด ตั้งแต่ตื่นนอน ตั้งไม่ให้เผลอ ควบคุมกันตลอดเวลา ทุกข์ก็ให้อยู่กับพุทโธ สุขก็ให้อยู่กับพุทโธ


‘เอ้า! มันจะเสื่อมไปถึงไหนก็ให้มันเสื่อม มันจะเจริญก็ตามที เพราะความเสื่อมความเจริญนี้.. เรามันเคยมาพอแล้ว จนอิดหนาระอาใจต่อความเสื่อมความเจริญ คราวนี้มันจะเสื่อมให้เสื่อมไป เจริญก็เจริญไป จะไม่ถือเอาเป็นอารมณ์ยิ่งไปกว่าการบริกรรมด้วยความมีสติ ไม่ปล่อยวางนี้เท่านั้น’

จึงได้ปักลงตรงนั้น แล้วปักจริง ๆ นะ เอาอยู่กับนั้นเลย.. จะเจริญก็ตาม เสื่อมก็ตามไม่เอามาเป็นอารมณ์ เพราะเราเคยเป็นอารมณ์นี้ แล้วก็สร้างความทุกข์ร้อนให้เรามามากขนาดไหน.. ปล่อยเลย เมื่อภาวนาเข้าไป ๆ พุทโธเข้าไป พุทโธเข้าไป บังคับจิตตลอดเวลา สุดท้ายจิตที่เคยเสื่อมเคยเจริญ..มันก็ไม่เสื่อม ค่อย ๆ เจริญขึ้น ค่อยสงบเย็นใจ เข้าไป ๆ ปักเข้าไปเรื่อย ๆ ไม่ถอย จนกระทั่งจิตสงบ

ถึงบางครั้งนี้บริกรรมไม่ได้นะ คือจิตมันละเอียด สงบเข้าไปจนถึงขั้นละเอียด นึกคำบริกรรมไม่ออกเลย คือหมดจริง ๆ ปรุงขึ้นมาไม่มีเลย ไม่มีเลย เหลือตั้งแต่ความรู้ที่ละเอียดสุดอยู่ในนั้น.. ในจิตชั้นนี้ จนเกิดความงง ‘เอ๊ะ.. นี่จิตของเราบริกรรมมาตลอด คราวนี้คำบริกรรมก็ไม่มี บริกรรม ‘ยังไง’ ก็ไม่ปรากฏ ทำ ‘ยังไง’ ก็ไม่ปรากฏ เหลือแต่ความรู้สึกที่ละเอียด แล้วจะทำ ‘ยังไง’ ?..’ งง.. กลัวมันเสื่อมอีก จึงได้งง.!

ก็เลยได้สติ ‘เอ้า!..ถ้าหากว่าคำบริกรรมมันหายไป เอ้า!..ให้หายไป แต่กับความรู้อันนี้จะไม่หาย สติจะจับเข้าอยู่กับความรู้อันนี้ จนกว่าบริกรรมได้เมื่อไรจะบริกรรมทันที’ จิตก็ปักอยู่กับความรู้

พอได้จังหวะความรู้ที่ปรุงไม่ได้นี้ มีแต่ความละเอียด รู้อย่างละเอียด ๆ มันก็ค่อยคลี่คลายตัวออกมาเรียกว่ามันถอยออกมา คำบริกรรม..บริกรรมได้ เอาคำบริกรรมติดเข้าไปอีกเลยตลอด อย่างนี้เป็นพัก ๆ พอถึงชั้นมันละเอียดจริง ๆ หมดคำบริกรรม.. หายเลย จับอันนั้นไว้ตามเดิม ๆ ต่อไปมันก็ค่อยละเอียดขึ้น ๆ จนถึงขั้นที่มันเคยเจริญแล้วเสื่อม ๆ ไปถึงนั้นแล้ว

‘เอ้า!...เสื่อมไป อยากเสื่อมก็เสื่อมไป เราไม่เป็นกังวลกับความเสื่อมความเจริญ เพราะเคยเป็นมาแล้วไม่ได้ผลอะไรเลย แต่เราจะไม่ปล่อยคำบริกรรมนี้ตลอดไป’

เอากันตลอด มันก็ขึ้นไปเรื่อย ๆ ๆ พอถึงชั้นมันจะเสื่อม มันก็ไม่เสื่อม

ทีนี้ก็ก้าวขึ้นเรื่อย ๆ อ๋อ..ที่นี้ถูกแล้ว จับได้แล้วนะ จากนั้นก็ย้ำคำบริกรรมเข้าไป จนกระทั่งจิตมีความแน่นหนามั่นคง ‘ปึ๋ง ๆ’ เอาละทีนี้ เราจะจับเอาจุดแห่งความแน่นหนามั่นคง ซึ่งเป็นจุดผู้รู้อย่างเด่นชัดนี้ด้วยสติอีก.. เอาสติจับตรงนั้น ไม่ปล่อยอีก เช่นเดียวกับคำบริกรรมพุทโธ ไม่ปล่อยไม่วางเช่นเดียวกัน จิตก็ละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไป จนกระทั่งปล่อยเองนะ .. คำบริกรรม เมื่อถึงขั้นที่จะปล่อยแล้วมันปล่อยเอง มีแต่ความรู้เด่น อยู่กับความรู้นั้นด้วยสติ ๆ ตลอดไปเลย ...

นี่ทำจริงจังไม่ได้ทำเล่น ไม่ว่าอะไรก็ตาม บิณฑบาตในหมู่บ้านไม่ยอมให้เผลอเลย เดินจงกรมไปตลอด เขาใส่บาตร ไม่ทราบเขาใส่อะไร ? ไม่ได้สนใจ มีแต่คำบริกรรมพุทโธ ๆ ตลอดทั้งไปทั้งกลับ ทั้งขบทั้งฉัน กระดิกพลิกแพลงไปไหน คำบริกรรมจะไม่ปล่อยเลย นี่เรียกว่าบริกรรมโดยแท้ จนกระทั่งจิตมันตั้งได้แล้วก็เข้าอยู่ในสมาธิ มันถึงแน่นหนามั่นคง พอถึงขั้นแน่นหนามั่นคงจริง ๆ ...”

ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ตั้งคำบริกรรมมาเป็นลำดับ ไปไหนมาไหนอยู่ที่ใด เป็นกับตายจะไม่ยอมให้เผลอจากพุทโธ แม้จิตจะเสื่อมไปไหนก็ให้รู้กันที่นี่เท่านั้น ไม่ยอมรับรู้ไปทางอื่น จิตก็เลยตั้งหลักลงได้เพราะคำบริกรรมคือพุทโธ

ลัก...ยิ้ม 08-10-2012 12:20

หักโหมความเพียรเต็มเหนี่ยว

ท่านเริ่มหักโหมความเพียรมาตั้งแต่เดือนเมษายน และพฤษภาคมก่อนเข้าพรรษาปีนั้น หลังจากหลวงปู่มั่นเสร็จงานเผาศพหลวงปู่เสาร์แล้ว (๑๕-๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖) ท่านก็ไปรับหลวงปู่มั่นมาด้วยกัน และเดินทางจากพระธาตุพนมเข้ามาจำพรรษาที่บ้านนามน จังหวัดสกลนคร นับเป็นพรรษาที่ ๒ ของการไปศึกษาอยู่กับหลวงปู่มั่น และเป็นพรรษาที่ ๑๐ ของการบวช

ในพรรษานี้ ท่านเร่งความเพียรอย่างเต็มเหนี่ยวยิ่งกว่าธรรมดา หักโหมทั้งร่างกายและจิตใจ กลางวันไม่นอน เว้นแต่วันที่นั่งสมาธิตลอดรุ่งวันนั้น จึงจะยอมให้พักกลางวันได้ ถ้าวันไหนทำความเพียรธรรมดา ๆ กลางวันท่านจะไม่ยอมพักเลย

“...กลางวันไม่นอน เดินจงกรม หมากพลูไม่แตะเลยในสามเดือน ทิ้งเลย ... แต่ก่อนไปที่ไหนมันมีหมากพูลเต็มไปหมดนี่ เขาเอามาถวายก็ฉันไปอย่างนั้นเอง ฉันมาเรื่อย ๆ...


การนั่งสมาธิตลอดรุ่งนี่มันของเล่นเมื่อไร ใครเก่งลองดูสิ จะได้รู้ว่านั่งแต่หัวค่ำจนกระทั่งตลอดรุ่งเป็นเวลา ๑๓-๑๔ ชั่วโมงเป็นอย่างไรบ้าง บางวันนั่งจนกระทั่งถึงเวลาบิณฑบาต เพราะอยู่กับหมู่กับเพื่อน.. ถ้าอยู่คนเดียวยังไม่ออกอีกนะ จะกี่ชั่วโมงไม่รู้นะ แต่นี่ (มีข้อวัตร) เกี่ยวกับครูกับอาจารย์ ...”

ท่านกล่าวถึงสมาธิกับการพิจารณาในขณะเกิดทุกขเวทนา ดังนี้

“สมาธิเริ่มแน่นไม่เสื่อมอีกมาแต่เดือนเมษายน แต่นี่ไม่เกี่ยวกับสมาธิ แต่เป็นปัญญาในเวลาจนตรอก มันเป็นปัญญาสายฟ้าแลบ สติปัญญากับกิเลสราวกับมัดคอติดกัน ไม่ใช้ปัญญาได้ ‘ยังไง’ เวลามันจะตายมันจนตรอกจนมุม ก็ต้องใช้ปัญญาสิ เวลารู้ขึ้นมามันก็รู้ด้วยปัญญา


ความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจากการนั่งตลอดรุ่งนี้ เกิดจากผลของการพิจารณาทุกขเวทนา ในเรื่องนี้ท่านสอนพระเณรอย่างถึงใจ ดังนี้

“...ตอนที่เห็นความอัศจรรย์ ก็เห็นตอนภาวนาตลอดรุ่งตั้งแต่เริ่มคืนแรกเลย พิจารณาทุกขเวทนา แหม..มันทุกข์แสนสาหัสนะ ทีแรกก็ไม่นึกว่าจะนั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่ง... ตอนจะนั่งภาวนาได้ตลอดรุ่งนั้นก็จากนี่แหละ ทีนี้เริ่มนั่งกำหนด กำหนดลงไป ๆ ทีแรกใจก็ลง เพราะมันเคยลง มันลงได้ง่ายเรียกว่ามีหลักมีฐานอันดี กำหนดการภาวนาลงไป เมื่อเวทนาอันใหญ่หลวงยังไม่เกิด ภาวนามันก็สงบดี พอถอยขึ้นมาก็เป็นเวลาหลายชั่วโมง เวทนาใหญ่ก็เกิดขึ้น และเกิดขึ้นจนจะทนไม่ไหว ใจที่เคยสงบนั้นก็ล้มไปหมด ฐานดี ๆ นั้นล้มไปหมด เหลือแต่ความทุกข์เต็มในส่วนร่างกาย แต่จิตใจไม่ร้อน.. ชอบกล

ลัก...ยิ้ม 09-10-2012 11:26

ร่างกายทุกข์มาก สั่นไปหมดทั้งตัวนี่แหละ ตอนที่ได้เข้าตะลุมบอนกันในเบื้องต้นแห่งเหตุที่จะได้อุบายสำคัญขึ้นมา ตอนทุกขเวทนากล้าสาหัสเกิดขึ้นโดยไม่คาดไม่ฝัน คืนวันนั้นก็ยังไม่ได้ตั้งใจว่าจะนั่งจนตลอดรุ่งนะ เราไม่ได้ตั้งสัจอธิษฐานอะไรเลย นั่งภาวนาธรรมดา ๆ แต่เวลาทุกขเวทนาเกิดขึ้นมามาก... พิจารณา‘ยังไง’ก็ไม่ได้เรื่อง

‘เอ๊ะ! มัน‘ยังไง’กันนี่ว่ะ เอ้า!..วันนี้ตายก็ตาย เราจะต้องสู้ให้เห็นเหตุเห็นผลกับเวทนานี้เสียวันนี้’ เลยตั้งสัจอธิษฐานในขณะนั้น เริ่มนั่งตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงสว่างถึงจะลุก


‘เอ้า!.. เป็นก็เป็น ตายก็ตาย ถ้าไม่ถึงเวลาลุกจะไม่ลุกจริง ๆ ...เอ้า! .. สู้กันจนถึงสว่างเป็นวันใหม่ วันนี้จะพิจารณาทุกขเวทนาให้เห็นแจ้ง เห็นชัดกันสักที ถ้าไม่เห็น.. แม้จะตายก็ให้มันตายไป ให้รู้กัน ขุดกันลงไป ค้นกันลงไป’

นี่แหละ ตอนปัญญาเริ่มทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง ... เวลานั่งก็ไม่ให้มีข้อแม้ใด ๆ เช่น ปวดหนักปวดเบา อยากถ่ายถ่ายไป ถ่ายไปแล้ว..เราจะล้างไม่ได้หรือ ล้างไม่ได้อย่าอยู่ให้หนักศาสนา ตายเสียดีกว่า เพราะฉะนั้น จึงไม่มีข้อแม้... แต่มันก็ไม่เคยปวดถ่ายนะ เรื่องปวดเบานี่ไม่มีหละ เพราะจีวรมันเปียกหมด เปียกเหมือนเราซักผ้าจริง ๆ นะ ไม่ใช่ธรรมดา... เปียกหมดตัวเลยเพราะมันจะตาย

มันไม่ใช่เหงื่อละ ภาษาอีสานเขาเรียกยางตาย อันนี้มันจะไปปวดเบาที่ตรงไหน เหงื่อมันออกหมด ส่วนการถ่ายหนักนั้นมันอาจเป็นได้ แต่ที่ผ่านมานี้มันก็ไม่เห็นเป็นอะไรนี่ หากเป็นขึ้นมาจริง ๆ ก็เอาจริง ๆ นี่ ขนาดนั้น... เราไม่ทราบ ไม่คาดไม่ฝันว่าปัญญาจะมีความแหลมคม เวลามันจะจนตรอกจนมุม ไม่มีทางออกจริง ๆ ปัญญาก็หมุนติ้วเลย ปัญญาออกขุดค้น สู้กันแบบไม่ยอมถอยทัพกลับแพ้เลย เวลาจนตรอก..ปัญญาเกิด จึงทำให้เข้าใจว่า คนเราไม่ใช่จะโง่อยู่เรื่อยไป เวลาจนตรอกย่อมหาวิธีช่วยตัวเองจนได้ นี่ก็เหมือนกัน พอจนตรอกเพราะทุกขเวทนากล้าครอบงำ สติปัญญาค้นเข้าไปถึงทุกขเวทนา เมื่อเวทนาเกิดขึ้นมาก ๆ เช่นนี้ มันเป็นไปหมดทั้งร่างกาย ทีแรกมันก็ออกร้อนตามหลังมือหลังเท้า ซึ่งไม่ใช่เวทนาใหญ่โตอะไรเลย

ลัก...ยิ้ม 10-10-2012 09:50

เวลามันใหญ่โตจริง ๆ เกิดขึ้นมา ร่างกายเป็นไฟไปหมด กระดูกทุกท่อนทุกชิ้นที่ติดต่อกัน เป็นฟืนเสริมไฟในร่างกายทุกส่วน เหมือนมันจะแตกไปเดี๋ยวนั้น..! กระดูกต้นคอมันก็จะขาด กระดูกทุกท่อนทุกชิ้นที่ติดต่อกันมันก็จะขาด หัวจะขาดตกลงพื้นในขณะนั้น เวลาเป็นทุกข์อะไร ๆ ก็พอ ๆ กัน และทั่วไปหมดทั้งร่างกายนี้ ไม่ทราบจะไปยับยั้งพอหายใจได้ที่ตรงไหน ก็มีแต่กองไฟคือความทุกข์มาก ๆ ทั้งสิ้น

เมื่อหาที่ปลงใจไม่ได้ สติปัญญาก็ขุดค้นลงไปที่ทุกขเวทนานั้น โดยหมายเอาจุดที่มันทุกข์มากกว่าเพื่อน อันไหนที่มันเป็นทุกข์มากกว่าเพื่อน สติปัญญาพิจารณาขุดค้นลงที่ตรงนั้น โดยแยกทุกขเวทนาออกให้เห็นชัดเจนว่า เวทนานี้เกิดมาจากไหน ใครเป็นทุกข์ ถามสกนธ์กายส่วนต่าง ๆ อาการต่าง ๆ ต่างอันต่างเป็นอยู่ตามธรรมชาติ หนังก็เป็นหนัง เนื้อก็เป็นเนื้อ เอ็นก็เป็นเอ็น ฯลฯ มีมาแต่วันเกิด ไม่ปรากฏว่ามันเป็นทุกข์มาตั้งแต่วันเกิด ติดต่อกันมาเหมือนเนื้อหนังที่มีอยู่ตั้งแต่วันเกิดนี้ ส่วนทุกข์เกิดขึ้นและดับไปเป็นระยะ ๆ ไม่คงอยู่เหมือนอวัยวะเหล่านั้นนี่


กำหนดลงไป อวัยวะส่วนไหนซึ่งเป็นรูป อันนั้นก็จริงของมันอยู่อย่างนั้น ทุกขเวทนาขณะนี้มันเกิดอยู่ตรงไหน ? ถ้าว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเวทนาทั้งหมด ทำไมมันจึงมีจุดเดียวที่มันหนักมาก ! แน่ะ.. แยกมันออกไป สติปัญญาตอนนั้น หนีไปไหนไม่ได้แล้ว ต้องวิ่งอยู่ตามบริเวณที่เจ็บปวด และหมุนติ้วรอบตัว แยกเวทนากับกาย ดูกายแล้วดูเวทนา ดูจิต มีสามอย่างนี้เป็นหลักใหญ่

จิตก็เห็นสบายดีนี่ ถึงทุกขเวทนาจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงไร จิตก็ไม่เห็นทุรนทุราย .. เกิดความเดือดร้อนระส่ำระสายอะไรนี่ ! แต่ความทุกข์ในร่างกายนั้นชัดว่าทุกข์มาก มันก็เป็นธรรมดาของทุกข์และกิเลสที่มีอยู่ มันต้องเข้าประสานกัน ไม่เช่นนั้น จิตจะไม่เกิดความเดือดร้อน หรือกระทบกระเทือนไปตามทุกขเวทนาทางกายที่สาหัสในขณะนั้น ปัญญาขุดค้นลงไป จนกระทั่งกายก็ชัด เวทนาก็ชัด จิตก็ชัด ตามความจริงของแต่ละอย่างละอย่าง

จิตเป็นผู้ไปหมาย ไปสำคัญเวทนาว่าเป็นนั้นเป็น นี้ก็รู้ชัด พอมันชัดเข้าจริง ๆ เช่นนั้นแล้ว เวทนาก็หายวูบไปเลย ในขณะนั้น กายก็สักแต่ว่ากาย จริงของมันอยู่อย่างนั้น เวทนาก็สักแต่เวทนา และหายวูบเข้าไปในจิต ไม่ได้ไปที่อื่นนะ พอเวทนาหายวูบเข้าไปในจิต จิตก็รู้ว่าทุกขเวทนาดับหมด ทุกขเวทนาดับหมดราวกับปลิดทิ้ง นอกจากนั้น กายก็หายหมดในความรู้สึก ขณะนั้น กายไม่มีในความรู้สึกเลย เหลือแต่ความรู้ล้วน ๆ เพราะยังเหลืออยู่อันเดียว คือความรู้และเพียงสักแต่ว่ารู้เท่านั้น จิตละเอียดมาก แทบจะพูดอะไรไม่ได้เลย สักแต่ว่ารู้ เพราะละเอียดอ่อนที่สุดอยู่ภายใน...ร่างกายหายหมด เวทนาหายหมด เวทนาทางร่างกายไม่มีเหลือเลย ร่างกายที่กำลังนั่งภาวนาอยู่นั้นก็หายไปหมดในความรู้สึก เหลือแต่ความสักแต่ว่ารู้ จะคิดจะปรุงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่มี ขณะนั้นจิตไม่คิดปรุงเลย ถ้าไม่ปรุงก็เรียกว่าไม่ขยับเขยื้อนอะไรทั้งนั้น จิตมันแน่ว คือแน่วอยู่โดยลำพังตนเอง เป็นจิตล้วน ๆ ตามขั้นของจิตที่รวมสงบ นี่ไม่ได้หมายถึงอวิชชาไม่มีนะ

ลัก...ยิ้ม 15-10-2012 11:03

อวิชชามันแทรกอยู่ในนั้นแหละ เพราะจิตยังไม่ถอนออกจากอวิชชา มันก็มีจิตกับอวิชชาที่สงบตัวอยู่ด้วยกัน เพราะอวิชชาไม่ออกทำงาน ขณะที่ถูกตีต้อนด้วยปัญญา.. อวิชชาก็หดตัว สงบลงไปแทรกอยู่กับใจ เหมือนตะกอนนอนก้นโอ่งฉะนั้น

ขณะนั้นเกิดความอัศจรรย์ขึ้นมา ทุกขเวทนาไม่เหลือ กายหายหมด สิ่งที่ไม่หายมีอันเดียวคือ ความรู้อันละเอียดที่พูดไม่ถูก คือสักแต่ว่าปรากฏเท่านั้น พูดนอกออกไปจากนั้นไม่ได้ สิ่งที่สักแต่ว่าปรากฏนั้นแล คือความอัศจรรย์ยิ่งในขณะนั้น ไม่ขยับเขยื้อนภายในจิตใจ ไม่กระเพื่อม ไม่อะไรทั้งหมด สงบแน่วอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งพอแก่กาลแล้วก็ขยับ คือใจเริ่มถอยออกมา และกระเพื่อม "แย็บ" แล้วหายเงียบไป การกระเพื่อมมันเป็นเองของมันนะ เราไปหมายไม่ได้ ถ้าไปหมายก็จะถอน คือจิตพอดิบพอดีของมันเอง การกระเพื่อม "แย็บ" อย่างนี้มันก็รู้ พอกระเพื่อม "แย็บ" มันก็ดับไปพร้อม สักประเดี๋ยวกระเพื่อม "แย็บ" อีก หายไปพร้อม แล้วค่อยถี่เข้า ถี่เข้า


นี่ละจิตเวลามันลงถึงฐานเต็มที่แล้ว ขณะที่จะถอนก็ไม่ถอนทีเดียว เรารู้ได้ชัดขณะนั้น มันค่อยกระเพื่อม คือ สังขารมันปรุง "แย็บ" ขึ้นมา.. หายเงียบไป ยังไม่ได้ความอะไร กระเพื่อม "แย็บ" แล้วดับไปพร้อม แล้วประเดี๋ยว "แย็บ" ขึ้นมาอีก ค่อย ๆ ถี่เข้า พอถี่เข้า ถึงวาระสุดท้ายก็รู้สึกตัว ถอนขึ้นมาเป็นจิตธรรมดา แล้วก็รู้เรื่องร่างกาย เวทนาก็หายเงียบ เวลาจิตถอนขึ้นมาแล้ว เวทนายังไม่มี ยังหายเงียบอยู่ก่อน จนกว่าจะถึงเวลาที่เวทนาจะเกิดขึ้นมาใหม่

ลัก...ยิ้ม 16-10-2012 10:56

นี่ได้หลักเกณฑ์ที่นี่และแน่ใจ เกิดความเข้าใจว่า ได้หลักในการต่อสู้กับเวทนาว่า

“อ๋อ...เป็นอย่างนี้เอง ทุกข์มันเป็นอันหนึ่งต่างหากแท้ ๆ กายเป็นอันหนึ่ง จิตเป็นอันหนึ่งต่างหาก แต่เพราะความลุ่มหลงอย่างเดียว จึงได้รวมทั้งสามอย่างมาเป็นอันเดียวกัน จิตเลยกลายเป็นความหลงทั้งดวง จิตก็เป็นผู้หลงทั้งดวง แม้ทุกขเวทนาจะเกิดตามธรรมชาติของมันก็ตาม แต่เมื่อยึดเอามาเผาเรา.. มันก็ร้อน เพราะความสำคัญนี้เองพาให้ร้อน


เมื่อนานพอสมควรแล้ว ทุกขเวทนาก็เกิดขึ้นอีก ‘เอาอีก ต่อสู้กันอีก ไม่ถอย’

ขุดค้นลงไปอีก อย่างที่เคยขุดค้นมาแล้วแต่หนก่อน แต่เราจะเอาอุบายที่เคยพิจารณาแก้ไขในระยะก่อน มาใช้ในปัจจุบันนี้ไม่ได้ มันต้องเป็นอุบายสติปัญญาคิดขึ้นมาใหม่ ผลิตขึ้นมาใหม่ ให้ทันกับเหตุการณ์ซึ่งเป็นเวทนาเหมือนกัน แต่อุบายวิธีก็ต้องให้เหมาะสมกันในขณะนั้นเท่านั้น เราจะไปยึดเอาอุบายวิธีที่เราเคยพิจารณารู้ครั้งนั้น ๆ มาแก้ไม่ได้ มันต้องเป็นอุบายสด ๆ ร้อน ๆ เกิดขึ้นในปัจจุบัน แก้กันในปัจจุบัน ใจก็สงบลงได้อีกอย่างแนบสนิทเช่นเคย ในคืนแรกนั้น ลงได้ถึง ๓ หน แต่สู้กันแบบตะลุมบอนถึง ๓ หน พอดีสว่าง

‘โอ๊ย...เวลาต่อสู้กันแบบใครดีใครอยู่ ใครไม่ดีใครไป ด้วยเหตุผลทางสติปัญญาจริง ๆ’


ใจเกิดความอาจหาญรื่นเริง ไม่กลัวตาย ทุกข์จะมีมากมีน้อยเพียงไร ก็เป็นเรื่องของมัน..ธรรมดา เราไม่เข้าไปแบกหามมันเสียอย่างเดียว ทุกข์มันก็ไม่เห็นมีความหมายอะไรในจิตเรา จิตมันรู้ชัด กายมันก็ไม่มีความหมายอะไรในตัวของมัน และมันก็ไม่มีความหมายในตัวเวทนา และมันก็ไม่มีความหมายในตัวของเราอีก นอกจากจิตไปให้ความหมายมัน แล้วก็กอบโกยทุกข์เข้ามาเผาตนเองเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นใดเข้ามาทำให้ใจเป็นทุกข์...”

ลัก...ยิ้ม 18-10-2012 11:49

การพิจารณาทุกขเวทนาใหญ่ในครั้งนั้น ทำให้ท่านทราบชัดเจนว่า จิตคนเราแม้ไม่เคยพิจารณา.. ปัญญายังไม่เคยออกแบบนั้น แต่เวลามันจนตรอกจนมุมจริง ๆ แล้ว.. ปัญญามันไหวตัวทันเหตุการณ์ทุกแง่ทุกมุม จนกระทั่งรู้เท่าทุกขเวทนา รู้เท่ากาย รู้เรื่องจิต ต่างอันต่างจริง มันพรากกันลงอย่างหายเงียบเลย ทั้ง ๆ ที่ท่านไม่เคยเป็นอย่างนั้นมาก่อน ปรากฏว่า.. กายหายในความรู้สึก ทุกขเวทนาดับหมด เหลือแต่ความรู้สึกที่สักแต่ว่ารู้ ไม่ใช่รู้เด่น ๆ ชนิดคาด ๆ หมาย ๆ ได้ คือสักแต่ว่ารู้เท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนที่สุดอัศจรรย์ที่สุดในขณะนั้น

ท่านเล่าว่า “พอถอนขึ้นมาก็พิจารณาอีก แต่การพิจารณา เราจะเอาอุบายต่าง ๆ ที่เคยพิจารณาแล้วมาใช้ขณะนั้น ..ไม่ได้ผล มันเป็นสัญญาอดีตไปเลย ต้องผลิตขึ้นมาใหม่ให้ทันกับเหตุการณ์ในขณะนั้น.. จิตก็ลงได้อีก คืนนั้นลงได้ถึง ๓ ครั้งก็สว่าง โอ๋ย...อัศจรรย์เจ้าของละซิ ..!!!”

ลัก...ยิ้ม 22-10-2012 10:48

ในคืนที่นั่งสมาธิตลอดรุ่งนั้น ท่านจะไม่ยอมให้มีการพลิกเปลี่ยนหรือขยับแข้งขาใด ๆ ทั้งสิ้นเลย ท่านเล่าถึงความเจ็บปวดที่ได้รับจากการนั่งตลอดคืนเช่นนั้นให้ฟังว่า

เหมือนกับก้นมันพองหมด กระดูกเหมือนจะแตกทุกข้อทุกท่อน กระดูกมันต่อกันตรงไหน หรือแม้แต่ข้อมือเหมือนมันจะขาดออกจากกัน ทุกขเวทนาความเจ็บปวดเวลาขึ้น มันขึ้นหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกแง่ทุกมุมในร่างกายเลย


การโหมความเพียรหลายต่อหลายครั้งเข้าเช่นนี้ ทำให้ก้นของท่านถึงกับพองและแตกเลอะเปื้อนใส่สบงเลยทีเดียว ดังนี้

“...หากวันไหนที่หักโหมกันเต็มที่แล้ว จิตไม่สามารถลงได้ง่าย ๆ วันนั้นมันแพ้ทางร่างกายมาก บอบช้ำมาก คือในเวลานั่ง จะแสบก้นเหมือนถูกไฟเผา ถึงขนาดต้องได้นั่งพับเพียบฉันจังหันเลยทีเดียว


แต่ถ้าวันไหนที่พิจารณาทุกขเวทนาติดปั๊บ ๆ เกาะติดปั๊บ ๆ วันนั้นแม้จะนั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่งเหมือนกันก็ตาม แต่กลับไม่มีอะไรชอกช้ำภายในร่างกายเลย พอลุกขึ้นก็ไปเลยธรรมดา ๆ เหมือนกับว่าเรานั่งแค่ ๓ - ๔ ชั่วโมงเป็นประจำตามความเคยชินนั้นเอง

ลัก...ยิ้ม 25-10-2012 11:05

รู้ทันเวทนาชัดประจักษ์ “ตาย”

พอถึงรุ่งเช้าเมื่อได้โอกาสอันเหมาะสม ท่านก็ขึ้นกราบเรียนหลวงปู่มั่น ซึ่งตามปกติ ท่านเองมีความเกรงกลัวหลวงปู่มั่นมาก แต่วันนั้นกลับไม่รู้สึกกลัวเลย เป็นเพราะอยากจะกราบเรียนเรื่องความจริงของท่านให้หลวงปู่มั่นได้รับทราบ และให้ท่านเห็นผลแห่งความจริงว่า ปฏิบัติมาอย่างไรจึงได้ปรากฏผลเช่นนี้ ท่านจึงพูดขึ้นมาอย่างอาจหาญแบบที่ไม่เคยพูดกับหลวงปู่มั่นอย่างนั้นมาก่อน ดังนี้

“...ทั้ง ๆ ที่เราพูดขึงขังตึงตังใส่เปรี้ยง ๆ ท่านก็คงจับได้เลยว่า


‘โหย..ทีนี้แหละ กำลังบ้ามันขึ้นแล้ว’

ท่านคง ‘ว่างั้น’ .. ‘มันรู้จริง ๆ’

ความหมายว่ามันรู้จริง ๆ เพราะเราพูดแบบไม่สะทกสะท้าน เล่าอะไร ๆ ให้ฟัง ท่านจะค้านเราตรงไหน ท่านก็ไม่ได้ค้าน มีแต่ ‘เออ..เอา’ พอเราจบลงแล้วก็หมอบลง ฟังท่านจะว่า ‘ยังไง’ ? ... ท่านก็ขึ้นเต็มเหนี่ยวเหมือนกันนะ ท่านรู้นิสัยบ้า ‘ว่างั้น’ นะ

มันต้องอย่างนี้ ‘เอ้า’ ทีนี้ได้หลักแล้ว ‘เอ้า’ ‘เอ้า’.. มันให้เต็มเหนี่ยว อัตภาพเดียวนี้มันไม่ได้ตายถึง ๕ หนนะ มันตายหนเดียวเท่านั้นนะ ทีนี้ได้หลักแล้ว เอาให้เต็มเหนี่ยวนะ’...

ว่าอย่างนั้นเลยเชียว ท่านเอาหนัก อธิบายให้ฟังจนเป็นที่พอใจ เราก็เป็นเหมือนหมาตัวหนึ่ง พอท่านยอบ้างยุบ้าง หมาเราตัวโง่นี้ก็ทั้งจะกัด ทั้งจะเห่า... มันพอใจ มันมีกำลังใจ ที่นี้จึงฟัดกันใหญ่...”

ลัก...ยิ้ม 29-10-2012 10:53

เมื่อได้กำลังใจจากหลวงปู่มั่นเช่นนี้ ท่านก็ยิ่งจริงจังเพิ่มขึ้นไปอีก คือพอเว้นคืนหนึ่งสองคืน ท่านก็นั่งตลอดรุ่งอีก และก็เว้น ๒-๓ คืนก็นั่งตลอดรุ่งอีก จนกระทั่งจิตเกิดอัศจรรย์เข้าใจชัดเจนเรื่องความตาย ดังนี้
“...เวลามันรู้จริง ๆ แล้ว แยกธาตุแยกขันธ์ดูความเป็นความตาย ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ...สลายตัวลงไปแล้วก็เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟตามเดิม อากาศธาตุก็เป็นอากาศธาตุตามเดิม ใจที่กลัวตายก็ยิ่งเด่น มันเอาอะไรมาตาย รู้เด่นขนาดนี้มันตายได้ ‘ยังไง’ ใจก็ไม่ตายแล้วมันกลัวอะไร ? มันโกหกกัน โลกกิเลสมันโกหกกันต่างหาก หมายถึงกิเลสโกหกสัตว์โลกให้กลัวตาย ทั้งที่ความจริงไม่มีอะไรตาย


พิจารณาวันหนึ่งได้อุบายแบบหนึ่งขึ้นมา พิจารณาอีกวันหนึ่งได้อุบายแบบหนึ่งขึ้นมา แต่มันมีอุบายแบบเผ็ด ๆ ร้อน ๆ แบบอัศจรรย์ทั้งนั้น จิตก็ยิ่งอัศจรรย์และกล้าหาญจนถึงขนาดที่ว่า
‘เวลาจะตายจริง ๆ มันจะเวทนาหน้าไหนมาหลอกเรา ‘วะ’ ทุกขเวทนาทุกแง่ทุกมุมที่แสดงในวันนี้ เป็นเวทนาที่สมบูรณ์แล้วเลยจากนี้ก็ตายเท่านั้น ทุกขเวทนาเหล่านี้เราเห็นหน้ามันหมด เข้าใจกันหมด แก้ไขมันได้หมด แล้วเวลาจะตาย มันจะเอาเวทนาหน้าไหนมาหลอกเราให้หลงอีก ‘วะ’ หลงไปไม่ได้ เวทนาต้องเวทนาหน้านี้เอง


พูดถึงเรื่องความตายก็ไม่มีอะไรตาย กลัวอะไรกัน นอกจากกิเลสมันโกหกเรา ให้หลงไปตามกลอุบายอันจอมปลอมของมันเท่านั้น แต่บัดนี้ เราไม่หลงกลของมันอีกแล้ว’

นั่นละ จิตเวลามันรู้ และมันรู้ชัดตั้งแต่คืนแรกนะ ที่ว่าจิตเจริญแล้วเสื่อม ๆ ก่อนมาภาวนาจนนั่งตลอดรุ่งคืนแรกมันก็ไม่เสื่อม ตั้งแต่เดือนเมษายนมาก็ไม่เสื่อม แต่มันก็ยังไม่ชัด พอมาถึงคืนวันนั้นแล้วมันชัดเจน
‘เอ้อ มันต้องอย่างนี้ไม่เสื่อม’


เหมือนกับว่า มันปีนขึ้นไปแล้วก็ตกลง ขึ้นไปแล้วก็ตกลง ๆ แต่คราวนี้พอปีนขึ้นไปแล้วเกาะติดปั๊บ ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่เสื่อม มันรู้แล้วจึงได้เร่งเต็มที่เต็มฐาน...”

ลัก...ยิ้ม 30-10-2012 14:15

หลวงปู่มั่นขอใส่บาตร อุบายสอนศิษย์..

ตลอดพรรษาที่บ้านนามนแห่งนี้ ท่านยังคงสมาทานธุดงค์อย่างเคร่งครัด ในข้อฉันอาหารที่ได้มาในบาตรเท่านั้น เหมือนเมื่อครั้งไปอยู่กับหลวงปู่มั่นใหม่ ๆ ในปีแรกดังนี้

“... อยู่ที่ไหนก็ตามเรื่องธุดงควัตรนี้ เราจะต้องเอาหัวชนอย่างไม่ถอยเลย ยืนกระต่ายขาเดียวไม่ยอมให้ขาดได้เลย บิณฑบาตมาแล้วก็รีบจัด ‘ปุ๊บปั๊บ’ จะเอาอะไรก็เอาเสียนิด ๆ หน่อย ๆ เพราะการฉันไม่เคยฉันให้อิ่ม ในพรรษาไม่เคยให้อิ่มเลย โดยกำหนดให้ตัวเองว่าเอาเพียงเท่านั้น ๆ สัก ๖๐% หรือ ๗๐ % ... ซึ่งคิดว่าพอดี เพราะอยู่กับหมู่เพื่อนหลายองค์ด้วยกัน


ถ้าจะอดก็ไม่สะดวก เพราะการงานในวงหมู่คณะเกี่ยวข้องกันอยู่เสมอ เราเองก็เหมือนเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งอย่างลับ ๆ ทั้งที่ไม่แสดงตัว ทั้งนี้เกี่ยวกับการคอยดูแลความสงบเรียบร้อยของหมู่คณะภายในวัด พรรษาก็ไม่มาก สิบกว่าพรรษาเท่านั้นแหละ แต่รู้สึกว่าท่านอาจารย์มั่น ท่านเมตตา ไว้ใจในการช่วยดูแลพระเณรอย่างลับ ๆ เช่นกัน...

พอบิณฑบาตกลับมาแล้ว มีอะไรก็รีบจัด ๆ ใส่บาตร เสร็จแล้วก็รีบไปจัดอาหารเพื่อใส่บาตรท่านอาจารย์มั่น ห่อนั้นหรือห่อนี้ที่เห็นว่าเคยถูกกับธาตุขันธ์ท่าน เรารู้และเข้าใจก็รีบจัด ๆ อันไหนควรแยกออก อันไหนควรใส่ก็จัด ๆ เสร็จแล้วถึงจะมานั่งของตน ตาคอยดู หูคอยฟัง สังเกต .. ฟังท่านจะว่าอะไรบ้างขณะก่อนลงมือฉัน

ลัก...ยิ้ม 01-11-2012 09:32

บาตรเราพอจัดเสร็จแล้ว ก็เอาตั้งไว้ลับ ๆ ทางด้านข้างฝาติดกับต้นเสา เอาฝาปิดไว้อย่างดีด้วย เอาผ้าอาบน้ำปิดอีกชั้นหนึ่งด้วย เพื่อไม่ให้ใครไปยุ่งไปใส่บาตรเรา เวลานั้นใครจะมาใส่บาตรเราไม่ได้ กำชับกำชาไว้อย่างเด็ดขาด แต่เวลาท่านจะใส่บาตรเรา ท่านก็มีอุบายของท่าน เวลาเราจัดอะไรของท่านเสร็จเรียบร้อยแล้วมานั่งประจำที่ ให้พรเสร็จ

ตอนทำความสงบพิจารณาปัจจเวกขณะนั้นแล ท่านจะเอาตอนเริ่มจะฉัน ท่านเตรียมของใส่บาตรไว้แต่เมื่อไรก็ไม่รู้แหละ แต่ท่านไม่ใส่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ นี่ ท่านก็รู้เหมือนกัน ท่านเห็นใจเรา บทเวลาท่านจะใส่ ท่านพูดว่า
ท่านมหาขอใส่บาตรหน่อย ๆ ศรัทธามาสาย ๆ’ ท่านว่าอย่างนั้น


พอว่าอย่างนั้น.. มือท่านถึงบาตรเราเลยนะ ตอนเราเอาบาตรมาวางข้างหน้าแล้ว กำลังพิจารณาอาหารนี่แหละ เราเองก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร เพราะความเคารพ จำต้องปล่อยตามความเมตตาของท่าน เราให้ใส่เฉพาะท่านเท่านั้น นาน ๆ ท่านจะใส่ทีหนึ่ง ในพรรษาหนึ่ง ๆ จะมีเพียง ๓ ครั้งหรือ ๔ ครั้งเป็นอย่างมาก ท่านไม่ใส่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ เพราะท่านฉลาดมาก คำว่ามัชฌิมาในทุกด้านจึงยกให้ท่านโดยหาที่ติไม่ได้...”

แม้หลวงปู่มั่นจะทราบดี ถึงความเคร่งครัดของท่านเกี่ยวกับการสมาทานธุดงค์ แต่ด้วยความเมตตาของครูบาอาจารย์ที่ต้องการหาอุบายสอนศิษย์ ทำให้บางครั้งหลวงปู่มั่นก็ได้นำอาหารมาใส่บาตรท่านพร้อมกับพูดว่า
“ขอใส่บาตรหน่อยท่านมหา นี่เป็นสมณบริโภค” หรือบางครั้งก็ว่า “นี่เป็นเครื่องบริโภคของสมณะ ขอนิมนต์รับเถอะ” เหตุการณ์ในตอนนั้น ท่านเคยเล่าไว้ดังนี้


“... บางครั้งก็มีคณะศรัทธาทางจังหวัดหนองคายบ้าง และที่สกลนครบ้าง ที่อื่น ๆ บ้าง ไปใส่บาตรท่านและพระในวัดบ้านนามน คนในเมืองสกลนครนาน ๆ มีไปทีหนึ่ง เพราะแต่ก่อนรถราไม่มี ต้องเดินด้วยเท้า แต่เขาไปด้วยเกวียน จ้างล้อจ้างเกวียนไป

เขาไปพักเพียงคืนสองคืน และไม่ได้พักอยู่ในวัดกับพระท่าน แต่พากันไปพักอยู่กระท่อมนาของชาวบ้านนามน ตอนเช้าทำอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้วก็มาถวายพระในวัดนั้น เขาไม่ได้ไปดักใส่บาตรนอกวัด เราก็ไม่กล้ารับ.. กลัวธุดงค์ขาด เดินผ่านหนีมาเลย สำหรับท่านก็รับให้เพราะสงสารเขา เท่าที่สังเกตดู

อาหารก็เหลือจากใส่บาตรมากมายก็ได้นำขึ้นมาบนศาลา เป็นหมกเป็นห่อและผลไม้ต่าง ๆ นะ เราก็ไม่รับ ส่งไปไหนก็หายเงียบ หายเงียบ ไม่มีใครรับ จะมีรับบ้างเพียงองค์สององค์ ผิดสังเกต ศรัทธาเขาไม่น้อย ส่วนเราไม่กล้ารับเพราะกลัวธุดงค์ข้อนี้ขาด หลายวันต่อมาท่านก็ขอใส่บาตรเรา โดยบอกว่า
‘นี้เป็นสมณบริโภค ขอใส่บาตรหน่อย’


แล้วท่านก็ใส่บาตรเรา ท่านใส่เองนะ ถ้าธรรมดาแล้ว โถ...ใครจะมาใส่เราได้วะ สำหรับเราเองกลัวธุดงค์จะขาด หรืออย่างน้อยไม่สมบูรณ์... นอกจากท่านอาจารย์มั่นผู้ที่เราเคารพเลื่อมใสเต็มหัวใจเท่านั้น จึงยอมลงและยอมให้ใส่บาตรตามกาลอันควรของท่านเอง...

ความจริงท่านคงเห็นว่า นี่...มันเป็นทิฐิแฝงอยู่กับธุดงค์ที่ตนสมาทานนั้น ท่านจึงช่วยดัดเสียบ้าง เพื่อให้เป็นข้อคิดหลายแง่หลายกระทง ไม่เป็นลักษณะเถรตรงไปถ่ายเดียว ท่านจึงหาอุบายต่าง ๆ สอนเราทั้งทางอ้อมและทางตรง

แต่เพราะความเคารพเลื่อมใสท่าน ความรักท่าน ทั้ง ๆ ที่ไม่สบายใจก็ยอมรับ นี่แล...ที่ว่าหลักใจกับหลักปฏิบัติ ต้องยอมรับว่าถูกในความจริงจังที่ปฏิบัตินี่ แต่มันก็ไม่ถูกสำหรับธรรมที่สูงและละเอียดกว่านั้น เล็งดูเราเล็งดูท่าน มองเราและมองท่านนั้น ผิดกันอยู่มาก

อย่างพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ท่านมองอะไร ? ท่านมองตลอดทั่วถึง และพอเหมาะพอสมทุกอย่างภายในใจ ไม่เหมือนพวกเราที่มองหน้าเดียว แง่เดียวแบบโง่ ๆ...! ไม่มองด้วยปัญญาเหมือนท่าน เราจึงยอมรับตรงนั้น...”

ลัก...ยิ้ม 02-11-2012 09:33

อุบายฝึกม้าพยศ เตือนศิษย์

จากการที่โหมนั่งภาวนาตลอดรุ่งถึง ๙ - ๑๐ คืน แม้จะไม่ทำติดต่อกัน คือเว้น ๒ คืนบ้าง ๓ คืนบ้าง หรือบางทีก็เว้น ๖ - ๗ คืนก็มี ท่านทำเช่นนี้ตลอดพรรษา จนถึงกับเป็นที่แน่ใจในเรื่องทุกขเวทนาหนักเบามากน้อย เข้าใจวิธีปฏิบัติต่อกัน สามารถหลบหลีกปลีกตัวแก้ไขกันได้อย่างทันท่วงที จึงไม่มีคำว่าสะทกสะท้าน แม้จะตายก็ไม่กลัว เพราะได้พิจารณาด้วยอุบายอันแยบคายเต็มที่แล้ว สติปัญญาจึงเท่าทันต่อความตายทุกอย่าง

การที่ท่านหักโหมร่างกาย ด้วยการนั่งตลอดรุ่งเช้าซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นนี้ ทำให้ผิวหนังในบริเวณก้นได้รับความกระทบกระเทือนอยู่บ่อยครั้ง จนถึงขั้นช้ำระบม พุพอง แตก น้ำเหลืองไหลเยิ้มในที่สุด พอนานวันเข้า หลวงปู่มั่นก็เมตตาเตือนแย็บออกมาว่า

“กิเลสมันไม่ได้อยู่กับร่างกายนะ มันอยู่กับจิต เหมือนสารถีฝึกม้า”

จากนั้นก็พูดต่อว่า “ม้าที่เวลามันกำลังคึกคะนอง มันไม่ยอมฟังเสียงเจ้าของเลย ต้องทรมานมันอย่างเต็มที่ ไม่ควรให้กินหญ้าก็ไม่ให้มันกินเลย ทรมานมันอย่างหนัก เอาจนมันกระดิกไม่ได้


ทีนี้.. พอมันยอมลดพยศลงก็ผ่อนการทรมาน เมื่อมันผ่อนความพยศลงมาก การฝึกทรมานก็ผ่อนกันลงไป ให้กินหญ้ากินอะไรบ้าง

ถ้าม้ามันเป็นการเป็นงานแล้ว เราก็ไม่ทรมานมัน ให้การรักษา การระมัดระวัง การบำรุงมันไป เวลาต้องการจะใช้ประโยชน์อะไรก็ใช้มันฉันใด จิตเวลามันกำลังคึกคะนองผาดโผนโลดเต้น ก็เอามันอย่างหนักฉันนั้นเหมือนกัน”

หลวงปู่มั่นเตือนท่านเพียงเท่านี้ก็เข้าใจได้ทันที เพราะเคยร่ำเรียนเรื่องนี้สมัยเรียนปริยัติมาก่อนแล้วจึงลงใจ และยอมรับในคำเตือนของครูบาอาจารย์ทันที ท่านเปรียบการแย็บเตือนครั้งนี้ เหมือนกับว่าหลวงปู่มั่นเอาไม้ทั้งท่อน โยนตูมให้ไปเลื่อย ไปไสกบลบเหลี่ยม เจียระไนเอาเอง โดยไม่มีการแจกแจงอะไรให้

ลัก...ยิ้ม 05-11-2012 11:37

แอบสนทนากับหลวงปู่พรหม

พอออกพรรษาแล้ว หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ * ศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่มั่นอีกรูปหนึ่ง ได้เข้ามาพักที่วัดป่าบ้านนามนกับหลวงปู่มั่น จึงเป็นโอกาสอันดี ให้ท่านมีโอกาสแอบเข้าพบและสนทนากับหลวงปู่พรหมเป็นประจำ ดังนี้

“...หลวงปู่พรหมนี้.. เป็น
(บรรลุธรรม)อยู่ข้าง ๆ ทางดอยแม่ปั๋ง มันมีแต่ป่าแต่เขาทั้งนั้น นี่นะ..คือได้เคยคุยธรรมะกันแล้ว ตั้งแต่ท่านยังไม่ตายจะ ‘ว่าไง’

ที่ได้คุยกันเป็นเวลานาน ๆ ก็คือท่านอยู่ที่บ้านนามน คือเราอยู่บ้านนามนกับหลวงปู่มั่น ท่านอาจารย์พรหมท่านเคยพูดให้ฟังตั้งแต่อยู่บ้านนามน เวลาเงียบ ๆ วันไหน ไม่ได้ขึ้นหาพ่อแม่ครูจารย์มั่น ก็แอบไปหาท่าน คุยกันสองต่อสองทุกคืน คุยสนุกสนาน ท่านพูดให้ฟังทุกแง่ทุกมุมในการปฏิบัติธรรมของท่าน นี่ท่านก็ผ่านที่เชียงใหม่ ท่านผ่านมานานแล้วนี่.. ก็รู้ได้อย่างชัดเจนละซี ท่านเล่าให้ฟัง ถึงเรายังไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรทางปริยัติ ทางอะไรมันก็เข้ากันได้ ลงใจทันที...


หลวงปู่พรหมกับเราสนิทสนมกันมาเป็นเวลานาน นี่วัดของท่าน คือแต่ก่อนท่านอยู่วัดนี้ (วัดผดุงธรรม) แล้วท่านย้ายจากนี้ออกไปตะวันตก แต่ก่อนตะวันตกนี้เป็นดงใหญ่นะ ดงทั้งหมด ดงสัตว์ ดงเนื้อ ดงเสือเต็ม วัดท่านก็อยู่ในดง (วัดประสิทธิธรรม) เราไปพักกับท่านอยู่นั้น กับเรารู้สึกท่านเมตตามากนะ นิสัยท่านน่าเกรงขามมาก นิสัยจริงจัง เด็ดเดี่ยวทุกอย่าง ฉลาดรอบคอบ ไม่ใช่เล่นนะ พอเห็นเราไปแล้ว ‘หา!’ ขึ้นเลย ก็สนิทกันมาเท่าไรแล้ว

พอมองเห็นเรา เรากำลังสะพายบาตรเข้าไป ‘หา ท่านมหามาหรือ ?’

‘โอ๊ย...มาแล้ว คิดถึงครูบาอาจารย์มาก ต้องมาแหละ’

‘เออ.. เอ้า .. มาเวลานี้กำลังหนาว’

เราไปเดือนธันวาคม มันก็หนาวละซี แล้วบ้านดงเย็นเป็นบ้านที่หนาวมากด้วย ไปคุยธรรมะธัมโมกับท่าน โอ๊ย...สนิทกันมากตั้งแต่อยู่บ้านนามน พอออกพรรษาแล้วท่านก็ไปหา

ทีแรกจวนจะเข้าพรรษา ท่านไปหาหลวงปู่มั่นก่อน พอดีทางสกลนคร วัดสุทธาวาสไม่มีหัวหน้าวัด เขาก็ไปขอพ่อแม่ครูจารย์มั่น ก็พอดีท่านอาจารย์พรหมไปถึงนั้น ท่านมาจากเชียงใหม่ ท่านบึ่งเข้าไปหาพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น

พอเขาพูดจบคำเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่มั่นท่านพูดเป็นลักษณะเผดียง ๆ จะสั่งจริง ๆ ก็ไม่ใช่นะ ท่านก็รู้อัธยาศัยเหมือนกัน คือพระไม่มี .. เขาก็มาขอจากท่าน ‘นี่จะทำ ‘ยังไง’ ท่านพรหม เขาก็มาหาหัวหน้าจะ ‘ทำไง’ ถ้าว่าท่านไปอยู่ที่นั้นได้ก็จะดี’


บริษัทโยมนุ่มมาขอ เพราะวัดนี้เป็นวัดบริษัทโยมนุ่มสร้างขึ้นมา มีหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ เป็นประธานการสร้างวัดสุทธาวาสนี่นะ เขาก็เลยถือเป็นวัดของเขาไปเลย ทีนี้พระไม่มี เขาก็ไปติดต่อบ้านนามน ‘โอ๋ย... จะให้ไปอยู่ยังไง...’ ท่านก็ว่าอย่างนั้น คือมาขอพระไป ‘พระในเมืองสกลฯ อดอยากที่ไหน’ ท่านพูดเล่นกับเขา หากเฉยนะ พูดลักษณะเล่นอยู่ภายใน

‘ทำไม! มาหาไกลนักหนา เมืองสกลฯ มีมากขนาดไหน ไม่ได้แหละ พระนี่.. ท่านมาหาภาวนา ก็ต้องมาตามอัธยาศัยของท่านซี

ท่านว่า เขาก็เลยกลับไป ท่านบอกไม่ได้ จากนั้นไม่นานสักสี่ห้าวัน‘หรือไง’ พอดีท่านอาจารย์พรหมมาวัดสุทธาวาส แล้วพุ่งใส่พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นเราเลย นั่นละ ท่านถึงพูดเป็นเชิงเล่าเรื่องนี้ละ ‘เขามาขอพระอะไร ๆ ถ้าท่านพรหมพอจะอยู่พัก อบรมสั่งสอนให้เขาร่มเย็นบ้างก็จะดีนะ’

ท่านพูดกลาง ๆ ท่านก็รู้อัธยาศัยเหมือนกันนะ ท่านไม่บังคับนะ ‘ถ้าท่านอยู่ที่นั่นเป็นหัวหน้าให้เขาบ้างก็จะดี ท่านว่าอย่างนั้น ออกพรรษาเราอยากมาค่อยมา’


..........................................................................
* ต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อำเภอบ้านตุง จังหวัดอุดรธานี

ลัก...ยิ้ม 08-11-2012 09:30

พอออกจากนั้นปั๊บ ท่านก็กลับคืนไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทธาวาส พอทีนี้ออกพรรษาแล้วท่านก็มาอีก พอออกพรรษาแล้วท่านมาเลย มาอยู่นั้นนานกับเรา พอตกกลางคืนเราจะแอบไปหาท่านทุกคืนเลย ถ้าวันไหนไม่ได้ขึ้นไปหาท่านต้องเข้าไปนั้นละ คุยธรรมะกัน ถึงได้รู้เรื่องรู้ราวภายในของท่านนั้นแหละ ได้คุยกันตลอดสนิทสนมกันมา...

หลวงปู่พรหม นี่ท่านประกาศ ๗ วัน เพราะท่านเป็นพ่อค้า แล้วไม่มีลูกมีเต้า ถ้าพูดถึงฐานะบ้านนอกก็เรียกว่า ท่านเป็นที่หนึ่งของบ้านนี้ เพราะการค้าการขายท่านเป็นพ่อค้า ทีนี้เวลามาปรึกษาหารือกับแม่บ้าน เพราะไม่มีลูกด้วยกันนี้ทำ ‘ยังไง’ นี่เห็นไหม.. คนมีอุปนิสัยมันเป็นนะ เราก็อยู่ด้วยกันมา ไม่มีลูกมีเต้าที่จะสืบหน่อต่อแขนงมรดก

‘เหล่านี้จะ ‘ทำไง’ แล้วตายแล้วใครจะสืบต่อก็ไม่ได้ทั้งนั้น สืบต่อกันเป็นระยะ ๆ อันนี้เรายังมีชีวิตอยู่ สิ่งเหล่านี้เราครองมานานแล้ว ก็ไม่เห็นเป็นประโยชน์อะไร ก็อยู่อย่างนี้แหละ เราออกบวชจะไม่ดีหรือ ต่างคนออกเสาะแสวงหาสมบัติภายใน สมบัติภายนอกเราเห็นอยู่นี้แหละ’

ท่านเล่าให้ฟังนะ แม่บ้านก็พอใจทันทีเลย ถ้าเราออกบวชแล้ว อันนี้เราก็ประกาศให้ทานไปหมดเลย เสร็จแล้วออกเลย ทางนั้นก็พร้อมเลยไม่ว่า ท่านบอกว่าประกาศอยู่ ๗ วัน ของให้ทานหมดเลย ให้ทาน ๗ วัน แล้วแม่บ้านออกทางหนึ่ง ท่านก็ออกทางหนึ่งไปเรื่อย ท่านเล่าให้ฟัง

ท่านเป็นคนศักดิ์ศรีดีงาม มีอำนาจวาสนาน่าเกรงขามมาก เด็ดเดี่ยวแน่นอนมาตั้งแต่คุยกันอยู่บ้านนามน อย่างนี้แหละ เห็นไหมล่ะ ไม่ต้องเอาอะไรมายันกัน เพราะท่านคุยให้เราฟังอย่างถึงใจเมื่ออยู่บ้านนามน ท่านผ่านมาตั้งแต่อยู่เชียงใหม่โน้น ... แต่ก่อนท่านเล่าให้ฟัง เราก็ยังไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร ท่านเล่าให้ฟังจนกระทั่งถึงท่านผ่านได้เลย เราก็ฟังแบบหูหนวกตาบอด

ครั้นเวลามาปฏิบัติ.. ปฏิบัติไม่ถอยมันก็รู้ตามกันไป ๆ สุดท้ายยอมกราบท่านราบ ... ท่านเล่าให้ฟังแล้ว ทางนี้ตามอีกด้วยข้อปฏิบัติ ด้วยความรู้ความเห็นมันตามเข้าไปหาที่แย้งกันไม่ได้ ยอมรับเลย นี่องค์หนึ่ง...”

ลัก...ยิ้ม 09-11-2012 08:54

หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต (วัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น) เป็นพระองค์สำคัญอีกรูปหนึ่งที่เดินทางมาขอศึกษาอุบายธรรมจากหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านนามนแห่งนี้ ท่านกล่าวถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ ดังนี้

“...พอพูดถึงเรื่องพญานาค หลวงพ่อผางสำคัญอยู่นะ กับพวกงูพวกพญานาค นี่ละอำนาจวาสนาของคน มีฤทธาศักดานุภาพ ปัจจุบันนี่หลวงพ่อผาง ขอนแก่น นั่นน่ะ.. ท่านบวชทีหลังเรา ตอนท่านไปเราก็อยู่ที่นั่น วัดนามน ที่ท่านศึกษาปรารภกับหลวงปู่มั่น ท่านก็เทศน์อย่างเด็ดทีเดียว นั่นล่ะ.. ท่านได้ธรรมะนั่นล่ะมา ใส่เปรี้ยง ๆ ลง ท่านคงเล็งดูแล้วเหมาะแล้ว ธรรมะจึงไม่มีอ่อนข้อเลย..เด็ดตลอดจนจบ


ใส่เปรี้ยง ๆ เหมือนคนโกรธแค้นกันมาได้ห้ากัปห้ากัลป์ พอมาก็ปรี่ใส่กันเลย ‘ว่างั้น’ เถอะนะ นั่นล่ะ.. ผู้ท่านได้อันนั้นมา มาพิจารณาก็ได้คติตั้งแต่นั้นมา เอาจนทะลุไป นี่ละองค์นี้หลวงพ่อผาง แล้วก็เล่าถึงเรื่องของเรา ท่านบอกว่า ท่านเคยพบกับเราอยู่ที่นั่น.. นามน เล่าให้พระทั้งหลายฟัง เพราะตอนนี้เราก็มาขั้นครูขั้นอาจารย์ไปแล้ว หลวงพ่อผางก็เป็นครูเป็นอาจารย์ไปแล้ว เลยเล่าเรื่องถึงกันเฉย ๆ ทีนี้เวลาท่านออกมาแล้วนี้...”

ลัก...ยิ้ม 15-11-2012 10:14

หลงป่า

เดือนพฤศจิกายนปีนั้น ท่านกราบลาหลวงปู่มั่นออกจากวัดป่าบ้านนามนไปเที่ยวกรรมฐาน มีอยู่คราวหนึ่ง ระหว่างที่ท่านพร้อมหมู่คณะกำลังเที่ยววิเวก หาสถานที่ภาวนาในป่าในภูอยู่นั้น เมื่อยิ่งเดินหน้าไปเรื่อยก็ยิ่งพลัดหลงทางไปเรื่อย เข้าไปในหุบเขาเล็ก ๆ ยิ่งเข้าป่าลึกขึ้น ๆ จนไม่พบบ้านผู้คนเลย เหตุการณ์คราวนั้น ท่านกล่าวว่า รอดมาได้ด้วยอำนาจของบุญของทาน ดังนี้

“...ออกจากบ้านโคกนามน จากพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นไปก็เข้าเขาเลย เพราะภูเขามันติดกันกับบ้านห้วยหีบ เข้าไปนั่นไปภูเขา เข้าไปกลางเขาเลยหลง หลงอยู่กลางเขาเลย... ไปเที่ยวในภูเขาจากระหว่างสกลนครกับกาฬสินธุ์ เข้าไปในเขาไปหลงป่าละซี เข้าไปในหุบเขาเลยนะ เขาไม่รู้กี่ลูกกี่ชั้น เข้าไปจมอยู่ในเขาเลย พอดีไปเจอพวกเขาไปทำไร่อยู่ในเขามี ๔ - ๕ หลังคา เขาไปทำไร่อยู่ในหุบ หลงเข้าไปตรงนั้น เขา.. จนงงเลย ‘โห .. ท่านมาได้ ‘ยังไง’ ?’

คือตอนกลางคืนนั้นมีนิมิตเสียก่อนนะ หลงป่าไปด้วยกัน ๓ องค์ ยังไม่ได้แยกจากกัน ตามธรรมดาออกจากวัดแล้วก็ไปทีละ ๒ องค์ ๓ องค์ แล้วก็ไปแยกกันข้างหน้า ไปวันนั้นยังไม่ได้แยกเลย ไปก็ไปหลงป่ากลางคืน งมเงาไป

‘เอ้า นอนในป่านี่แหละ งมไปไหน แล้วตั้งสัจอธิษฐานนะ ..จะออกทางภาวนาก็ได้ ..ออกทางความฝันก็เอา แล้วบ้านอยู่ทางไหน มันหลงถนัดแล้ว เข้าในหุบเขา บ้านอยู่ทางไหนให้ตั้งสัจอธิษฐานนะ

องค์นั้นก็ตั้ง องค์นี้ก็ตั้ง เราก็ตั้ง ตั้งสัจอธิษฐาน จะออกทางภาวนาก็ได้ ออกทางไหนก็ได้ พอดีกลางคืนมานิมิตแล้ว ... ทีนี้พอกลางคืนมาก็ฝันละที่นี่ องค์นั้นก็ฝัน องค์นี้ก็ฝัน ฝันด้วยกันทั้ง ๓ องค์ด้วยนะ แปลกอยู่

องค์หนึ่งฝัน ‘บ้านอยู่ทางไหน ?’
‘บ้านอยู่ทางนี้’ ชี้ไปทางทิศใต้ ‘รู้ได้ยังไงว่าบ้านอยู่ทางนี้ ?’


‘มีแต่ผู้หญิงหาบอะไรต่ออะไร หลั่งไหลผ่านมานี่ ไปทางนี้แหละ ไปทางทิศใต้นี้’

‘แล้วองค์นี้ล่ะ ฝันว่ายังไง..’

‘บ้านอยู่ทางนี้อีก’ ‘รู้ได้ยังไง..’

‘มีแต่ผู้หญิงหาบสิ่งหาบของพะรุงพะรังไปนี้’ แล้วว่า ‘วันนี้เราจะพบผู้หญิงก่อนนะ’

‘เอ้า...อยู่ในกลางเขาจะพบผู้หญิงก่อนนะ’

‘เอ้า...อยู่ในกลางเขาจะพบผู้หญิงได้ยังไง..’

‘หากจะพบก็เพราะความฝันบอก อย่างนั้น’

เราก็อีกเหมือนกัน หมู่เพื่อนมาถามเราว่า ‘เป็นยังไง ?’

‘บ้านอยู่ทางนี้จริง แต่ไม่ใช่บ้านนะ เป็นทับ เขามาตั้งทับอยู่ทางด้านนี้ เมื่อคืนเห็นโยมแม่มาหา มีเด็กสองสามคนติดตามโยมแม่มา โยมแม่มาหามาถางนั้นถางนี้ปุบปับ ๆ แล้วก็พาเด็กขนของไป ไปทางนี้แหละ บ้านอยู่ทางนี้หรือทับอยู่ทางนี้แหละ เอ้า...ไปทางนี้’

นั่นละ พอตื่นแล้วก็บุกตามทิศเลย ไปอยู่ในหุบเขาลึก ๆ นะ มีบ้านอยู่ ๔ หลังคาเรือน เขามาทำไร่อยู่ในหุบเขา ไปเขางงเลย ‘โอ๊ย... ท่านมาได้ยังไงนี่ โถ... ตาย ๆ ๆ’

ไปได้พบผู้หญิงก่อนจริง ๆ มีแต่ผู้หญิงตำข้าวกันตุบตับ ๆ ผู้ชายไม่มีสักคนเดียว มีเด็กเล่นอยู่อีกสองสามคน เด็กก็ลักษณะที่ว่านั่นแหละ เขาว่าญาครูเป็นความเคารพ ญาครู ญาชา หลวงตา นี่เป็นความเคารพของเขา

‘มาได้ยังไง ? เมื่อคืนนี้ก็ฝันกัน มาเล่าสู่กันฟังอยู่นี่ ฝันว่าพระท่านมาโปรด ๓ องค์ เมื่อคืนนี้ บ้านนั้นก็ฝัน บ้านนี้ก็ฝัน ก็แปลกอยู่นะ


ฝันว่าญาครู (คือพระ) ท่านมาโปรด ๓ องค์เมื่อคืนนี้ พูดกันจบเดียวนี้ พวกผู้ชายเขาไปไร่นอกบริเวณนั้น เพิ่งไปตะกี้นี้ ว่าพระมาโปรด ๓ องค์’

พอดีไปพวกนั้นเขาก็งง เขาว่า ‘ถ้าไม่พบบ้านนี้ต้องตาย ไม่มีทางอื่นทางใด นอกจากจะไปพบพวกนายพรานเขานะ ถ้าผู้มีแก่ใจเขาก็จะพาย้อนกลับหลังไป ย้อนทางไปสู่บ้านมานี้มันลึกพอแล้วนี่ ข้ามเขาแต่เพียงลูกเดียวสองลูกเท่านั้นตายเลย เพราะแถวนี้ไม่มีบ้านเลย อยู่ในหุบเขา

เราก็เลยได้กินข้าวกับเขา แล้วบอกเพื่อนฝูงด้วยว่า ‘วันนี้เราอย่าพูดอะไรนะ จะมีคนตามส่งเรานะวันนี้ เพราะมีเด็กมาเอาของบริขารผมไป เราไม่ได้บอกเด็ก เด็กมาขนบริขารไปเลย วันนี้คอยดู จะมีคนไปส่งเรา

พอกินข้าวแล้วเขาบอกว่า ‘พวกผมต้องไปส่งท่าน ถ้าไม่ไปส่ง ท่านก็ตายอีก’ เขาตามส่งย้อนหลัง ไปส่งใส่ทางเข้าหมู่บ้าน

นี่เรามันอัศจรรย์ที่ว่าอยู่ในหุบเขาลึก ๆ มันหลงไปได้ ‘ยังไง’ หลงไปในหุบเขาเท่ากำปั้นนี่นะ ภูเขานี่กว้างเท่าท้องฟ้ามหาสมุทร แล้วมันหลงไปได้ ‘ยังไง’ นี่..อัศจรรย์อยู่เหมือนกันนะ เวลาจะตายไม่ตายนะ ที่ว่าจะตาย ๆ ก็เพราะปีนเขา เขาพูดว่า
‘ไม่ใช่อะไรหรอกท่าน ปีนเขาลูกนี้ลงลูกนี้ ขึ้นลูกนั้น กว่าจะถึงบ้านคนมันกี่สิบเขา ท่านไปได้เพียง ๒-๓ วัน ท่านก็แย่แล้ว ตายแล้ว นี่มาเจอพวกผมดีแล้ว ท่านไม่ตายแหละคราวนี้’


นี่เราเชื่อเวลาจำเป็น.. เป็นอย่างนั้นจริง ๆ นะ มันหากบันดลบันดาล มิหนำซ้ำเทวบุตรเทวดายังบันดลบันดาลให้เขาฝันทางโน้นว่าพระท่านมาโปรด ๓ องค์ ทางนี้ก็ฝันว่าไปหาโยม โยมตามส่ง เราเลยฝังใจจนกระทั่งทุกวันนี้…

ภายในใจนี้เราเชื่อ เชื่อในหัวใจเจ้าของเองว่าเปิดโล่งอยู่ตลอด... นี่แหละ อำนาจแห่งการทำบุญให้ทานไม่อดอยาก ถึงเวลาจำเป็น หากมีผู้มาช่วยจนได้นั่นแหละ หากมี..ฟังแต่ว่า “มี” เถอะ อำนาจทานบันดลบันดาลให้มีผู้ใดผู้หนึ่งมีใจบุญเข้ามาช่วยสงเคราะห์สงหา เพราะอำนาจแห่งบุญของเรามีเป็นเครื่องดึงดูดกัน...”

ลัก...ยิ้ม 19-11-2012 09:58

ธุดงค์หลงป่าถูกหลอก


ครั้งหนึ่งท่านไปเที่ยวธุดงค์กรรมฐาน ท่านหลงทางหลงป่าไปเจอไร่ข้าวของ “ทิดสาย” ซึ่งไปทำนาทำไร่อยู่บนเขา ทิดสายมีลูกชายชื่อหอม อยู่บ้านนาขาม ท่านเล่าเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า
“... บ้านนาขามอยู่ไกล เราก็เลยไม่ลืม


เราถามเขาว่า ‘บ้านหนองสะไนไปอีกไกลไหมโยม ?’

เขาชี้มือบอกว่า ‘โอ๋ย! จะไกลอะไร นี่ นี่.. อยู่ฟากเขาลูกนี้ เขาลูกเล็ก ๆ นี้ อยู่ใกล้ ๆ แค่นี้

‘ถ้าอาตมาเดินไปจะถึงค่ำขนาดไหน ?’ เราถาม

เขาบอกว่า ‘อย่างมากตีโปง ตำโปง เวลาโพล้เพล้จวนมืด ก็ถึงแล้ว(ตีโปง ลักษณะคล้ายระฆัง แต่ทำด้วยไม้ ใช้ตีเวลาประมาณ ๕-๖ โมงเย็น)

เราก็ไป.. ที่ไหนได้เกือบตาย ๓-๔ ทุ่มจึงถึงบ้านนั้น ที่เขาโกหกเรา เพราะเขากลัวว่าเราจะไปอาศัยกินข้าวกับเขา เขาขนข้าวไปพอดีกิน ๓-๔ วัน พอกินหมดเขาก็กลับลงมาเอาอีก สาเหตุที่รู้ว่าเขาโกหก เพราะหลังจากนั้น ๒-๓ วันให้หลัง โยมคนหนึ่งไปจากบ้านนามน ที่พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ไปถึงที่นั่น (ที่ที่เขาโกหกเรา)

เขาก็บอกว่า ‘ไปนี้ ดูรอยพระไปทางนี้หน่อยนะ เมื่อวานนี้ได้โกหกพระให้ไปทางนี้ จ้างมันก็ไปไม่ถึง นอนซมอยู่กลางป่าล่ะวันนี้’

เราไม่ได้นอนกลางป่าเหมือนเขาคิดล่ะซี เดินกลางป่าเหมือนขาขาดไปเลยน่ะ สมมุติว่าเดินสะดุดอย่างนี้ ไม้ไม่ขาดขาก็ต้องขาด เพราะความรวดเร็วแห่งการเดินบุกไปป่ากลางคืนนี้ เราโดนเขาหลอก อันนี้ก็แปลกอยู่นะ มันน่าคิดอยู่มากนะ เรื่องกรรมบันดลบันดาลนะ คนที่โกหกเรานี้

อีก ๓ ปีต่อมา... เราก็เที่ยวธุดงค์ย้อนกลับมาทางเดิมนั้นอีก ไปก็พอดีมีโยมบ้านนาขาม เขาเข้ามาพักอยู่ที่บ้านหนองสาน แกมาส่งบาตรเรา แกก็บอกว่า แกอยู่บ้านนาขาม เราก็เลยถามถึง ‘โยมชื่อทิดสาย ลูกชายชื่อหอม เป็นอย่างไรบ้าง ?’

‘โอ้ย !!..ผู้เฒ่าตายได้ ๓ ปีแล้ว’ ‘ว่างั้น’ ‘เป็นอะไรตาย’

ลงท้องตายแบบปัจจุบัน

คำนวณเวลาพอดีกับที่เราจากตรงนั้นไป ๓ ปี พอดี..นี่..ก็บันดลบันดาลน่าคิดอยู่มาก ถ้าจะคิดถึงเรื่องแบบนี้มีอยู่หลายเรื่อง ไม่ใช่พูดอวดตัวนะ พูดถึงเรื่องบุญกรรมมีประจำโลก ประจำสงสาร ประจำสัตว์ทุกประเภท เราหมายความว่าอย่างนั้น...”

ลัก...ยิ้ม 20-11-2012 08:37

ถือ “ความทุกข์” เป็นครู เป็นหินลับสติปัญญา

ความเป็นนักต่อสู้ของท่าน แม้อุบายวิธีบางอย่างจะทำให้ต้องพบกับความทุกข์แสนทุกข์ แต่หากผลปรากฏเป็นความเจริญทางด้านจิตใจมากขึ้น ท่านก็จะพยายามอดทน ต่อสู้ให้ผ่านไปให้จงได้ เห็นได้จากคำกล่าวตอนหนึ่งของท่านกับพระเณร ดังนี้

“... นิสัยของผมเองนั้น เป็นนิสัยที่หยาบ จะว่าคนหยาบก็ได้ ไปอยู่ในสถานที่ธรรมดาความเพียรไม่ค่อยดี ผลที่จะพึงได้ก็ไม่ค่อยปรากฏนัก... แต่หากเป็นบางสถานที่แล้ว กลับทำให้ธรรมภายในใจเจริญขึ้น ๆ ...


จึงมักแสวงหาในที่กลัว ๆ เสมอ ทั้ง ๆ ที่เราก็กลัว แต่ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากความกลัวนั้น เป็นผลประโยชน์อัศจรรย์มหาศาล เราจึงจำเป็นต้องได้สละเป็นสละตายเข้าอยู่บำเพ็ญเพื่อธรรม...”

ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงนิยมให้อุบายฝึกจิตด้วยการเข้าป่าช้าเผาหรือฝังคนตายบ้าง ในถ้ำเงื้อมผาป่าดงบ้าง ในดงที่เป็นที่อยู่ของช้าง หมี เสือ หรือสัตว์ร้ายต่าง ๆ บ้าง อาศัยสัตว์เหล่านั้นเป็นครู ท่านออกวิเวกบางสถานที่ เป็นที่ที่เสือมักชอบผ่านมา หรือเป็นที่อาศัยของมันในบริเวณใกล้ ๆ กันนั้น แม้ว่าจะเดินหรือนั่งตรงไหน ? อย่างไร ? ก็คิดกลัวอยู่ตลอดว่ามันคงจะอยู่ใกล้ ๆ หรือกลัวว่ามันจะมากัดกิน ท่านเคยเล่าถึงสถานที่เช่นนี้ว่า

“น่ากลัวจริง ๆ กลางวันก็กลัว เวลาไหนก็กลัว ยิ่งกลางคืนด้วยแล้ว จิตยิ่งมีแต่ตั้งหน้าตั้งตาที่จะกลัว นั่งก็กลัว เดินจงกรมกลางค่ำกลางคืนดึกดื่นก็เดินทั้ง ๆ ที่กลัว ๆ นั้นเอง”


ท่านเล่าถึงคราวเข้าไปดัดตัวเองที่ป่าเสือแห่งหนึ่ง ดังนี้
“...อยู่ในป่าในเขามันตื่นเต้น .. แต่ก่อนเป็นป่า พวกสัตว์ พวกเสือ เนื้อร้ายเต็มไปหมดจริง ๆ ... ก้าวเข้าทางนี้ปั๊บเป็นป่าแล้ว มีสัตว์แล้ว พวกสัตว์ พวกเนื้อ พวกเก้ง พวกหมู พอลึกเข้าไปก็พวกกวาง พวกช้าง พวกเสือ เสือมีอยู่ทั่วไป สัตว์มีอยู่ที่ไหน เสือมีอยู่ที่นั่น มีอยู่ทั่วไป..


บางทีก็เสียงเสืออาว ๆ ขึ้นแล้ว อาว ๆ ขึ้น ข้างทางจงกรม โถ...เสียงเสือมันไม่เหมือนเสียงเพลงลูกทุ่งละซี มันจะงับหัวเอา ประมาทได้หรือ เสียงอาว ๆ ขึ้นข้าง ๆ ไม่รู้มันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ตอนมันหยุดเสียงคำราม มันอาวตามภาษาของมันแล้ว นั่นละ มันน่ากลัวตอนนั้น ไม่ทราบมันจะมาแบบไหนซิ ได้ยินเสียงมันอยู่ มันอยู่ตรงนั้นก็ค่อยยังชั่วนะ พอเงียบเสียงไปแล้ว ไม่ทราบจะมาแบบไหน...

เราไปอยู่ในที่ดัดสันดานจริง ๆ นะ ไม่ใช่ธรรมดานะ มีแต่ที่ดัดสันดานทั้งนั้นแหละ ป่าก็ป่าเสือ กลางคืนเวลาเราเดินจงกรม มันไม่ใช่ธรรมดานะ แล้วยิ่งเสียงเสือด้วยนะ เราไปอยู่แคร่ ตอนตื่นเช้ามาเห็นรอยมันผ่านไปทางนี้แล้วฉากออกไป เพราะเราปัดกวาดไว้เรียบร้อย มันเดินผ่านไปผ่านมา มันก็เห็น โอ้...เสือมา มาเมื่อไหร่ไม่รู้ แต่เขาก็ไม่ได้สนใจกับเรา เขาเดินฉากไปเฉย ๆ แสดงว่าเขาไม่ได้สนใจกับเรา เขาไปตามประสาของเขา เราก็รู้

ถ้ามันเดินวกเวียน นี่..สนใจนะ มันสนใจ ถ้าพอทำ (หมายถึงเสือกัดกิน) มันก็อาจจะทำอย่างว่านะ นี่..ไม่มี ไม่เคยปรากฏ เราเองก็ไม่เคยปรากฏ เสือจริง ๆ ก็ไม่เคยเห็นในป่า แต่เสียงมันมีอยู่ทั่วไป กระหึ่ม กระหึ่ม

โอ้...ขนนี้ไม่ทราบว่ามันลุกซู่ผึงเหมือนจรวดดาวเทียม มันเป็นเองนะ ไม่ทราบว่ากลัวไม่กลัว มันลุกซู่ จิตหดเข้ามา หันเข้ามา สมมุติว่าอยู่ในขั้นบริกรรมพุทโธ ก็ติดกับพุทโธ ไม่ให้ออกไปหาเสือ ความคิดนี้จะไปคว้าเอาพิษเอาภัย เอาอารมณ์ไม่ดีงาม เช่น อย่างกลัวอย่างนี้ มันก็เป็นอันตรายอันหนึ่ง ต้องคิดอย่างนั้น.. ไม่ให้ออก หมุนติ้วนั่น มันเป็นอย่างนั้น...”

ลัก...ยิ้ม 22-11-2012 11:51

ชนะความกลัวด้วย “พุทโธ

ท่านใช้ความกลัวนี้เองเป็นครูหรือเป็นอุบาย เพื่อฝึกจิตให้เห็นเหตุเห็นผลกัน ดังนี้

“...พอความกลัวเริ่มมากขึ้น สติเริ่มจับ คือจิตนี้ห้ามหรือบังคับเด็ดขาดไม่ให้เคลื่อนจากจุดที่ตนต้องการ เช่น เราบริกรรม พุทโธ พุทโธ... ก็ให้อยู่กับคำบริกรรมนี้เท่านั้น เป็นก็ตาม ตายก็ตาม เสือก็ตาม ช้างก็ตาม สัตว์อันตรายใด ๆ ก็ตาม ไม่ไปคิด ไม่ไปยุ่ง ให้รู้อยู่จุดเดียวคือคำบริกรรมนี้เท่านั้น... ‘ไม่งั้น’ มันจะวาดภาพเสือ วาดภาพอันตรายขึ้นมาให้เรากลัว เพราะไปอยู่ในสถานที่กลัวด้วย ในสถานที่มีเสือจริง ๆ ด้วย ต้องบังคับจิตไม่ให้ส่งออกไปภายนอกเลย ให้รู้อยู่กับใจนี้.. เป็นกับตายก็มอบอยู่กับใจนี้...


นี่หมายถึงขั้นเริ่มแรกของการภาวนา ซึ่งต้องอาศัยคำบริกรรม กลัวมากเท่าไรจิตยิ่งติดแนบกับคำบริกรรมไม่ให้ปราศจากเลย ความมุ่งหมายนั้นคือ หมายตายกับธรรมนี้เท่านั้น ไม่ให้จิตไปสู่อารมณ์ที่กลัวนั้น ๆ ธรรมคืออะไร ? คำบริกรรมนั้นแล คือบทแห่งธรรม...

ธรรมแท้จะปรากฏที่จิต ที่จิตกำลังบริกรรมอยู่นั่นแหละ คือสั่งสมพลังของธรรมให้เกิดขึ้นที่ใจ มากน้อยตามความพากเพียรของตน

เมื่อสติได้ติดแนบอยู่กับคำบริกรรม บังคับจิตไม่ให้แย็บออกไปสู่อารมณ์ที่เป็นภัย ซึ่งทำให้น่ากลัวน่าหวาดเสียวนั้น ให้อยู่เฉพาะกับคำบริกรรมนี้ ติดต่อสืบเนื่องกันเป็นลำดับลำดา ก็เป็นการสั่งสมพลังคือกำลังของอรรถของธรรมขึ้นภายในจิตใจ หนุนใจให้มีความแน่นหนามากขึ้น ๆ

จนกระทั่งมันมีความอาจหาญชาญชัย สุดท้ายจิตใจดวงนั้นก็แน่นเหมือนกับหินทั้งก้อนหรือภูเขาทั้งลูก... ทีนี้ความที่เคยว่ากลัว ๆ คิดออกไปหาสิ่งที่น่ากลัวก็ไม่กลัว คิดไปถึงอันใด คำว่าน่ากลัวก็ไม่กลัวทั้งนั้น .. แม้เสือจะเดินมาต่อหน้าต่อตา มันจะเดินเข้าไปลูบคลำหลังเสือได้อย่างสบายเลยนะ ตามความรู้สึกมันแน่ในใจ ‘ยังงั้น’ ไม่คิดว่าเสือจะทำอะไรได้เลย นี่อาจเป็นความสำคัญผิดของตัวก็ได้ แต่จะสำคัญผิดหรือสำคัญถูกก็ตาม เมื่อจิตได้กล้าถึงขนาดนั้นแล้ว มันเดินเข้าไปลูบคลำหลังเสือได้จริง ๆ ด้วย จิตใจอ่อนโยน เมตตาสงสาร ไม่สะทกสะท้านในเรื่องว่าจะกลัว ความกลัวก็ไม่มี

จิตมันมีกำลังมากเวลานั้น เพราะไม่ให้มันออกนอก กำหนดเข้าเรื่อย ๆ มันก็มีกำลังจนแน่นปึ๋งเลย ขึ้นชื่อว่าอันตรายอะไรก็มาเถอะ ..ว่าอย่างนั้นเลยนะ มันอาจหาญขนาดนั้น เสือก็มา ช้างก็มา ไม่หนีว่าอย่างนั้นเลยนะ คือมันเป็นความอาจหาญของมันจริง ซึ่งเราก็ไม่เคยเป็นมาก่อน มาเป็นเอาตอนฝึกดัดสันดานในขณะกลัวนั่นแล ไม่คิดว่าเสือหรือช้างเป็นต้น จะมาทำลายเราได้เลย จะเดินเข้าไปหามันได้อย่างสบาย

แม้มันจะทำเรา ฆ่าเราให้ตายในขณะนั้น ก็รู้สึกว่าจะตายไปด้วยความอาจหาญนั่นเอง ให้ตายด้วยความกลัวนี่คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเวลานั้นจิตมันมีกำลังมาก นี่เป็นวิธีหนึ่งแห่งการระงับดับความกลัว แห่งการระงับความฟุ้งซ่าน ความก่อกวนตัวเองด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ระงับกันอย่างนี้

ทั้งนี้ตามแต่อุบายแยบคายของแต่ละราย จะผลิตขึ้นมาใช้เปลื้องตัวจากความจนตรอกในเวลานั้น ๆ เพราะธรรมหรือสติปัญญาไม่สิ้นสุดอยู่กับผู้ใด สามารถทำให้เกิดให้มีในแง่ต่าง ๆ ได้ด้วยกัน ...

เอ้า! คิดหมด..ในแดนโลกธาตุนี้กลัวอะไร จะมีสิ่งน่ากลัวแม้สิ่งหนึ่งมาปรากฏที่ใจนี้มีไหม ? .. ไม่มีเลย นั่น.. ฟังซิ นั่นละ เมื่อถึงขั้นจิตเป็น อัตตา หิ อัตตโน นาโถ คือช่วยตัวเอง ช่วยอย่างนั้น พึ่งตนเอง พึ่งอย่างนั้น อยู่กับตัวเองด้วยความแน่นหนามั่นคงก็อยู่แบบนั้น .. นี่เป็นสิ่งที่เราลืมไม่ได้ในชีวิต และการภาวนาของเราซึ่งไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น...”

ลัก...ยิ้ม 23-11-2012 11:47

สยบโรคฝีดาษ

“...ปีที่คนเป็นโรคฝีดาษ ฝีดาษนี้ได้เกิดขึ้น บ้านใหญ่ ๆ เป็นร้อย ๆ หลังคา บ้านแตกสาแหรกขาด หนีเข้าไปอยู่ในป่า คนหนีตายนี้ไปอยู่ได้หมดทุกแห่ง ไม่ว่าพุ่มไม้ ไม่ว่าที่ไหน ๆ หาที่หลบที่ซ่อนตัวได้ยิ่งกว่าสัตว์ เวลาคนกลัวตายนี่ กลัวมากกว่าสัตว์ แตกบ้านแตกเมือง..หมู่บ้านเดียวตายวันละ ๑๔ – ๑๕ - ๑๖ ศพ

เราเดินธุดงค์เที่ยวผ่านไปหมู่บ้านนั้น กับโยม ๒ คน คนเขาบอกว่า ‘จะไปหมู่บ้านนั้นทำไม ? ที่นั่นมีแต่ป่าช้าผีตาย

เราก็ว่า ‘ตัวเรานี้แหละ เป็นป่าช้าคนเป็น ถ้าไปจะเป็นอะไร ?’

เราผ่านเข้าไปตรงนั้น เห็นเขาตาย น่าสยดสยองกันทั้งบ้านทั้งเมือง โยม ๒ คนที่ไปด้วยเกิดความกลัว เราจึงว่า ‘ไป๊! เราไม่พากลัว ไม่ต้องกลัว’

ความตายมันอยู่กับเรา ไม่ได้อยู่กับที่นั่นที่นี่แหละ ถ้าเรายังมีลมหายใจ ถ้าเรายังมีลมหายใจแสดงว่าไม่ตาย เดินไปเลย ผ่านไปตรงนี้เลย มองดู ๒ ฟากทาง บ้านเรือนเป็นร้อย ๆ หลังคาไร้ผู้คน แตกหนีเข้าไปอยู่ตามป่า ตามพุ่มไม้ ตามที่ไหน ๆ ตามกอไผ่กอผา ที่ไหนหลบซ่อนไปอยู่หมด

นี่ละ มันถึงได้มองเห็นชัดนะ เห็นจริง ๆ ประจักษ์ตา เขาก่อไฟเอาไว้ ผู้ที่นอนตายเฝ้ากองไฟก็มี ผู้ร้องครางอยู่ตามกองฟืนกองไฟก็มี เราปลูกกระท่อมไว้หลังเล็ก ๆ ไปอยู่กับบ้านน้อย ๙ หลังคาเรือน เขาก็พากันแตกไปหาเรา

นี่ก็แปลกอยู่นะ ธรรมของพระพุทธเจ้าเห็นประจักษ์ ไม่ใช่อวดธรรม ไม่ใช่อวดตัวเอง เอาความจริงมาพูด นี่เราเห็นด้วยตา ไปก็ผ่านไปได้อย่างสบาย ไม่เป็นอะไรเลย เราก็ไปวัดตอนเช้ากำลังจะฉันจังหัน พวกเขารุมเข้ามาถามว่า ‘เป็นยังไงท่าน ท่านสบายดีอยู่หรือ ?’

‘จะเป็นอะไร ไปหาอะไรมาให้เรากิน เรากำลังหิวข้าว อย่ามาถามเรื่องความเป็นความตาย’

เราว่าอย่างนี้ จากนั้นพวกนั้นก็รุมเข้ามา นี่ก็เป็นภาระหนักอยู่ รุมกันเข้ามาอยู่เต็มบ้านน้อย อยู่ตามต้นไม้ แต่ก็เดชะนะ...ไม่เป็นอะไรแม้สักคนเดียว ผู้ที่วิ่งเข้ามาก็หายจากโรคฝีดาษ มันดลบันดาลอะไรนะ ธรรมของพระพุทธเจ้า

ใครเป็นแล้ว เขาห้ามไม่ให้เข้าเป็นอันขาดเลย นี่มันยังรอดเข้ามาได้ มาอยู่นั่นก็จะทำ ‘ยังไง’ ให้อยู่นั่นแหละ จะเป็นอะไรไป เราบอกทำกระต๊อบให้เขาอยู่เสีย ไม่ให้ออกมาเที่ยว ก็เดชะนะไม่เป็นอะไรเลย ๒ คนนี้หาย.. ไม่ตาย แล้วพวกนั้นก็ไม่เป็นอะไร

ทีนี้ตอนจะจากเขาไปละสิ โอ๊ย!...น่าทุเรศจริง ๆ นะ ถึงเวลาเราจะเข้าป่าไปทางภูสิงห์ ภูวัว ไปเที่ยวป่าทางโน้นแหละ เราไปคนเดียว ถึงเวลาจะไปร้องห่มร้องไห้เหมือนเด็กน้อยว่า

‘จะมีที่พึ่งที่ไหน ท่านจากไปแล้วก็หมดที่พึ่งเสียแล้ว’


‘ไม่หมดที่พึ่งทางใจ เอาพุทโธไว้นะ ให้จับพุทโธไว้ มีองค์ศาสดาอยู่ในหัวใจแล้วไม่เป็นไร ไม่ต้องกลัว นี่เราไป เราก็ไปกับพุทโธ ก็ให้อยู่กับพุทโธนะ’ เราก็บอกอย่างนี้...

พอเดือนมิถุนายน บทเวลาเราย้อนกลับมา เราถามว่า ‘เป็นยังไงทางนี้’

เขาบอกว่า ‘สบายดีอยู่ ไม่เป็นอะไร’

ตั้งแต่นั้นมาสบาย...หายหมด บ้านน้อยไม่เป็นไรสักคนเดียว นี่แหละ ... อำนาจแห่งธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ของเล่น ๆ ดับทุกข์เข็ญได้อย่างแท้จริง...”

ลัก...ยิ้ม 03-12-2012 14:46

พรรษาที่ ๑๑
(พ.ศ. ๒๔๘๗) จำพรรษาที่เสนาสนะป่ายาง บ้านท่าบ่อสงคราม
ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม



นิมิตภาวนารู้ ... โยมพ่อตาย

ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นพรรษาที่ ๑๑ ท่านจำพรรษาที่อำเภอศรีสงคราม ในตอนนั้นท่านกำลังออกเร่งประกอบความเพียร ที่ฉันภัตตาหารเป็นกระต๊อบหลังเล็กสำหรับฉันได้เพียง ๓ องค์ ส่วนที่พักทำเป็นแคร่สูงจากพื้นใช้หญ้ามุง

ท่านเล่าถึงภาพนิมิตที่เกิดขึ้นในคืนหนึ่งขณะนั่งภาวนา ดังนี้
“...จิตวิญญาณก็แปลกอยู่ จิตวิญญาณมันถึงกัน มันแปลกอยู่นะ เวลาประมาณตี ๓ ถึงตี ๔ นั่งภาวนาอยู่ แล้วปรากฏเห็นภาพโยมอาน้องพ่อเอาจดหมายมายื่นให้ในขณะภาวนา


พอยื่นให้ปั๊บ เรายังไม่ได้อ่านจดหมาย ความรู้มันก็รับกันทันทีว่า ‘พ่อเสียแล้ว’

พอออกจากที่ภาวนามาเล่าให้เพื่อนฝูงที่อยู่ด้วยกัน ๒ องค์ฟังว่า
‘วันนี้วันที่เท่าไร หมู่เพื่อนจดจำไว้นะ เมื่อคืนนี้ตอนผมนั่งภาวนาอยู่ เห็นภาพนิมิตเข้ามา เห็นโยมอาน้องพ่อเอาจดหมายมายื่นให้ พอยื่นปั๊บ ทางนี้รู้รับกันทันทีว่าพ่อเสียแล้ว’...”


จากนั้นท่านจึงจดวันที่ไว้ หลังจากนั้น ๗ วัน จดหมายก็ส่งมาถึงจริงตามนิมิตและเขียนบอกด้วยว่า “พ่อตายแล้ว”

ปรากฏว่าวันเวลาที่โยมพ่อของท่านถึงแก่กรรมเป็นเวลาเดียวกันกับที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ คือตี ๔ ตรงกับวันและเวลาที่จดไว้นั้นพอดี

ลัก...ยิ้ม 03-12-2012 14:57

สอนพญานาค

องค์หลวงตาได้กล่าวถึงหลวงปู่มั่น สมัยที่พักอยู่จังหวัดนครพนม ดังนี้

“...พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ท่านเล่าให้ฟังเองว่า ‘สมัยที่ท่านพักอยู่บ้านสามผง จังหวัดนครพนม พอตกกลางคืนตอนสามทุ่ม ขณะที่ท่านกำลังเทศน์พระเป็นจำนวน ๓๐ - ๔๐ รูป ท่านเทศน์ไปจิตส่งไป.. เห็นพญานาคอยู่เต็มฝั่งแม่น้ำสงคราม เขาพาบริษัทบริวารแห่มาขึ้นอยู่แน่นฝั่งเป็นทิวแถว เขาพากันมาเพื่อมาฟังเทศน์ท่าน เขาฟังเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามมาก เพราะใจขององค์ท่านไม่ได้เหมือนใจพวกเรา.. จ้าไปหมด มองไปไหนเห็นหมด'…”

ลัก...ยิ้ม 03-12-2012 15:20

จำน้องสาวไม่ได้ เพราะจากบ้านไปนาน

คราวหนึ่งในช่วงกำลังเที่ยวกรรมฐาน ท่านกลับบ้านมาทำบุญอุทิศให้โยมพ่อ แต่ก่อนไม่มีรถรา ในระหว่างทางเดินมาจากตัวจังหวัดอุดรธานี ท่านเดินสวนกับหญิงสาวรุ่นคนอายุราว ๑๖ - ๑๗ ปี หญิงสาวคนนี้ พอเห็นท่านปุ๊บก็ตรงเข้ามาไหว้นั่งกราบทันที ท่านเล่าเหตุการณ์ในช่วงนี้ ดังนี้

“...เขาผ่านทางมาเห็นเรา เขานั่งไหว้ นั่งกราบ ‘เอ๊ ! เด็กที่ไหนดูลักษณะเข้าที แสดงว่าจะเข้าใจในศีลในธรรมพอประมาณ’ จากนั้นก็เลยถามว่า ‘มาจากไหน ?’


‘มาจากบ้านตาด’

‘แล้วจะไปไหน ?’

‘จะไปอุดรฯ’

‘อยู่บ้านไหน ?’ เราถามซ้ำอีกที

‘อยู่บ้านตาด’

เขาเคอะ ๆ เขิน ๆ นะพอถูกถามว่าอยู่บ้านไหน ? ถามไปถามมา.. เราก็เลยถามว่า ‘เป็นใคร ?’ เขาเลยหัวเราะ เราไม่รู้ว่าเขาเป็นน้องเรา เราถามอย่างนั้นเขายิ้ม ๆ แล้วก็หัวเราะ
‘หือ...มึงหัวเราะหาอะไร บอกมาซิ’


‘อู๊ย... ไม่ทราบว่าจะบอกยังไง’ ก็ถามจุดไต้ตำตอ พี่กับน้องถามกัน ไม่รู้กัน เราไม่รู้เขา ตัวเขาเท่ากำปั้นเวลาเราบวช เวลามาเจอเขา .. เขาเป็นสาวแล้ว อายุได้ ๑๖ - ๑๗ ‘ละมั้ง’

ถามไปถามมา ‘แล้วเป็นใครล่ะ’ เขาก็ยิ่งหัวเราะ เขาไม่กล้าตอบ เราก็เลยเดาเอานะ ‘อีจันดีหรือ ?’ ตอบว่า ‘ใช่แล้ว’

‘โอ๊ย.. อีผีบ้า กูไม่รู้ว่าเป็นมึง มึงเชื่อหรือว่าเป็นน้องกูน่ะ ถ้ามึงเชื่อว่าเป็นน้องกู กูบวชเมื่อไร..มึงรู้ไหม?

มันว่า ‘ไม่รู้’

‘แล้วมึงว่าเป็นน้องกูได้ยังไง ?’

‘ก็พ่อกับแม่พูดอยู่ตลอด’

…นางจันดีนี้ แต่ก่อนตัวมันเท่ากำปั้น เราจำไม่ได้.. ตอนเราบวช ดูอายุเขาจะ ๔ ขวบ ‘มั้ง’ ? ยังเป็นเด็ก เขาว่าไม่ทราบก็ถูกต้องแล้ว

อย่างนั้นละ พี่กับน้องไม่รู้กัน ก็บวชแล้วไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับบ้าน พอบวชแล้วไปเลย พี่ ๆ น้อง ๆ อะไรไม่เคยสนใจนะ เหมือนทั่วไปในโลกนี้ ไม่มีใกล้มีไกล บ้านน้อง ๆ ไม่เคยเข้าไปเหยียบเลยนะ เหมือนกันหมด...”

ลัก...ยิ้ม 04-12-2012 11:12

นกเขียน...คู่พึ่งเป็นพึ่งตาย

สมัยที่ท่านท่องเที่ยวภาวนาอยู่ทางอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม บรรยากาศตามท้องทุ่งมีนกกระเรียนและนกเขียนลงหากินเป็นฝูง ๆ ขณะที่นกเขียน ๒ ตัวผัวเมียกำลังหากินอยู่นั้น เหตุการณ์น่าสลดสังเวชก็เกิดขึ้นจากน้ำมือนายพรานผู้ใจบาป ดังนี้

ตัวผัวถูกนายพรานยิง พอตัวผัวถูกยิง ตัวเมียบินร่อนขึ้นไปข้างบน ร่อนดูผัวตัวเองถูกปืนกำลังดิ้นทุรนทุรายตายอยู่ต่อหน้า มันเสียใจมาก จึงฆ่าตัวตายตามโดยบินดิ่งหัวปักลงพื้นดินคอหักตายทันที ตายลงตรงซากศพผัวมันนั่นเอง


ท่านให้ข้อคิดคติธรรมจากเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า มนุษย์เราต่างก็มีความจำเป็น และหวังความช่วยเหลือระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มนุษย์อยู่ด้วยกันก็หวังพึ่งกัน หากมนุษย์อยู่ด้วยกันพึ่งกันไม่ได้ย่อมไม่มีความหมาย สู้สัตว์ไม่ได้ สัตว์เขายังช่วยกัน ท่านยกเอาเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ว่า

แม้สัตว์เขายังรักกัน เขายังช่วยกันถึงขั้นสละชีวิตยอมตายด้วยกัน ส่วนนายพรานนั่นก็คงดีใจที่ได้นกเอาไปกินทั้งสองตัว มันดีใจจะได้ไปตกนรกนะสิ นกสองผัวเมียนั้น เขาตายด้วยความเสียใจสุดขีดถึงชีวิตสละได้เลย ส่วนตัวนายพรานนี้ก็ดีใจสุดขีดว่า ยิงนัดเดียวได้นก ๒ ตัว ป่านนี้ไอ้คนที่ฆ่าไปจมอยู่ในนรกนั่นแหละ

ลัก...ยิ้ม 06-12-2012 11:25

สอนเศรษฐีบ้านนอก

อีกคราวหนึ่งระหว่างเดินกรรมฐานไปทางอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ท่านได้รับนิมนต์ให้เป็นองค์เทศน์ในงานทำบุญบ้าน บทธรรมที่ท่านแสดงในวันนั้น สามารถพลิกชีวิตชายผู้เป็นเศรษฐีคนหนึ่งได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังนี้

“...มีเศรษฐีสองผัวเมีย อายุราว ๕๐ ปี เงินทองข้าวของในสมัยนั้นเรียกว่าค้าเงินหมื่น คนถ้าลงมีเงินหมื่นแล้วร่ำลือกัน เงินล้านสมัยนี้สู้ไม่ได้ สองผัวเมียเขามีเงินเป็นหมื่น ๆ เวลาจะทำบุญให้ทานก็ไม่อยากทำ ผัวไปซื้อของไปจ่ายตลาด ถือตะกร้าเปล่าไปฉันใดก็ถือตะกร้าเปล่ากลับมาฉันนั้น คือซื้อไม่ลงตระหนี่ถี่เหนียว จะซื้ออะไรมากินซื้อไม่ลง ซื้อไม่ได้ ความตระหนี่ไม่ยอมให้ซื้อ แต่มีดีอันหนึ่งพอกลับมาแล้ว เมียถามว่า ‘ทำไมไม่ซื้อของมา’


‘โอ๊ย! ข้อยซื้อไม่ลง เจ้าไปซื้อซะไป๊’ จึงให้เมียไปซื้อแทน

พอเมียไปซื้อ ซื้อมาเท่าไรไม่เคยถามนะ ว่าราคาเท่าไรอันนั้นราคาเท่าไร ๆ กินได้สบาย คือเจ้าของไม่เชื่อตัวเอง นี่ข้อหนึ่งที่เป็นคติอันดี...

วันนั้นเผอิญเราเดินกรรมฐานไปทางนั้น เขานิมนต์เราเป็นองค์เทศน์ เราก็เทศน์ให้ฟัง เทศน์ไปโดนเอาใจดำแก ‘ยังไง’ ไม่รู้นะ จากนั้นแกไปทำงานทำการอะไร .. ไม่พูดทั้งวัน นั่งก็ขรึม เดินก็ขรึม ทำอะไรก็ขรึมไปหมด เคร่งขรึมตลอดเวลา ผิดสังเกต

หมู่เพื่อนจึงถามว่า ‘อ้าว ! เป็นยังไงเพื่อน แต่ก่อนก็เห็นรื่นเริงบันเทิง วันนี้ทำไมถึงเงียบ ๆ ตลอด เป็นอะไรได้รับความทุกข์ความทรมานอะไรบ้าง ? ถึงเป็นอย่างนี้’

‘อ๋อ! ..เรื่องความทุกข์ก็ถือหรือความสุขก็ไม่น่าจะผิด’ แกว่า

‘อ้าว! มันเป็นยังไง ว่าให้ฟังบ้างสิ’ เพื่อนถาม

‘เพื่อน…ก็เมื่อเช้านี้เราไปในงานเขา เขาทำบุญบ้าน ท่านมหาบัวเป็นองค์เทศน์ ท่านเทศน์ถึงเรื่องความตระหนี่ถี่เหนียว แล้วพูดถึงเรื่องความเสียสละ ความตระหนี่ถี่เหนียวมันมากองอยู่กับเราหมด ท่านก็เทศน์ว่าตายไปไม่ได้อะไร เราก็พิจารณาดู.. ตายเราจะเอาอะไรไป เราก็ไม่ได้อะไร!! ตรงนี้ละเศร้าโศก เงินทอง ข้าวของมีมากมีน้อย เท่าไรก็ไม่เป็นประโยชน์ ลูกก็ไม่มี อยู่กันผัวเมียสองเฒ่าเท่านั้นแหละ เลยเกิดความเศร้าโศกเหงาหงอย

แล้วพลิกใจ แต่นี้ต่อไปจะไม่เป็นคนประเภทนี้อีก จะเป็นนักทำบุญให้ทาน หมดก็หมด เป็นก็เป็น ตายก็ตาย ตระหนี่เราก็เคยตระหนี่มาแล้ว ความสุขก็ไม่เห็นมีเท่าไร ก็เหมือนโลก ๆ เขาดี ๆ นี่เอง ดีไม่ดีทุกข์กว่าเขาอีก เพราะเรามีสมบัติมากด้วย เราตระหนี่ถี่เหนียวมาก ต้องหึงหวงมาก เป็นทุกข์กว่าโลกเขามาก คราวนี้จะต้องแบ่งให้กินให้ทาน ให้สม่ำเสมอดั่งที่ท่านว่า’

ตั้งแต่นั้นมาแกเปลี่ยนเป็นคนละคน เมียจะไปจ่ายตลาดก็ไป ผัวไปจ่ายตลาดจ่ายได้สบายเลย ทำไมแกพลิกได้ขนาดนั้น แล้วการทำบุญให้ทาน นี่..จนเป็นหัวหน้าเขาเลย มีงานอะไร ๆ เขาต้องมาเชื้อเชิญแก...”

เวลาผ่านไปหลายปีนับแต่วันนั้นมา ท่านมีโอกาสพบกับชายเศรษฐีคนนี้อีกครั้งในงานศพหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ท่านเล่าว่า
เราก็นึกว่าแกตายไป ๕ ทวีปแล้วนะ แกเข้ามาหา ได้บวชเป็นพระ เข้ามากราบทักถามว่า ‘ท่านมหา... ท่านจำผมได้ไหม ?’..”


เศรษฐีคนนั้นเล่าชีวิตของแกให้ท่านฟังว่า “ผมได้เป็นผู้เป็นคนมาก็เพราะท่านมหา อยู่ไหนก็ตามผมกราบท่านไม่ลืมเลย ผมไม่นึกว่า ผมจะได้พบท่านมหาอีก วันนี้ยังมาพบกันจนได้ บุญผมมี ท่านมหาเป็นคนลากผมขึ้นจากนรก ผมเป็นผู้เป็นคนมาทุกวันนี้เพราะท่านมหาเทศน์อยู่ที่บ้าน ผมเป็นผู้เป็นคนมาตั้งแต่บัดนั้น

เวลานี้ผมชื่นบานหรรษาภายในจิตใจ การทำบุญให้ทานผมก็ไม่อัดไม่อั้น ทานเสียเต็มที่แล้วก็มาบวช เสียสละไปหมดเลย ความตระหนี่ถี่เหนียวก็เคยตระหนี่ ความเสียสละก็เคยเสียสละ เสียสละจนบวช ผมนี่เต็มภูมิ เต็มภูมิทั้งสอง”

พอเล่าจบลง แกก็ก้มลงกราบแล้วกราบเล่า ด้วยเห็นบุญเห็นคุณของท่านมิรู้ลืม

ลัก...ยิ้ม 07-12-2012 11:44

ถวายลูกเป็นน้องชาย

ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๗ - ๒๔๘๘ ท่านได้มาเที่ยวกรรมฐานแถวบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้พบกับโยมคนหนึ่ง ซึ่งรู้สึกผูกพันกับท่านถึงขนาดขอถวายลูกชายซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ ให้เป็นน้องชายของท่านเลยทีเดียว ดังนี้

“...ท่านอาจารย์เกิ่งนี้ก็เป็นคนสามผง ลูกศิษย์ชั้นผู้ใหญ่องค์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ท่านอาจารย์เกิ่งนี้ แต่ก่อนท่านเป็นอุปัชฌาย์ ท่านอาจารย์เกิ่ง อาจารย์สีลานี้ ล้วนแล้วแต่เคยเป็นอุปัชฌาย์มาก่อนในฝ่ายมหานิกาย แล้วเกิดความเคารพเลื่อมใส เมื่อได้ยินได้ฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นเราแล้ว หลวงปู่มั่นไปกรรมฐานที่บ้านสามผงที่ตั้งวัดอยู่ทุกวันนี้ แต่ก่อนเป็นดง เลยยกวัดญัตติใหม่หมดเลย อุปัชฌาย์ท่านอาจารย์เกิ่งนี้องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สีลา บ้านวา อากาศอำนวยนี้องค์หนึ่ง โละหมดอุปัชฌาย์ ญัตติเป็นธรรมยุตเป็นกรรมฐานทั้งหมดเลย เจ้าคุณธรรมเจดีย์ไปญัตติให้ทางสามผง เอาโบสถ์น้ำ สีมาน้ำ บวช


ท่านอาจารย์เกิ่ง ... ยกขบวนไปญัตติเลย ญัตติทั้งวัด ๆ อุปัชฌาย์เกิ่งหมดหมดทั้งวัด อุปัชฌาย์สีลาก็ยกหมดทั้งวัด ญัตติใหม่ นี่เป็นลูกศิษย์องค์สำคัญของท่านองค์หนึ่ง ก็คงเป็นนิสัยวาสนาจะเกี่ยวโยงอะไรกันมากับท่านนั่นแหละ นี่ละสายบุญสายกรรม หากเป็นมาเองนะ ท่านได้รับการอบรมกับหลวงปู่มั่นมาเต็มที่แล้ว จากนี้ท่านก็แยกออกไปนู่น ลงชลบุรี ไปทางชลฯ ท่านเลยไปตั้งวัด นั่นท่านอาจารย์เกิ่งนะนั่น

เหตุที่ท่านเหล่านั้นจะเข้าอกเข้าใจทางด้านธรรมปฏิบัติ ก็ท่านอาจารย์เกิ่งไปพักที่นั่น ตั้งที่นั่น ไปอยู่หลายปีนะ บางพระ ท่านไปพักที่นั่นหลายปี แล้วแถวนั้นท่านตั้งสำนักไว้ในที่ต่าง ๆ ตามประชาชนเขาขอร้องให้สร้างวัด ท่านเป็นพระที่จริงจังมากนะ เด็ดเดี่ยว ท่านอาจารย์เกิ่ง เราก็คุ้นกับท่านอยู่แล้ว ... ท่านจริงจังมาก ข้อวัตรปฏิบัติเคร่งครัดทางธรรมวินัย

นี่..มหาอาบ* นี่เป็นคนบ้านสามผง เป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์เกิ่ง แล้วท่านถวายกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ไปเป็นลูกศิษย์สมเด็จพระมหาวีรวงศ์เรา ลูกศิษย์เดียวกัน อาบนี่ก็เป็นน้องชาย ลูกอยู่ทางกรุงเทพฯ เรามาเที่ยวทางนี้.. เราไปเที่ยวทางบ้านสามผง พ่อของมหาอาบนี่มาเห็น.. จะถูกชะตากัน ‘ยังไง’ ไม่ทราบนะ เราก็แบบเดียวกันนี้แหละ เราก็ไปองค์เดียวของเราเที่ยวกรรมฐาน ไปแวะพักที่วัดป่าสามผงนี้เป็นวัดท่านอาจารย์มั่นสร้างขึ้น วัดสามผงนี่วัดป่า เดี๋ยวนี้มันก็ลุกลามเข้าไปแหละ บ้านถึงแล้ว แต่ก่อนห่างตั้งกิโล อยู่ในดงเสือนะนั่นน่ะ เสือเข้ามาในวัด ในตอนที่เราไปนั้นก็ยังมี เพราะมันเป็นดงต่อกับดงใหญ่โน้น ยังไม่ได้ถูกทำลาย

ตอนที่เราไปเที่ยว พ.ศ. ๘๗ - ๘๘ ‘มั้ง’ เราไปเที่ยวแถวนั้น นี่แหละ พ่อเลยมาถูกชะตากัน ‘ยังไง’ ไม่ทราบ กับเรานะ เลยขอลูกชายทางโน้น พ่ออยู่ทางนี้
‘ขอถวายลูกอยู่กรุงเทพฯ อยู่ทางโน้นให้เป็นน้องชาย


ว่า ‘งั้น’ นะ มหาอาบถึงได้เป็นน้องชายมานี่ เข้าใจไหม พ่อนะถวาย ลูกอยู่กรุงเทพฯ พ่อถวายเป็นน้องชาย เราไปพักอยู่ที่นั่น แต่ก่อนมันเป็นดงใหญ่ตรงนั้น ตอนที่เราไปป่ายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลยนะ พ.ศ. ๘๗ - ๘๘ เป็นดงธรรมชาติ ๑๐๐% วัดป่าก็เป็นวัดป่าจริง ๆ เป็นดงเสือ มันอยู่ข้าง ๆ มากัดหมูในวัดก็มี...

ท่านอาจารย์เกิ่งเป็นคนเด็ดเดี่ยวจริงจังมากทุกอย่าง คล้ายคลึงกับนิสัยพ่อแม่ครูจารย์มั่นเรา นิสัยเด็ดเดี่ยวจริง ๆ ว่าอะไรเป็นอันนั้นเลยเทียว นี่ละ หลวงปู่มั่นเราเป็นอย่างนั้น เด็ดเดี่ยว ว่าอะไรเป็นอันนั้น ท่านอาจารย์เกิ่งก็เหมือนกัน นิสัยแบบเดียวกัน มาพบก็คุยกันสนิทสนมกันอยู่กับท่านนะ

ตอนที่คุยกันพอสมควรก็คือ ตอนที่ท่านมากราบเยี่ยมพ่อแม่ครูจารย์มั่นที่บ้านโคกนามน สกลนคร ท่านมาจากเมืองชลฯ มีลูกศิษย์ตาผ้าขาวมาคนหนึ่ง แล้วมีพระติดตามองค์เดียว เพราะท่านบอก ท่านมาชั่วคราวแล้วท่านจะกลับ ท่านว่า ‘งั้น’ กลับเมืองชลฯ ก็ได้คุยกันตรงนั้นแหละ ... เราดูลักษณะแล้ว ดูลักษณะท่าทางตอนท่านไปนามน เพราะได้ยินชื่อของท่าน มันต้องดูซิ เพราะเราได้ยินชื่อมาก่อน ถ้าปรากฏว่ามีชื่อเสียงอยู่บ้างแล้ว มันยิ่งจะดูถนัดนะ เรามันเป็นนิสัยอย่างนั้น ดูจริง ๆ

ท่านอาจารย์เกิ่งมีวาสนาน่าเกรงขาม ท่านเด็ดขาด ท่านก็คุยกับเราบ้างเล็กน้อยในฐานะว่าเราเป็นมหาแหละ อยู่บ้านนามน จากนั้นท่านก็ไปบ้านสามผง แล้วก็กลับออกลงไปทางนู้นอีก ดูลักษณะท่าทางของท่านสำคัญอยู่...”

================================

ปัจจุบัน รศ.อาบ นคะจัด อดีตมหาเปรียญ ๖ ประโยค เป็นอาจารย์สอนทางเกษตรศาสตร์ เวลามีปัญหาด้านภาวนาก็จะถามองค์หลวงตา เพราะลงใจสุดขีดกับท่านทางภาคปฏิบัติ เนื่องจากภาคปฏิบัติเคยอยู่ด้วยกันมาแล้ว

ลัก...ยิ้ม 11-12-2012 11:22

พระอาจารย์เกิ่ง บางพระ ชลบุรี

“...ท่านอาจารย์เกิ่ง ท่านเป็นพระที่จริงจังมากนะ เด็ดเดี่ยว ... อันนี้เราไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเอง ได้ทราบว่าอัฐิของท่านกลายเป็นพระธาตุนะ... แต่เรายังไม่ได้ไปเห็นจริง ๆ ที่ว่าเป็นพระธาตุแล้วนะ เรายังไม่ไปเห็น แต่เราก็เชื่อไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว เพราะเชื่อปฏิปทาการดำเนิน ความสัตย์ความจริงของท่าน เคร่งครัดในธรรมวินัยมาก ลูกศิษย์ลูกหาอยู่ทางจังหวัดชลฯ น้อยเมื่อไร ลูกศิษย์ลูกหาท่านอาจารย์เกิ่งนี่ ทั้งพระทั้งอะไรนะ ประชาชนก็เยอะ พระก็เยอะ แล้วจากนั้นก็ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ ...

พระกรรมฐานเราเกี่ยวโยงกันตั้งแต่โน้นละ ตั้งแต่ท่านอาจารย์เกิ่งไปเป็น รู้สึกจะเป็นครั้งแรกเลย.. ทางฝ่ายกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นลงไปทางเมืองชลฯ นะ มีท่านอาจารย์เกิ่ง จากนี้ก็องค์นั้นไป องค์นี้ไป ท่านอาจารย์เกิ่งเป็นหลักอยู่นั้นนาน โอ๊ย...หลายปีนะ เราไปพบกันอยู่ที่สกลนคร ที่ท่านมาเยี่ยมหลวงปู่มั่น พบกันกับเราที่สกลนคร


ตอนนั้นท่านอยู่จังหวัดชลฯ อยู่นะ ท่านยังไม่มา ท่านมาเยี่ยมบ้านของท่านด้วยความจำเป็น แล้วก็มากราบพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ก็ได้พบกันกับเราที่สกลนคร จากนั้นท่านก็กลับไปเมืองชลฯ คือตอนนั้นท่านยังอยู่โน้น ท่านยังไม่มา ตอนแก่นี่ท่านถึงได้ย้ายมาทางสามผง ก็มามรณภาพทางนี้

โห... ท่านเป็นพระเด็ดเดี่ยวมากนะ แต่เรายังไม่ได้เข้าไปดูที่สำนักของท่าน.. บางพระ ว่าอยู่บางพระ ว่า ‘งั้น’ นะ จังหวัดชลฯ ผ่านไปผ่านมาแถวนั้นหากไม่ได้เข้า ท่านอยู่จริง ๆ สำนักนั้นอยู่ที่ตรงไหน บอกแต่ว่าบางพระเท่านั้นแหละ ท่านอยู่นาน แล้วแถวรอบ ๆ นั้นยังมีนะ แตกสาขาออกไป

พวกพระพวกอะไรที่มารับการศึกษาจากท่าน เป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านกระจายออกไป ตามเกาะตามอะไรก็มีอยู่ทางนั้นนะ เราไปอะไรเขาเลยบอก นี่..สำนักนี้เราลืมแล้วแหละ เราไปเห็นสำนักนี้ก็ท่านอาจารย์เกิ่ง.. ท่านมาสร้าง พาลูกศิษย์มาสร้างที่นี่ ไม่ใช่บางพระนะ แถวนั้นแหละ เป็นเกาะอะไรไม่รู้ เราก็ไปซอกแซก มันก็ดื้อเหมือนกันนั่นแหละ ไปที่นั่นที่นี่ เห็นหมด ท่านเป็นพระที่น่าเคารพมาก ...

พูดถึงเรื่องท่านอาจารย์เกิ่ง ท่านไปทำประโยชน์ทางเขตเมืองชลฯ นี้มากที่สุด ดูว่าไม่ได้ไปทางระยองนะ ทราบว่าอยู่เขตเมืองชลฯ กว้างขวาง สำนักต่าง ๆ ออกจากท่านองค์เดียว มีลูกศิษย์ลูกหาไปตั้งสำนัก มีความเคารพเลื่อมใส บวชอยู่กับท่าน แล้วก็แยกออกไปตั้งหลายแห่ง จนกระทั่งทุกวันนี้ นี่ท่านอาจารย์เกิ่ง ทราบว่าอัฐิของท่านกลายเป็นพระธาตุแล้ว แต่เรายังไม่ได้เห็น แต่เราค่อนข้างจะเชื่อไว้แล้ว ถึงยังไม่เห็นก็ตาม เพราะเชื่อปฏิปทาของท่าน ... ตอนที่ได้คุยกันพอสมควรก็คือ ตอนที่ท่านมากราบเยี่ยมพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นอยู่สกลนคร ท่านมาจากเมืองชลฯ จากนั้นก็ได้พบกันทางสามผงอีกทีหนึ่งนะ ตอนท่านย้ายมาแล้ว ท่านแก่แล้ว ได้พบกันทีหนึ่ง ปีท่านอยู่สามผงเป็นอุปัชฌาย์ ญัตติมาอยู่นั้น ท่านอาจารย์สีลาก็เสียแล้ว ท่านก็เสียแล้วแหละ...”

ลัก...ยิ้ม 12-12-2012 11:34

วิชาจับเสือที่บ้านสามผง

อีกเรื่องหนึ่งในคราววิเวกที่บ้านสามผงแห่งนี้ ท่านได้พบกับโยมคนหนึ่ง.. เคยเป็นพระลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ดังนี้

“...มีอีตาคนหนึ่ง แกเรียนวิชาจับเสือมา เขาเล่าให้ฟัง แกชื่อหอม เป็นลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ตอนนั้นแกสึกแล้วแหละ แกมีครอบครัวอยู่ทางสามผง เขาเล่าให้ฟัง พอดีแกก็มาวัด ก็แกลูกศิษย์พระนี่ ก็ลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ มาก็เลยถาม ‘ทราบว่าเรียนวิชาจับเสือได้จริง ๆ หรือ ?’


‘ก็จับได้บ้างแหละครับ’ แกก็ปิดตามหลักวิชาของเขา เขาไม่เปิดเผย

คือวิชาถ้าพูดเปิดเผยนักเป็นการโอ้อวด วิชาไม่ขลัง เขาก็ต้องรักษาตามหลักวิชาของเขา เราก็ซอกแซกถาม นี่ละที่ว่าแกมาไล่เสือในนี้ เสือโคร่งใหญ่มันมาอยู่ข้างวัดนั้นนะ มันไม่หนี วัวปล่อยเข้าไปทีไร มันกัดเอา ๆ แกก็เข้าไปไล่เสือ มันกลัวมากนะเสือ ๆ กลัวแกมากนะ แกเคยจับได้เสือดาวตัวหนึ่ง แกเล่าให้ฟัง ไล่เสือดาว ได้เสือดาวตัวหนึ่ง แกจับได้จริง ๆ นะ กัดแกไม่เข้า นี่เรียกว่าเสือกลัวมาก อย่างนั้นแหละวิชา นี่พูดต่อหน้ากันเลย เราก็เป็นนิสัยอย่างนี้.. ซอกแซก เรื่องถามนี้ละเอียดไปเลยแหละ ไม่ว่าอะไร.. ถามแกละเอียดลออ แกบอกว่า แกจับจริง ๆ แหละ ‘เสือโคร่งแกจับได้ไหม ?’

‘ถ้าเจอก็คิดว่าจะจับได้’

นั่นแกว่า คิดว่าจะจับได้ ความจริงคือ จับได้ว่า ‘งั้น’ เถอะนะ เพราะฉะนั้น แกจึงไปไล่เสือในนั้นออกหมดเลยนะ ถ้าแกไปไหน เสือแตกฮือ ๆ เลย ..กลัวแกมากนะ กลัวอีตาคนนี้ ไม่ทราบเป็น ‘ยังไง’ นี่ละวิชา เขาเรียกวิชา เข้าดงนั้นเสือแตกหนีหมดเลย ถ้าเวลาเสือมันมากัดวัวแล้วก็บอกแก แกก็มาเข้าไปหาเลย แกไม่มีปืนผาหน้าไม้แหละ เข้าไปเฉย ๆ แต่เสือแตกฮือเลย..กลัว นี่วิชาเสือ มันเหมือนกับวิชาขี่เสือ...

ลัก...ยิ้ม 13-12-2012 11:13

เสือกลัวหลวงปู่ตื้อ

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นองค์หนึ่ง มีจิตใจกล้าหาญชาญชัยมาก ท่านมีอายุพรรษามากกว่าองค์หลวงตา ในเรื่องที่ว่าเสือเกรงกลัวท่านนั้น องค์หลวงตาเล่าความเป็นมาดังนี้

“...อย่างหลวงปู่ตื้อ ดังที่ผู้เฒ่าเล่าให้ฟัง คือคาถาของผู้เฒ่าเป็นคาถาที่ทำให้เสือใจอ่อน กลัว ใจไม่มีกำลังจะต่อสู้ คาถามันครอบเอา อำนาจของคาถาครอบเอาไว้ เสือใจอ่อนลงไปเลย ทำอะไรไม่ได้ ท่านมีคาถาขู่เสือ เป็นครูเสือก็ได้ ขู่เสือก็ได้... หากครูแบบหนึ่ง เป็นครูแบบพระ ไม่ได้ขี่เสือ


หลวงปู่ตื้อ บ้านข่าสามผง เราเคยไปพักอยู่เหมือนกัน แต่ก่อนไปภาวนา เสือชุมมากแถวนั้น หลวงปู่ตื้อท่านมีคาถาเป็นครูเสือ ไปอยู่ไหนเสือมักมานอนเฝ้าอยู่รอบ ๆ ข้าง ๆ ที่พักท่าน ท่านไปอยู่แม่ฮ่องสอน ไม่อยู่ในป่า เสือก็มาอยู่ด้วย เสือโคร่งใหญ่นะ มันมาแอบอยู่ด้วย

ผู้เฒ่าไม่ได้สนใจกลัวมันแหละ เพราะเป็นครูมัน คนอื่นนั่นซิ พระไปอยู่ด้วย พอดีกลางคืนพระปวดเบาจะออกมาเบา ออกมา.. เสือมันนอนอยู่ข้าง ๆ เสือฮ่า ๆ ใส่ เสียงร้องจ้า.. วิ่ง

มันไม่มีอะไร มันจะเป็นอะไร มันไม่เป็นไรหรอก’ หลวงปู่ตื้อบอก ‘ไม่เป็นไร..มันตื่น..บางทีมันอาจทักทายเฉย ๆ ก็ได้’


ท่านว่าอย่างนั้น มันโฮก ๆ ใส่ท่าน พระก็โดดเข้ากุฏิ กุฏิพังกระมัง ? พระองค์นั้นมาอยู่ได้คืนเดียว วันหลังเผ่นเลย กลัวเสือ ‘โอ๊ย..อยู่ไม่ได้แล้ว’

‘ไม่เป็นไรหรอก อยู่จะเป็นไรไป มันก็อยู่กับคนดีแล้วนี่’ ท่านว่า ‘งั้น’ นะ

มันอยู่แอบ ๆ อย่างนี้ไม่ออกมาหาคนหรอก บางทีก็เห็นตัว บางทีไม่เห็น มันอยู่ในป่า คนอยู่อย่างนี้ แต่ถ้ามีคนแปลกหน้ามามันคำรามนะ ท่านว่าให้มันทำ มันไม่ทำหรอก เพราะมันเป็นหมาของพระ..ว่า ‘งั้น’ เถอะ รักษาเจ้าของ ใครมาแปลก ๆ หน้านี่ไม่ได้ มันขู่คำราม ‘ว่างั้น’
‘...อย่าไปขู่เขานะ...’


พอท่านว่า ‘ยังงั้น’ มันก็เงียบเลย เวลาท่านไปไหนมาไหน เสือมักจะตามไปรักษาท่าน รักษาเงียบ ๆ นะ มันอยู่ในป่า..เสือ ท่านไปพักภาวนานี่ เสือมักจะมาอยู่ข้าง ๆ ถ้ามีคนแปลกหน้ามา เราถึงจะรู้ว่ามีเสือนะ ถ้าไม่มีคนแปลกหน้ามาก็เหมือนไม่มีเสือ มันไม่แสดงตัว มันอยู่รอบ ๆ ข้าง ๆ ถ้ามีคนแปลกหน้ามา พระแปลกหน้ามา มันคำรามใส่ บางทีขู่คำรามเฮ่อ ๆ ใส่ พระเลยตกใจร้อง ‘เสือ ๆ’

หลวงปู่ตื้อบอกว่า ‘โอ๊ย...ไม่เป็นไรหรอก มันรักษาพระ มันอยู่นี้เป็นประจำ ไม่เป็นไร ไม่ต้องกลัวมัน’

นี่หลวงปู่ตื้อเป็นอย่างนั้นนะ ท่านว่าข้ามไปเที่ยวตั้ง ๕ อำเภอ มันยังตามไปนะ เสือตัวนี้ อันนี้เรายังไม่เล่าให้ฟังถึงเรื่องเจ้าคณะอำเภอ เขาจะมาขับไล่ท่าน อันนี้ขบขันดีนะ

ตอนกลางคืน แต่ก่อนไม่มีไฟฟ้า มีแต่ตะเกียงเจ้าพายุ เจ้าคณะอำเภอเห็นท่านไปอยู่ในป่าจะมาขับไล่ท่าน จุดตะเกียงเจ้าพายุหิ้วมากลางคืนจะมาขับไล่ท่าน พอมาถึงวัด เสือตัวนั้นออกมาคำรามใหญ่เลย เฮ่อ ๆ ทางนี้เปิดเลย ตะเกียงเจ้าพายุคงจะตกฟากแม่น้ำโขง..ไปใหญ่เลย

ตกลงเสือขับเสียก่อน คณะที่มานั้นยังไม่ได้มาขับหลวงปู่ตื้อหรอก ถูกเสือขับเสียก่อนแล้ว เผ่นใหญ่เลย ไปใหญ่เลย แตกทั้งญาติทั้งโยมทั้งพระ แตกไปด้วยกัน ฮือ ๆ เลย เสือมันคำรามใส่ มันยังไม่ทำอะไรหรอก มันก็เหมือนกับหมามีเจ้าของ ก็คาถาท่านครอบไว้นี่ มันกลัว..ใจมันลง มันไม่ถือเป็นข้าศึก ถือเป็นเหมือนเจ้าของ...”

ลัก...ยิ้ม 14-12-2012 14:16

พรรษาที่ ๑๒-๑๖
(พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๒) จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองฝือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ข้อวัตรปฏิบัติ ณ วัดป่าบ้านหนองฝือ

ในช่วงจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองฝือ หลวงปู่มั่นพักอยู่ด้วยความผาสุก พระธุดงค์ที่ไปอาศัยร่มเงาท่านก็ปรากฏว่าได้กำลังจิตใจกันมาก แม้จะมีจำนวน ๒๐-๓๐ องค์ในพรรษา ต่างก็ตั้งใจปฏิบัติต่อหน้าที่ของตน ๆ ไม่มีเรื่องราวให้ท่านหนักใจ มีความสามัคคีกลมกลืนกันดีมากราวกับอวัยวะเดียวกัน

ยามเช้าเมื่อฉันจังหันเสร็จแล้ว ต่างองค์ต่างก็เข้าหาทางจงกรมในป่ากว้าง ๆ ติดกับวัด ทำความเพียรเดินจงกรมนั่งสมาธิตามอัธยาศัย จวนบ่าย ๔ โมงถึงเวลาปัดกวาดลานวัด ต่างก็ทยอยกันออกมาจากที่ทำความเพียรของตน ๆ พร้อมกัน ปัดกวาดลานวัดเสร็จแล้วจึงขนน้ำขึ้นใส่ตุ่มใส่ไหน้ำฉัน น้ำล้างเท้า ล้างบาตรและสรงน้ำ หลังจากนั้นต่างก็เข้าหาทางจงกรมทำความเพียรตามเคย

ถ้าไม่มีการประชุมอบรม ก็ทำความเพียรต่อไปตามอัธยาศัยจนกว่าจะถึงเวลาพักผ่อน ปกติ ๗ วันท่านจัดให้มีการประชุมครั้งหนึ่ง หากมีผู้ประสงค์จะศึกษาธรรมเป็นพิเศษ หรือถามปัญหาธรรมกับท่านก็ไม่ต้องรอจนถึงวันประชุม สามารถหาโอกาสที่ท่านว่าง เช่น ตอนหลังจังหัน ตอนบ่าย ๆ ตอนราว ๕ โมงเย็น หรือกลางคืนราว ๒ ทุ่มก็ได้

เวลาท่านสนทนาหรือแก้ปัญหาธรรมกัน รู้สึกน่าฟังมาก เป็นปัญหาเกี่ยวกับธรรมภายในบ้าง เกี่ยวกับสิ่งภายนอก เช่น พวกกายทิพย์บ้าง ฟังแล้วทำให้เพลิดเพลินอยู่ภายใน ไม่อยากให้จบสิ้นลงง่าย ๆ ทั้งเป็นคติทั้งเป็นอุบายแก้ใจในขณะนั้น เพราะผู้มาศึกษากับท่านมีภูมิธรรมภายในเหลื่อมล้ำต่ำสูงต่างกันเป็นราย ๆ ไป และมีความรู้แปลก ๆ ตามจริตนิสัยมาเล่าถวายท่าน จึงทำให้เกิดความรื่นเริงใจไปกับปัญหาธรรมนั้น ๆ ไม่มีสิ้นสุด

ลัก...ยิ้ม 17-12-2012 12:06

เวลามีโอกาส ท่านก็เล่านิทานที่เป็นคติให้ฟังบ้าง เล่าเรื่องความเป็นมาของท่านในชาติปัจจุบัน แต่สมัยเป็นฆราวาสจนได้บวชเป็นเณรเป็นพระให้ฟังบ้าง บางเรื่องก็น่าขบขันน่าหัวเราะ บางเรื่องก็น่าสงสารท่าน และน่าอัศจรรย์เรื่องของท่าน ซึ่งมีมากมายหลายเรื่อง

การอยู่กับครูบาอาจารย์นาน ๆ ทำให้จริตนิสัยของผู้ไปศึกษามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีตามท่าน วันละเล็กวันละน้อยทั้งภายนอกภายใน จนกลมกลืนกับนิสัยท่านตามควรแก่ฐานะของตน ทั้งมีความปลอดภัยมาก มีทางเจริญมากกว่าทางเสื่อมเสีย.. ธรรมค่อยซึมซาบเข้าสู่ใจโดยลำดับ เพราะการเห็น การได้ยิน ได้ฟังอยู่เสมอ ความสำรวมระวัง อันเป็นทางส่งเสริมสติปัญญาให้มีกำลังก็มากกว่าปกติ เพราะความเกรงกลัวท่านเป็นสาเหตุไม่ให้นอนใจ ต้องระวังกายระวังใจอยู่รอบด้าน

สัลเลขธรรม ๑๐ ประการ เป็นหลักธรรมที่หลวงปู่มั่นถือเป็นเครื่องดำเนินขัดเกลาซักฟอกกิเลสตลอดมา ดังนี้

“...อัปปิจฉตา (ความมักน้อยในปัจจัย ๔) ใครจะไปมักน้อยยิ่งกว่าพ่อแม่ครูจารย์มั่นของเรา คิดดูตั้งแต่หนุ่มน้อยจนกระทั่งเฒ่าแก่ ท่านมีสมบัติอะไรติดเนื้อติดองค์ของท่าน... ไม่ปรากฏ ไปที่ไหนท่านไปอย่างง่ายดาย มีเฉพาะบริขาร ๘ เท่านั้น


สันตุฏฐิตา (ยินดีในปัจจัย ๔ ตามมีตามเกิด) ไม่มีคำว่า “พะรุงพะรัง” มีสมบัตินั้น มีสมบัตินี้ไม่ปรากฏ มีเท่าไรก็แจกจ่ายไปหมด ที่อยู่ก็เป็นกระต๊อบกระแต๊บอยู่อย่างนั้น ไม่หรูหราอย่างกุฏิที่ท่านพักอยู่บ้านหนองเผือนาในนี้ ก็ว่ากุฏิพอประมาณ

เรื่องที่ว่าอยู่ในที่วิเวกหรือ วิเวกตา (ชอบสงบวิเวก) มีแต่ความสงัดทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่มีอะไรมายุ่งมาเกี่ยว

วิริยารัมภา การแนะนำสั่งสอนเพื่อความพากความเพียรนี้ ท่านเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ไม่ได้พูดเรื่องอื่นนอกจากความเพียร องค์ท่านเองถึงเวลาท่านก็ลงเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาตามกำหนดกฎเกณฑ์ ตามเวล่ำเวลา ไม่เคลื่อนคลาดเลย

อสังสัคคณิกา (ไม่คลุกคลี) นี้ก็ไม่เคยปรากฏว่าใครไปยุ่งท่านได้ แม้แต่ประชาชนญาติโยมไปหาชั่วกาลชั่วเวลานี้ ท่านยังไม่อยากจะต้อนรับด้วยซ้ำ กับพระกับเณรเหล่านี้เหมือนกัน ให้ไปหาภาวนา มีแต่ไล่ไปภาวนา อย่ามายุ่งกันในเวลาไม่ควรยุ่ง เพราะฉะนั้น เวลาพระเณรขึ้นไปหาท่านจึงไปเพียงไม่กี่องค์ในเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งควรจะขึ้นไปหาท่าน

ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติหลุดพ้นใครเป็นผู้ทรงไว้ ก็ท่านทั้งนั้นเป็นผู้ทรงไว้ นี่รวมแล้วก็เป็นสัลเลขธรรม ๑๐ ประการ เป็นแนวทางที่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ดังที่ท่านกล่าวว่า สมาธิ ปัญญา ก็เป็นแต่ละข้อ ๆ ของสัลเลขธรรม แล้วก็วิมุตติญาณทัสสนะก็เป็น ๑๐ สุดยอดแห่งธรรมแล้ว...

ลัก...ยิ้ม 18-12-2012 11:34

ญาณหยั่งทราบของหลวงปู่มั่น

ในระยะที่อยู่ศึกษากับหลวงปู่มั่นนั้น ท่านคอยสังเกตดูทุกแง่ทุกมุมของหลวงปู่มั่น และเห็นว่าไม่เหมือนครูบาอาจารย์องค์อื่น ๆ ที่ท่านเคยประสบมา สำหรับหลวงปู่มั่นนั้น ไม่ว่าท่านแสดงสิ่งใดออกมา ย่อมสามารถเอาเป็นคติธรรมได้ทั้งนั้น ดังนี้

“...ดูทุกแง่ทุกมุม เราดูจริง ๆ นะ เพราะเราตั้งใจไปศึกษากับท่านจริง ๆ ... บางทีท่านก็พูดมีทีเล่นทีจริงเหมือนกัน กับเราในฐานะลูกศิษย์กับอาจารย์ ก็พ่อกับลูกนี่แหละ แต่เรามันไม่ได้ว่าทีเล่นทีจริงนี่นะ มันเอาเป็นจริงทั้งนั้นเลย


ท่านจะพูดแง่ไหน ท่านมีคติธรรมออกมาทุกแง่นะ ถึงแม้จะเป็นข้อตลกนี่ ท่านก็มีคติธรรมออกมา มีธรรมแทรกออกมา ไม่ได้เป็นแบบโลกนะ...

พูดถึงเรื่องความเลิศเลอที่สุดภายในหัวใจก็ดี ภายนอกก็ดี การประพฤติปฏิบัติของท่านก็ดี รู้สึกว่าที่เราผ่านครูบาอาจารย์มานี้ ไม่มีใครเหมือน ท่านพร้อมทุกอย่าง

ยิ่งท่านเทศน์ถึงเรื่องเทวบุตรเทวดาแล้ว โอ๊ย... ฟังแล้ว เราพูดจริง ๆ นะ เราเป็นจริง ๆ นี่นะ ฟังแล้วน้ำตาร่วงเลยนะ พวกเทพพวกเทวดามาเยี่ยมท่าน มาฟังเทศน์ท่าน แต่ท่านจะพูดในเวลาเฉพาะนะ ท่านไม่ได้พูดสุ่มสี่สุ่มห้านะ นั่นแหละ เห็นไหม..จอมปราชญ์

ท่านรู้หนักรู้เบา รู้ในรู้นอกนะ รู้ควรไม่ควร เวลามีโอกาสอันดีงามอยู่เพียง ๒ - ๓ องค์ คุยกันแล้วก็เสาะนั้นเสาะนี้.. อยากรู้อยากเห็น ท่านก็ค่อยเปิดออกมา ๆ ทางนี้ก็ค่อยสอดค่อยแทรกเข้าไป ครั้งนั้นบ้าง ครั้งนี้บ้าง หลายครั้งต่อหลายหน....”

ลัก...ยิ้ม 19-12-2012 10:42

ท่านกล่าวถึงญาณหยั่งทราบของหลวงปู่มั่นเกี่ยวกับเทวบุตรเทวดาว่า

“...เรื่องเทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม ที่มาเยี่ยมท่าน ท่านบอกว่า
มาอยู่ที่สกลนครนี้ พวกเทวดามาเกี่ยวข้องน้อยมาก จะมาเป็นเวลา คือมาในวันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันออกพรรษา นอกนั้นเทวดาไม่ค่อยมากัน’ หมายถึงเทวดาชั้นสูงนะ ‘พวกสวรรค์ พวกภูมิเทวดามาห่าง ๆ เหมือนกันนะ’


ส่วนไปอยู่เชียงใหม่ โห... ต้อนรับแทบทุกวัน ท่านว่า ‘ยังงั้น’ ไม่มีเวลาว่างเลย เทวดาชั้นนั้น ๆ ที่มาเป็นชั้น เป็นชั้น ๆ มาเป็นลำดับลำดา... พวกเทวดา เช่น ดาวดึงส์นี้มา.. การแต่งเนื้อแต่งตัวนี้มีลักษณะไหน รูปร่างนี้จะหยาบไป อย่างนี้.. ความละเอียดนะ ละเอียด เรื่องของเทพนั้นละเอียด แต่เมื่อเทียบกับเทพทั้งหลายแล้วจะละเอียดต่างกัน .. ‘เป็นชั้น ๆ ๆ ๆ’ ขึ้นไป...

นั่นละ เห็นไหม ญาณหยั่งทราบ....

ลัก...ยิ้ม 20-12-2012 10:35

ความรู้ของหลวงปู่มั่น เกี่ยวกับการแสดงความเคารพระหว่างพระพุทธเจ้ากับบรรดาพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลาย ท่านกล่าวไว้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังนี้

“...บรรดาพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลาย นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมาเสมอกันด้วยความบริสุทธิ์ ดังที่ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงเรื่องนิมิตว่า
‘พระพุทธเจ้าในครั้งพุทธกาล ท่านเคารพกันอย่างไร ?’


ปรากฏในนิมิตบอกว่า ‘บรรดาพระสงฆ์สาวกทั้งหลายหลั่งไหลมา พระพุทธเจ้าก็เสด็จมา ใครมาถึงก่อนนั่งก่อนเป็นลำดับ ๆ ตามที่มาถึงก่อนถึงทีหลัง ไม่ได้คำนึงถึงอาวุโสกัน พระพุทธเจ้าเสด็จมาทีหลังก็ประทับอยู่ทางท้ายสงฆ์โน้น’

ท่านอาจารย์มั่นเกิดปริวิตกขึ้นมาว่า ‘เพราะเหตุไร จึงเป็นอย่างนั้น ? ความเคารพกันครั้งพุทธกาลเป็นอย่างนี้หรือ ?’

ก็รู้ขึ้นมาทันทีว่า ‘นี้คือวิสุทธิธรรม เสมอกันอย่างนี้ ไม่ว่าใครมาก่อนมาหลัง นั่งตามลำดับที่มา คือเป็นความเสมอภาคไม่ว่าผู้น้อยผู้ใหญ่ อาวุโส ภัณเต เพราะความบริสุทธิ์เสมอกัน’

ท่านพระอาจารย์มั่นปริวิตกว่า ‘ถ้าเคารพตามสมมุติแล้ว ความเคารพกันของท่านเป็นอย่างไรหนอ ?’

‘ท่านพลิกพรึบเดียวเท่านั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่ตรงหน้า แล้วบรรดาสาวกเรียงตามลำดับลำดา นี่คือการเคารพกันโดยทางสมมุติ ความเคารพในทางสมมุติเป็นอย่างนี้ นี่ตามอาวุโส ภัณเต อย่างนี้ ท่านแยกทั้งวิมุตติทั้งสมมุติ ให้เห็นอย่างชัดเจน

การเคารพกัน.. ก็ไม่มีอะไรจะนิ่มนวลยิ่งกว่าท่านผู้สิ้นกิเลสเคารพกัน ไม่เป็นพิธีรีตอง ไม่เป็นอะไรเล่ห์ ๆ เหลี่ยม ๆ เหมือนกับคนที่มีกิเลสทำต่อกัน ท่านเคารพกันอย่างถึงใจ เคารพคุณธรรม เคารพความจริง การเคารพความจริงด้วยความจริงภายในใจนี้ ท่านจึงทำได้สนิท

ส่วนปุถุชนจำพวกชนดะ เวลาแสดงออกทางมารยาทนั้นดูสวยงาม แต่งามในลักษณะตกแต่ง ไม่ใช่ตัวจริง.. ออกมาจากของจริงคือธรรมแท้ แต่ภายในมันแข็งทื่อ.. ไม่เหมาะสมกันกับอาการภายนอกที่อ่อนโยนในการแสดงออก

ฉะนั้น โลกจึงลุ่ม ๆ ดอน ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ ไม่สม่ำเสมอเหมือนกับความจริงที่เป็นออกมาจากความจริงแท้...”

ลัก...ยิ้ม 21-12-2012 11:39

ท่านกล่าวถึงบทธรรมที่หลวงปู่มั่นเคยเทศน์ในท่ามกลางสานุศิษย์บ่อยครั้ง ดังนี้

“...ธรรมของพระพุทธเจ้าแม้จะเป็นของจริง แต่เมื่อสิงสถิตอยู่กับปุถุชน ธรรมนั้นก็กลายเป็นธรรมปลอม ครั้นสิงสถิตอยู่กับพระอริยเจ้าจึงเป็นของจริงตามส่วนแห่งธรรมและภูมิของผู้บรรลุ


คนที่รู้จักธรรมพองู ๆ ปลา ๆ กับคนที่ไม่รู้จักธรรมเสียเลย คนเหล่านี้จะไม่สามารถรู้ธรรมว่าเป็นของจริงหรือปลอมได้เลย

แต่คนที่รู้จักธรรมแท้ พร้อมทั้งที่เกิดขึ้นแห่งธรรม และที่ดับแห่งธรรมโดยความรอบคอบด้วยปัญญา และพร้อมทั้งความไม่ถือมั่นในธรรม ผู้นี้เองจะสามารถรู้จักธรรมที่แท้จริงหรือธรรมปลอม ในเมื่อธรรมสิงสถิตอยู่กับบุคคลนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน”

ลัก...ยิ้ม 24-12-2012 11:29

หลวงปู่หลุยเด่นทางมักน้อย

องค์หลวงตาได้กล่าวถึงหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่นใหญ่องค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น และมีโอกาสได้จำพรรษาร่วมกัน ๑ พรรษา ที่วัดป่าบ้านหนองผือในปีแรก ดังนี้

“...ไปหาสิ บรรดาลูกศิษย์หลวงปู่มั่นเรา องค์ไหนจะเหมือนท่านอาจารย์หลุยไม่มี เรายกให้เลยเรื่องมักน้อย จนกระทั่งย่ามขาดหมดทั้งข้างนอกข้างใน มันมีสองชั้น เราไปจับย่าม.. ท่านขึ้นทันทีเลย


‘จับทำไม ? มันยังดีอยู่’

มันจะดีอะไร เราไม่ใช่คนตาบอด ดู.. มันดีอยู่ข้างใน คือชั้นในดีอยู่ ท่านพูดของท่านก็ถูก ไอ้เราไปจับก็ถูก ก็เราดู.. มันดูไม่ได้ ดูข้างนอก อย่างนั้นละ ที่ท่านใช้ ...

ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีคำว่าสดสวยงดงามอะไรเลย ผ้าก็เอาจีวรเก่า ๆ มาอย่าง ‘งั้นละ’ ท่านมักน้อยมาก ในบรรดาลูกศิษย์พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นเรานี้ ท่านอาจารย์หลุยเป็นที่หนึ่ง ความมักน้อยนะ ... เป็นพระที่ปรารถนาน้อยที่สุด ...

แต่กับเรานี่ก็คุ้นกันมาก อันนี้ก็แบบเดียวกัน ขบขันจะตายไป เราเดินจงกรมอยู่ในป่าลึก ๆ หนองผือ ท่านไปหาเรา ไปหาที่กุฏิไม่เจอ ถามพระว่า ‘ท่านมหาไปไหน ?’

‘ท่านเดินจงกรมอยู่ในป่า ทางเข้าไปนี่.. ในป่า’ ท่านก็ไปเลย ไปหาเรา นี่ละมันขบขันที่ว่า ท่านสนิทกับเรามากนะ พอเข้าไปเสียงกุบกับ ๆ กลางคืน ก็ไม่มีไฟนี่ เดินไปก็โดนนั่นโดนนี่ไป เสียงกุบกับ ๆ เราก็เดินจงกรมไม่มีไฟอีกนั่นแหละ เราก็ดี พอไปก็ประมาณต้นเสานี่ละ กุบกับ ๆ เข้าไป เราวิตกถึงพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นนะ เอ๊.. พ่อแม่ครูอาจารย์เป็นอะไร ‘น้า’ มีใครมาหาเราละนี่ เกี่ยวกับท่านแน่ ๆ ...

จูงไม่ถอยนะ นั่น.. จูงมาเรื่อย บุกออกมาจากป่า มืด ๆ นะ จนกระทั่งมาถึงที่โล่งแจ้งถึงปล่อยมือ แล้วก็เดินไปด้วยกัน ... พอไปถึง เราก็เลยถาม ‘ใครมานี่ ?’

‘ผมเอง’ ท่านว่า ท่านก็รู้ทิศทางของเราว่าอยู่ตรงไหน เข้าใจไหม กุบกับ ๆ เข้ามา ... มาก็คว้าแขนเรา จูงเลย ดึงจากนั้นมา

‘เอ้า..จะเอาไปไหนอีก ?’

‘ไปหาท่านอาจารย์ละซี’

‘ไปหาอะไร ?’

‘ไปฟังเทศน์’

‘อ้าว.. เมื่อคืนนี้ผมก็ไป ทำไมท่านอาจารย์ไม่ไป’ เราว่า

ก็นั่นนะซิขึ้นเลย ‘ถ้าไปแต่ผมไม่ได้ โอ๊ย.. ถูกไล่ลง’ เราไปท่านไม่ว่าอะไร ก็นิสัยต่างกัน นั่น..ท่านเมตตาแบบหนึ่งนะ ท่านอาจารย์หลุยขึ้นไปนี่

‘มาทำอะไร..หลุย ?’ ขึ้นเลยนะ... ไล่ บางทีก็ไล่ลงไป ‘ไปนะ’ ไล่

นี่คือเมตตาแบบหนึ่ง เข้าใจไหม ใช้ต่อลูกศิษย์ นี่คนละแบบ ๆ ไม่ซ้ำกันนะ กับท่านอาจารย์หลุยนี้แบบนี้ กับท่านอาจารย์หลุยท่านใช้เมตตาแบบนั้น กับลูกศิษย์คนนี้ใช้เมตตาแบบนี้ ไม่ได้ซ้ำกันนะ พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น

เรื่องความมักน้อยนี่ยกให้ท่านอาจารย์หลุย ไม่มีใครสู้ มีอะไร ๆก็ไม่เอา ใช้ของใหม่ ๆ ไม่ใช้ ใช้แต่ของเก่า ๆ ทั้งนั้นละ นี่.. อัฐิของท่านก็กลายเป็นพระธาตุแล้ว พูดถึงเรื่องความสนิทกัน ท่านสนิทมากกับเรา นิสัยชอบพูดเล่น ไม่ถือเนื้อถือตัว การถือเนื้อถือตัวไม่มี...”

ลัก...ยิ้ม 26-12-2012 12:56

ลวดลายพุทธภูมิหลวงปู่มั่น

ในช่วงที่อยู่ศึกษากับหลวงปู่มั่น ท่านมีโอกาสได้สอบถามเกี่ยวกับสีผ้าของพระในครั้งพุทธกาล ตลอดถึงความรู้อัศจรรย์ของหลวงปู่มั่น ดังนี้

“...เรื่องหลวงปู่มั่นที่เราเรียนถามท่าน เวลาท่านพิจารณา นั่นเห็นไหม ท่านพิจารณาตลอดสีผ้า เราอยากทราบก็ซอกแซก ท่านบอกว่า
สีผ้ามีอยู่ ๓ ขั้น สีแก่นขนุนอ่อน สีแก่นขนุนปานกลาง สีแก่นขนุนแก่


ทีนี้ก็มีช่องที่จะถาม ‘แล้วสีเหลืองอย่างธรรมดาที่พระใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีไหม

ท่านบอก ‘ไม่มี ไอ้สีเจ้าชู้ สีขุนนาง มันจะมีในพระพุทธเจ้าได้ 'ยังไง’

ใส่เด็ดมากเลยนะ พิจารณา ๆ แล้วมีอยู่ ๓ แก่นขนุนสีอ่อน สีกลาง สีแก่ ท่านว่าอย่างนั้น ท่านใช้นี้รู้สึกจะเป็นกลาง ๆ นะ สีที่ท่านครองเป็นสีกลาง สีอ่อนก็มีบ้างเป็นบางระยะ ผ้าที่ย้อมใหม่ก็เป็นสีแก่นขนุนอ่อนอยู่บ้าง จากนั้นที่ท่านใช้เป็นประจำก็สีกลางหรือแก่ มีอยู่สาม ท่านบอกเวลาที่ท่านพิจารณาดูถึงเรื่องอดีต โห...น่าอัศจรรย์นะ เห็นไหมล่ะ ความรู้ของท่าน เพราะแต่ก่อนท่านปรารถนาพุทธภูมิ ท่านพูดเองจึงชัดเจนซิ

เพราะฉะนั้น ลวดลายของพุทธภูมิหรือของศาสดาจึงมี ถึงไม่มีเต็มที่ก็มีปรารถนาพุทธภูมิ เวลาภาวนาไปเท่าไรจิตมันก็ยิ่งเข้มข้นเข้า จะเข้าด้ายเข้าเข็มทีไร.. เรื่องโพธิสัตว์ โพธิญาณจะแย็บเข้ามาเลยทุกครั้ง ท่าน ‘ว่างั้น’ นะ ทุกครั้งพอจะเข้าด้ายเข้าเข็ม คือเวลาจะพุ่งสายโพธิญาณโพธิสัตว์ผ่านเข้ามาเลยถอย เพราะผ่านเข้ามาก็เป็นสมบัติของตัวเอง ท่านว่าสายโพธิสัตว์ก็คือเรื่องของท่านเอง ผ่านเข้ามา ท่านก็ถอย ท่าน ‘ว่างั้น’

ทีนี้ความอยากพ้นจากทุกข์ก็หนักเข้าเป็นลำดับ เลยมาประมวล ท่านว่า ‘งี้นะ’ เรื่องเป็นพระพุทธเจ้าก็เลิศเลอ ปรารถนามา ก็ปรารถนาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสัตว์โลกได้มากเต็มภูมิของศาสดาแต่ละพระองค์ ๆ เวลาท่านจะออกนะ แต่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์นั้นเสมอกัน ท่านว่า ‘งี้นะ’

‘เออ...เอาละ ทีนี้ถอยนะ แนะนำสั่งสอนใครไม่ได้ ก็สั่งสอนเจ้าของให้หลุดพ้นจากทุกข์นี้ก็พอแล้ว’


ท่านว่า ‘งั้น’ เลยตั้งเป็นคำสัตย์ขอหยุด ขอพัก ของดเลย เรื่องสายโพธิสัตว์โพธิญาณ จะมุ่งเฉพาะสาวกภูมิ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์โดยถ่ายเดียวเท่านั้น แล้วก็ปลงใจลง ปลงใจลงในสาวกภูมิ จากนั้นมาจิตมันก็พุ่ง ๆ เลยเชียว ท่านบอกว่า แต่ก่อนพอจะเข้าด้ายเข้าเข็มทีไร สายพุทธภูมิก็ผ่านเข้ามา ผ่านเข้ามาอยู่อย่างนั้น

ท่านประมวลทุกอย่างแล้วมาลงในสายสาวกภูมิ คือความหลุดพ้นจากทุกข์ เป็นจิตที่บริสุทธิ์เสมอกันหมด ไม่ว่าพระพุทธเจ้า สาวก ท่านเลยเอาจุดนี้ เออ...เอาอันนี้แหละ จากนั้นมาจิตมันก็พุ่งเลย ท่านว่า อันนี้หมายความว่า ท่านยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดองค์หนึ่งนะ ... เลยผ่านออกได้ ...

ถ้าลงพระพุทธเจ้าได้ทรงทำนายแล้วว่า ต่อจากนี้ไปเท่านั้น ๆ ท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าอย่างนั้น สาวกข้างขวาว่านั้น สาวกข้างซ้ายว่าอย่างนี้แล้วเท่านั้น จะแก้ ‘ยังไง’ ก็ไม่ตก ถ้าลงพระพุทธเจ้าทรงทำนาย ... ถ้าเข้าเขตพยากรณ์แล้ว ‘ยังไง’ ก็มีแต่ไปข้างหน้า แก้ไม่ตก นี่เรียกว่าญาณของพระพุทธเจ้า ถ้าลงได้เล็งดูจุดไหนแล้วเป็นอื่นไปไม่ได้ ต้องเป็นอย่างนั้น นี่... เช่นอย่างได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดแล้ว ‘ยังไง’ ก็ต้องไปเป็นแบบนั้น...”

ลัก...ยิ้ม 02-01-2013 14:04

การมาอยู่กับครูบาอาจารย์ที่เราเคารพนับถือ ยังไม่เห็นความสำคัญในคำตักเตือนสั่งสอนอยู่แล้ว ก็เท่ากับจะเริ่มสร้างสิ่งทำลายตนขึ้นในเวลาเดียวกัน นี่แล เป็นสิ่งที่ไม่ทำให้สนิทตายใจกับหมู่คณะที่มาอาศัย ว่าจะได้สิ่งที่เป็นสาระอะไรบ้างไปเป็นหลักข้อปฏิบัติในกาลต่อไป เห็นมีแต่ความไม่สำคัญไปเลย ความจริง ธรรมที่นำมาสั่งสอนหมู่คณะทุก ๆ แขนง ได้พิจารณากลั่นกรองแล้วกลั่นกรองเล่าจนเป็นที่แน่ใจ มิได้สอนด้วยความพรวดพราด หลุดปากก็พูดออกมาทำนองนั้น แต่สอนด้วยความพิจารณาแล้วทั้งสิ้น ทั้งส่วนหยาบ ส่วนละเอียด การกำหนดทิศทางเดินจงกรมเคยได้อธิบายให้หมู่คณะฟังมาหลายครั้งแล้ว จนน่ารำคาญทั้งผู้สอนผู้ฟัง แทนที่จะพากันพิจารณาตามบ้าง พอเป็นพยานแห่งการมาศึกษา แต่ทำไมความฝ่าฝืนจึงโผล่ขึ้นมาอย่างไม่อายครูอาจารย์และใคร ๆ ที่อยู่ด้วยกันบ้าง

การพิจารณาทิศทางของความเพียร ท่าต่าง ๆ นี้ ผมเคยพิจารณามานานและทราบมานานแล้ว จึงกล้านำมาสั่งสอนหมู่คณะด้วยความแน่ใจ เมื่อเห็นความฝ่าฝืนจึงทำให้อดสลดสังเวชใจไม่ได้ว่า ต่อไปจะเห็นแต่ของปลอมเต็มวัดเต็มวา เต็มศาสนา และเต็มพระเณร เถรชี พุทธบริษัท เพราะความชอบใจ ความสะดวกใจพาให้เป็นไป มิใช่ความไตร่ตรองดูเหตุดูผลด้วยดีพาให้เป็นไป ศาสนานั้นจริง.. ไม่มีที่ต้องติ แต่ศาสนาจะถูกต้องติ เพราะผู้ปฏิบัติดึงศาสนามาเป็นเครื่องมือของกิเลสที่มีเต็มหัวใจ ผมน่ะกลัวตรงนี้เอง เพราะเห็นอยู่กับตาดังที่ว่าอยู่ขณะนี้แล...”


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:48


ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว