เข้าระบบ

View Full Version : ขอยกเว้นกฎหมายลิขสิทธิ์และยันต์เกราะเพชร


ลูกแม่แดง
05-07-2023, 03:25
ไม่ว่าจะทำอะไรแก่งานที่มีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น หากทำเข้าเกณฑ์ดังนี้

๑.วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
๒.ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
๓.ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
๔.เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
๕.ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
๖.ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
๗.ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
๘.นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

๙.การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

เป็นต้น

หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร

กฎหมายไม่ถือว่ามีความผิดละเมิดลิขสิทธิ์ แม้ว่าจะกระทำโดยไม่ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตาม

หากผู้รับยันต์เกราะเพชรกระทำตามข้อยกเว้นทางกฎหมายข้างต้น จะยังคงรักษายันต์เกราะเพชรไว้ได้หรือไม่ครับ

สุธรรม
05-07-2023, 11:56
:4672615: ข้อ ๖ กับ ข้อ ๗ ถ้าสอนฟรี ไม่มีการรับเงินเดือนก็ไม่ผิด..!

ลูกแม่แดง
05-07-2023, 22:08
:4672615: ข้อ ๖ กับ ข้อ ๗ ถ้าสอนฟรี ไม่มีการรับเงินเดือนก็ไม่ผิด..!

เข้าใจว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายจะครอบคลุมแค่การหากำไรโดยตรงครับ

อ้างอิงจาก หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๘๔๓/๒๕๔๓ ที่สามารถสืบค้นผ่านอินเตอร์เน็ตได้จาก "ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา-http://deka.supremecourt.or.th/" ระบุข้อความตอนหนึ่งว่า


"...(๗) หลักเกณฑ์ประการที่สองของการใช้ที่เป็นธรรมตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๑) ได้แก่ การกระทำนั้นมิได้เป็นการกระทำเพื่อหากำไร เมื่อผู้รับจ้างถ่ายเอกสารสามารถอ้างการกระทำเพื่อวิจัยหรือศึกษางานนั้นได้ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปคือการรับจ้างถ่ายเอกสารหรือทำสำเนางานโดยร้านถ่ายเอกสารเป็นการกระทำเพื่อหากำไรหรือไม่ สำหรับนักศึกษา การทำสำเนางานก็เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในชั้นเรียนอันมิได้มีความมุ่งหมายเพื่อหากำไร หากแต่กระทำเพื่อแสวงหาความรู้ให้แก่ตนเองกรณีย่อมแตกต่างไปหากการทำสำเนานั้นได้กระทำโดยองค์กรธุรกิจ เช่น การทำสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยบริษัทแห่งหนึ่งเพื่อนำสำเนางานนั้นไปใช้ประโยชน์สำหรับการวิจัยหรือศึกษาตลาดของสินค้า เป็นต้น อย่างไรก็ดี มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นในทำนองว่าการกระทำใดจะมีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อหากำไรหรือไม่นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ทำการวิจัยหรือศึกษางาน หากแต่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือศึกษาเป็นสำคัญ ซึ่งตามความเห็นนี้ การกระทำเพื่อการวิจัยหรือศึกษางานโดยองค์กรธุรกิจ ก็อาจเป็นการใช้ที่เป็นธรรมได้หากการวิจัยหรือศึกษางานนั้นมิได้มีความมุ่งหมายเพื่อหากำไร สำหรับการกระทำของร้านถ่ายเอกสารที่รับจ้างทำสำเนางานจะเป็นการกระทำเพื่อหากำไรหรือไม่นั้น คงต้องดูที่วัตถุประสงค์ของการจ้างเป็นสำคัญ คำพิพากษาของทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ให้เหตุผลไว้อย่างน่ารับฟังว่า "การรับจ้างถ่ายเอกสารมีลักษณะเป็นการแบ่งสรรแรงงาน โดยมิต้องให้นักศึกษาแต่ละคนทำการถ่ายเอกสารคนละหนึ่งชุด ผู้รับจ้างถ่ายเอกสารให้บริการแก่นักศึกษาในลักษณะทางการค้า โดยคิดค่าแรง ค่าเครื่องถ่ายเอกสารและค่ากระดาษ อันเป็นการกระทำการตามสัญญาจ้าง และค่าตอบแทนที่ได้ก็เป็นสินจ้าง ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ได้จากการทำงานตามสัญญามิใช่กำไรที่เกิดจากการทำสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์" ในกรณีเช่นนี้อาจเปรียบเทียบได้กับการที่นักการของมหาวิทยาลัย ทำสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อให้อาจารย์ใช้เพื่อการวิจัยหรือการศึกษานักการซึ่งได้ค่าจ้างจากมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานของตนก็มิได้ทำสำเนางานเพื่อหากำไร..."

ได้แสดงว่า นักการสำเนางานให้อาจารย์มหาวิทยาลัย ถึงแม้นักการจะได้รับเงินเดือนจากมหาวิทยาลัย ก็ไม่ถือว่าการสำเนางานดังกล่าวเป็นการหากำไรครับ