เถรี
29-09-2020, 10:07
ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๓ เป็นการเจริญกรรมฐานต้นเดือนวันสุดท้ายของเรา ระยะนี้ก็ยังอยู่ในช่วงวันหยุดยาว ซึ่งหลายท่านที่เดินทางท่องเที่ยวไปกับครอบครัว ก็กำลังเดินทางกลับ ซึ่งการเดินทางของเรานั้น ถ้าหากว่ามีสติ ใช้ยานพาหนะด้วยความระมัดระวัง ก็ยังอาจจะมีคนขาดสติ ทำให้เราประสบพบกับอุบัติเหตุได้
ดังนั้น...แม้กระทั่งเรื่องในชีวิตประจำวันของเรายังหาความแน่นอนไม่ได้ แล้วในเรื่องของโลกหน้า ตลอดจนถึงเรื่องของการพ้นทุกข์ ก็ยิ่งหาความแน่นอนไม่ได้เข้าไปใหญ่ ถ้าหากว่าเราประมาท แม้เป็นผู้ที่ตั้งใจว่าจะปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ก็คือเพื่อพระนิพพาน แต่ตัวเราไม่ได้กระทำให้สมควรกับสิ่งที่ตั้งใจเอาไว้ ก็ได้ชื่อว่าเราเป็นผู้ประมาท
การประมาทในทางโลกนั้น เราอาจจะเกิดอุบัติเหตุ ทรัพย์สินเสียหาย ได้รับบาดเจ็บ หรือว่าถึงแก่ชีวิต แต่การประมาทในทางปฏิบัติธรรมนั้น เราอาจจะต้องได้รับความทุกข์ยากอย่างมหันต์ เพราะว่าอาจจะพลาดลงสู่อบายภูมิ ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน หรือว่าถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นบุคคลที่ต้องลำบากยากจน พิกลพิการ มีแต่ความทุกข์ยากมากกว่าคนอื่นเขา ดังนั้น...สิ่งที่เราตั้งใจไว้กับสิ่งที่เรากระทำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งว่าต้องเป็นเหตุเป็นผลกัน คือเราต้องสร้างเหตุให้เพียงพอ ถึงจะเกิดผลอย่างที่เราต้องการได้
คราวนี้ในส่วนของการสร้างเหตุนั้น ก็อยู่ในกรอบของ ศีล สมาธิ และปัญญา อย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสรุปว่าไตรสิกขา คือหลักการที่ต้องศึกษาและปฏิบัติ ๓ ประการด้วยกัน ซึ่งได้ย่อมาจากมรรคมีองค์ ๘ ก็คือ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ส่วนนี้เป็นปัญญา
สัมมาวาจา การพูดดีพูดเพราะ สัมมากัมมันตะ การมีความประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง สัมมาอาชีวะ การหาเลี้ยงชีพในทางที่ถูกต้อง นี่อยู่ในส่วนของศีล
สัมมาวายามะ ความเพียรที่ถูกต้อง สัมมาสติ การตั้งสติไว้ถูกต้อง และสัมมาสมาธิ การปฏิบัติสมาธิได้ถูกต้อง ในส่วนนี้จัดอยู่ในสมาธิ
ก็แปลว่า สิ่งที่เราจะต้องพึงปฏิบัติอย่างเต็มที่ ให้สมควรกับความตั้งใจของเรา ว่าต้องการปฏิบัติธรรมเพื่อให้หลุดพ้นจากกองทุกข์คือพระนิพพาน ก็คือการที่ปฏิบัติอยู่ในหลักของศีล ของสมาธิ ของปัญญานั่นเอง
ดังนั้น...แม้กระทั่งเรื่องในชีวิตประจำวันของเรายังหาความแน่นอนไม่ได้ แล้วในเรื่องของโลกหน้า ตลอดจนถึงเรื่องของการพ้นทุกข์ ก็ยิ่งหาความแน่นอนไม่ได้เข้าไปใหญ่ ถ้าหากว่าเราประมาท แม้เป็นผู้ที่ตั้งใจว่าจะปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ก็คือเพื่อพระนิพพาน แต่ตัวเราไม่ได้กระทำให้สมควรกับสิ่งที่ตั้งใจเอาไว้ ก็ได้ชื่อว่าเราเป็นผู้ประมาท
การประมาทในทางโลกนั้น เราอาจจะเกิดอุบัติเหตุ ทรัพย์สินเสียหาย ได้รับบาดเจ็บ หรือว่าถึงแก่ชีวิต แต่การประมาทในทางปฏิบัติธรรมนั้น เราอาจจะต้องได้รับความทุกข์ยากอย่างมหันต์ เพราะว่าอาจจะพลาดลงสู่อบายภูมิ ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน หรือว่าถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นบุคคลที่ต้องลำบากยากจน พิกลพิการ มีแต่ความทุกข์ยากมากกว่าคนอื่นเขา ดังนั้น...สิ่งที่เราตั้งใจไว้กับสิ่งที่เรากระทำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งว่าต้องเป็นเหตุเป็นผลกัน คือเราต้องสร้างเหตุให้เพียงพอ ถึงจะเกิดผลอย่างที่เราต้องการได้
คราวนี้ในส่วนของการสร้างเหตุนั้น ก็อยู่ในกรอบของ ศีล สมาธิ และปัญญา อย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสรุปว่าไตรสิกขา คือหลักการที่ต้องศึกษาและปฏิบัติ ๓ ประการด้วยกัน ซึ่งได้ย่อมาจากมรรคมีองค์ ๘ ก็คือ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ส่วนนี้เป็นปัญญา
สัมมาวาจา การพูดดีพูดเพราะ สัมมากัมมันตะ การมีความประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง สัมมาอาชีวะ การหาเลี้ยงชีพในทางที่ถูกต้อง นี่อยู่ในส่วนของศีล
สัมมาวายามะ ความเพียรที่ถูกต้อง สัมมาสติ การตั้งสติไว้ถูกต้อง และสัมมาสมาธิ การปฏิบัติสมาธิได้ถูกต้อง ในส่วนนี้จัดอยู่ในสมาธิ
ก็แปลว่า สิ่งที่เราจะต้องพึงปฏิบัติอย่างเต็มที่ ให้สมควรกับความตั้งใจของเรา ว่าต้องการปฏิบัติธรรมเพื่อให้หลุดพ้นจากกองทุกข์คือพระนิพพาน ก็คือการที่ปฏิบัติอยู่ในหลักของศีล ของสมาธิ ของปัญญานั่นเอง