เถรี
23-03-2020, 18:45
ขอให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓ การปฏิบัติธรรมของเราทั้งหลายนั้น ทำแล้วต้องหวังผล คราวนี้การที่เราหวังผล ถ้าตั้งใจมากเกินไป บางทีก็ทำให้เสียผลได้ เพราะว่าความตั้งใจที่มากเกินไป จดจ่ออยู่กับสิ่งที่เราทำมากจนเกินไป จะเกิดอาการ ๒ อย่าง
อย่างแรกคือกลายเป็นความฟุ้งซ่าน เพราะว่าสติไม่มั่นคง ประการที่ ๒ ก็คือทำให้เกิดความเครียดขึ้นมา แบบเดียวกับคนขับรถ ถ้าจ้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ขาดความคล่องตัว ก็จะทำให้เครียด บางทีหมดสภาพเอาง่าย ๆ แต่ว่าการปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าเราไม่ตั้งอกตั้งใจทุ่มเทให้เต็มที่ บางทีโอกาสที่จะเข้าถึงธรรมในส่วนที่เราปรารถนาก็มีน้อยอีก
ดังนั้น..นักปฏิบัติทุกคนควรจะยึดในหลักมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่คราวนี้มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางนั้น ไม่มีมาตรฐาน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ มัชฌิมาปฏิปทาของแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย จิตใจ ตลอดจนผลบุญที่สั่งสมมาในอดีต ที่เป็นปุพเพกตปุญญตาด้วย
เราจะสังเกตว่า บางท่านนั่งกรรมฐานข้ามวันข้ามคืนก็ได้..ไม่เป็นอะไร บางท่านนั่งลงไปทีหนึ่งชั่วโมงไม่กระดิกเลย แต่เราเอง ๕ นาที ๑๐ นาที ขยับแล้วขยับอีก สภาพจิตไม่ค่อยอยากจะยอมรับ ในส่วนนี้ทำให้เห็นชัดว่า ตัวมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน สิ่งที่บางคนทำอาจจะกลายเป็นอัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตนสำหรับเรา แต่ขณะเดียวกันถ้าเราอ้างตรงนี้ก็กลายเป็นย่อหย่อนจนเกินไป กลายเป็นกามสุขัลลิกานุโยคไปอีก
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓ การปฏิบัติธรรมของเราทั้งหลายนั้น ทำแล้วต้องหวังผล คราวนี้การที่เราหวังผล ถ้าตั้งใจมากเกินไป บางทีก็ทำให้เสียผลได้ เพราะว่าความตั้งใจที่มากเกินไป จดจ่ออยู่กับสิ่งที่เราทำมากจนเกินไป จะเกิดอาการ ๒ อย่าง
อย่างแรกคือกลายเป็นความฟุ้งซ่าน เพราะว่าสติไม่มั่นคง ประการที่ ๒ ก็คือทำให้เกิดความเครียดขึ้นมา แบบเดียวกับคนขับรถ ถ้าจ้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ขาดความคล่องตัว ก็จะทำให้เครียด บางทีหมดสภาพเอาง่าย ๆ แต่ว่าการปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าเราไม่ตั้งอกตั้งใจทุ่มเทให้เต็มที่ บางทีโอกาสที่จะเข้าถึงธรรมในส่วนที่เราปรารถนาก็มีน้อยอีก
ดังนั้น..นักปฏิบัติทุกคนควรจะยึดในหลักมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่คราวนี้มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางนั้น ไม่มีมาตรฐาน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ มัชฌิมาปฏิปทาของแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย จิตใจ ตลอดจนผลบุญที่สั่งสมมาในอดีต ที่เป็นปุพเพกตปุญญตาด้วย
เราจะสังเกตว่า บางท่านนั่งกรรมฐานข้ามวันข้ามคืนก็ได้..ไม่เป็นอะไร บางท่านนั่งลงไปทีหนึ่งชั่วโมงไม่กระดิกเลย แต่เราเอง ๕ นาที ๑๐ นาที ขยับแล้วขยับอีก สภาพจิตไม่ค่อยอยากจะยอมรับ ในส่วนนี้ทำให้เห็นชัดว่า ตัวมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน สิ่งที่บางคนทำอาจจะกลายเป็นอัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตนสำหรับเรา แต่ขณะเดียวกันถ้าเราอ้างตรงนี้ก็กลายเป็นย่อหย่อนจนเกินไป กลายเป็นกามสุขัลลิกานุโยคไปอีก