เถรี
01-09-2019, 18:31
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราเอาไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมด ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมด ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ จากช่วงก่อนกรรมฐานที่ได้กล่าวว่า นักปฏิบัติของเรามักจะติดดี ซึ่งอาตมาใช้คำว่า กิเลสของนักปฏิบัติ หรือที่บางท่านกล่าวว่า “วิปัสสนาขี้โกรธ สันโดษขี้ขอ อุเบกขาบ้ายอ”
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติในช่วงแรก ๆ ทั้งสิ้น วิปัสสนาขี้โกรธ ก็คือเราปฏิบัติแรก ๆ เป็นการเก็บกดอารมณ์เอาไว้ ถ้าโดนสะกิดก็จะปะทุออกมาได้ง่าย สันโดษขี้ขอ ประกาศตัวว่าเรายินดีพอใจกับสิ่งที่เรามีอยู่ แต่เจอหน้าใครก็ขอเขาดะไปหมด เห็นโน่นก็อยากได้ เห็นนี่ก็อยากได้ อุเบกขาบ้ายอ ก็คล้ายคลึงกัน ก็คือปล่อยแล้ววางแล้ว แต่พอบุคคลอื่นยอก็ลอยทั้งตัว
ซึ่งเรื่องทั้งหลายเหล่านี้เราต้องคอยระมัดระวัง เพราะว่าโลกธรรมทั้ง ๘ ก็คือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เกิดกับเราอยู่ตลอดเวลาทุกวัน คราวนี้การที่เราเกิดกิเลสนักปฏิบัติก็คือ ถือว่าเราดีกว่าเขา เกิดจากสังโยชน์ใหญ่ ๒ ตัว ก็คือ สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ยึดมั่นในตัวกูของกู และตัวมานะสังโยชน์ ซึ่งเป็นกิเลสใหญ่ในระดับปลาย เรียกว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์
ทั้งสองตัวนี้ จะชักนำเราให้คิดผิด พูดผิด ทำผิดได้ เพราะด้วยการยึดมั่นว่าตัวเราดีแล้ว ถูกแล้ว ถ้าไม่ใช่อย่างนี้...คนอื่นผิด สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นจะแก้ไขอย่างไร ? ก็ต้องตั้งสติคอยระมัดระวัง มีความรู้ตัวอยู่เสมอว่า ตราบใดที่เรายังไม่เข้าสู่พระนิพพานอย่างแท้จริง ตราบนั้นยังหาความดีไม่ได้ เพราะว่ายังต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับร่างกายนี้ อยู่กับโลกนี้เป็นปกติ
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ จากช่วงก่อนกรรมฐานที่ได้กล่าวว่า นักปฏิบัติของเรามักจะติดดี ซึ่งอาตมาใช้คำว่า กิเลสของนักปฏิบัติ หรือที่บางท่านกล่าวว่า “วิปัสสนาขี้โกรธ สันโดษขี้ขอ อุเบกขาบ้ายอ”
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติในช่วงแรก ๆ ทั้งสิ้น วิปัสสนาขี้โกรธ ก็คือเราปฏิบัติแรก ๆ เป็นการเก็บกดอารมณ์เอาไว้ ถ้าโดนสะกิดก็จะปะทุออกมาได้ง่าย สันโดษขี้ขอ ประกาศตัวว่าเรายินดีพอใจกับสิ่งที่เรามีอยู่ แต่เจอหน้าใครก็ขอเขาดะไปหมด เห็นโน่นก็อยากได้ เห็นนี่ก็อยากได้ อุเบกขาบ้ายอ ก็คล้ายคลึงกัน ก็คือปล่อยแล้ววางแล้ว แต่พอบุคคลอื่นยอก็ลอยทั้งตัว
ซึ่งเรื่องทั้งหลายเหล่านี้เราต้องคอยระมัดระวัง เพราะว่าโลกธรรมทั้ง ๘ ก็คือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เกิดกับเราอยู่ตลอดเวลาทุกวัน คราวนี้การที่เราเกิดกิเลสนักปฏิบัติก็คือ ถือว่าเราดีกว่าเขา เกิดจากสังโยชน์ใหญ่ ๒ ตัว ก็คือ สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ยึดมั่นในตัวกูของกู และตัวมานะสังโยชน์ ซึ่งเป็นกิเลสใหญ่ในระดับปลาย เรียกว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์
ทั้งสองตัวนี้ จะชักนำเราให้คิดผิด พูดผิด ทำผิดได้ เพราะด้วยการยึดมั่นว่าตัวเราดีแล้ว ถูกแล้ว ถ้าไม่ใช่อย่างนี้...คนอื่นผิด สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นจะแก้ไขอย่างไร ? ก็ต้องตั้งสติคอยระมัดระวัง มีความรู้ตัวอยู่เสมอว่า ตราบใดที่เรายังไม่เข้าสู่พระนิพพานอย่างแท้จริง ตราบนั้นยังหาความดีไม่ได้ เพราะว่ายังต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับร่างกายนี้ อยู่กับโลกนี้เป็นปกติ