เถรี
23-08-2019, 21:13
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา ถ้าเผลอสติไปคิดถึงเรื่องอื่น เมื่อรู้สึกตัวขึ้นมา ให้รีบกลับมาอยู่กับลมหายใจเข้าออกของเราทันที ส่วนคำภาวนานั้น เราจะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ วันนี้เพื่อนสนิทคนหนึ่ง ก็คือ พระอาจารย์ภาสกร ภูริวฑฺฒโน จากธรรมสถานวัดฝายหิน จังหวัดเชียงใหม่ ท่านแวะมาเยี่ยม
ท่านอาจารย์ภาสกรนั้นมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ก็คือความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันของสรรพสิ่ง ทั้งทางโลกและทางธรรม ที่ว่าถ้ามีสิ่งนี้ก็ต้องมีสิ่งนี้ ถ้าสิ่งนี้ดับสิ่งนี้ก็ต้องดับ แล้วท่านก็ยังมีการพัฒนาไปจนกระทั่งเรียกความรู้นั้นว่า วิปัสสนาชกมวย
ซึ่งอาตมาอยากจะบอกว่า การพิจารณาวิปัสสนาญาณตามธรรมชาติ ตามหน้าที่การงาน ตามการดำเนินชีวิตปกติของพวกเรา คือการปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าเราต้องรอให้ถึงเวลาแล้วค่อยปฏิบัติธรรม ค่อยภาวนา ค่อยพิจารณา ถ้าลักษณะอย่างนั้นอาตมาใช้คำว่า ไม่ทันกิน เพราะว่ากิเลสกินเราอยู่ตลอดเวลา ทุกนาที ทุกวินาที ไม่เปิดโอกาสให้เรามานั่งสมาธิก่อนแล้วค่อยกิน
เราจึงต้องพิจารณาวิปัสสนาญาณในลักษณะของธรรมชาติ คือสิ่งใดที่เข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เราต้องพิจารณาเป็นวิปัสสนาญาณ ก็คือเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น
สายตาเห็นรูป เราก็กำหนดด้วยสัญญาเดิมว่านี่เป็นเด็ก นี่เป็นหนุ่มสาว นี่เป็นวัยกลางคน นี่เป็นคนแก่ มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ ไม่ช้าก็ต้องตายลงไป ตัวเราก็เป็นเช่นนี้ คนอื่นก็เป็นเช่นนี้ สัตว์อื่นก็เป็นเช่นนี้ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิด ก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ วันนี้เพื่อนสนิทคนหนึ่ง ก็คือ พระอาจารย์ภาสกร ภูริวฑฺฒโน จากธรรมสถานวัดฝายหิน จังหวัดเชียงใหม่ ท่านแวะมาเยี่ยม
ท่านอาจารย์ภาสกรนั้นมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ก็คือความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันของสรรพสิ่ง ทั้งทางโลกและทางธรรม ที่ว่าถ้ามีสิ่งนี้ก็ต้องมีสิ่งนี้ ถ้าสิ่งนี้ดับสิ่งนี้ก็ต้องดับ แล้วท่านก็ยังมีการพัฒนาไปจนกระทั่งเรียกความรู้นั้นว่า วิปัสสนาชกมวย
ซึ่งอาตมาอยากจะบอกว่า การพิจารณาวิปัสสนาญาณตามธรรมชาติ ตามหน้าที่การงาน ตามการดำเนินชีวิตปกติของพวกเรา คือการปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าเราต้องรอให้ถึงเวลาแล้วค่อยปฏิบัติธรรม ค่อยภาวนา ค่อยพิจารณา ถ้าลักษณะอย่างนั้นอาตมาใช้คำว่า ไม่ทันกิน เพราะว่ากิเลสกินเราอยู่ตลอดเวลา ทุกนาที ทุกวินาที ไม่เปิดโอกาสให้เรามานั่งสมาธิก่อนแล้วค่อยกิน
เราจึงต้องพิจารณาวิปัสสนาญาณในลักษณะของธรรมชาติ คือสิ่งใดที่เข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เราต้องพิจารณาเป็นวิปัสสนาญาณ ก็คือเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น
สายตาเห็นรูป เราก็กำหนดด้วยสัญญาเดิมว่านี่เป็นเด็ก นี่เป็นหนุ่มสาว นี่เป็นวัยกลางคน นี่เป็นคนแก่ มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ ไม่ช้าก็ต้องตายลงไป ตัวเราก็เป็นเช่นนี้ คนอื่นก็เป็นเช่นนี้ สัตว์อื่นก็เป็นเช่นนี้ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิด ก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป