เถรี
29-01-2019, 18:48
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญ มีความชอบใจมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ วันนี้จะขอกล่าวถึงกรรมฐานกองหนึ่ง ซึ่งควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องกระทำ เพื่อทำให้สภาพจิตใจของเรานั้นประกอบไปด้วยความอ่อนโยน เยือกเย็น สามารถทรงอารมณ์กรรมฐานกองอื่น ๆ ได้ง่าย นั่นก็คือ พรหมวิหาร ๔
พรหมวิหาร ๔ นี่มีหลายชื่อ คำว่า พรหมวิหาร คือที่อยู่ของพรหมหรือของผู้ใหญ่ แปลว่า บุคคลที่เป็นใหญ่จะต้องประกอบไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นปกติอย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า สัพพัตถกกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ประกอบไปด้วยสารพัดประโยชน์ หนุนเสริมในการปฏิบัติของเราในทุก ๆ ด้าน อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า อารักขกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ช่วยรักษาตนจากอันตรายต่าง ๆ ที่จะพึงมีพึงเกิด
ในเรื่องของพรหมวิหารนั้น ส่วนใหญ่แล้วเราเองมีความเข้าใจแต่ไม่ชัดเจน พรหมวิหารจะว่าไปแล้วเป็นกรรมฐาน ๔ กองด้วยกัน
กองแรก คือ เมตตาพรหมวิหาร มีความรักเขาเสมอด้วยตัวเรา ก็แปลว่าเราชอบอะไร เราก็ทำแบบนั้นกับคนอื่น เราไม่ชอบอะไร เราก็อย่าทำแบบนั้นกับคนอื่น
กรุณาพรหมวิหาร มีความสงสาร อยากให้คนอื่นเขาพ้นจากความทุกข์ความลำบากที่เป็นอยู่
มุทิตาพรหมวิหาร มีความยินดีเมื่อเห็นคนอื่นอยู่ดีมีสุข ไม่อิจฉาริษยาใคร และ
อุเบกขาพรหมวิหาร รู้จักปล่อยวางเมื่อเกินกำลัง ก็หมายความว่าเราจะรักจะสงสารขนาดไหน ถ้าช่วยไม่ไหวก็ต้องวางเฉยไว้ก่อน มีโอกาสแล้วเราค่อยช่วยเหลือใหม่
คราวนี้ในส่วนที่เราควรจะทำก็คือการแผ่เมตตา คือการส่งกำลังใจที่เต็มไปด้วยความหวังดี ปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากจะให้เขาพ้นจากกองทุกข์ อยากจะให้เขาอยู่ดีมีสุข ใครที่มีความสุขอยู่แล้วก็ขอให้มีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ วันนี้จะขอกล่าวถึงกรรมฐานกองหนึ่ง ซึ่งควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องกระทำ เพื่อทำให้สภาพจิตใจของเรานั้นประกอบไปด้วยความอ่อนโยน เยือกเย็น สามารถทรงอารมณ์กรรมฐานกองอื่น ๆ ได้ง่าย นั่นก็คือ พรหมวิหาร ๔
พรหมวิหาร ๔ นี่มีหลายชื่อ คำว่า พรหมวิหาร คือที่อยู่ของพรหมหรือของผู้ใหญ่ แปลว่า บุคคลที่เป็นใหญ่จะต้องประกอบไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นปกติอย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า สัพพัตถกกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ประกอบไปด้วยสารพัดประโยชน์ หนุนเสริมในการปฏิบัติของเราในทุก ๆ ด้าน อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า อารักขกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ช่วยรักษาตนจากอันตรายต่าง ๆ ที่จะพึงมีพึงเกิด
ในเรื่องของพรหมวิหารนั้น ส่วนใหญ่แล้วเราเองมีความเข้าใจแต่ไม่ชัดเจน พรหมวิหารจะว่าไปแล้วเป็นกรรมฐาน ๔ กองด้วยกัน
กองแรก คือ เมตตาพรหมวิหาร มีความรักเขาเสมอด้วยตัวเรา ก็แปลว่าเราชอบอะไร เราก็ทำแบบนั้นกับคนอื่น เราไม่ชอบอะไร เราก็อย่าทำแบบนั้นกับคนอื่น
กรุณาพรหมวิหาร มีความสงสาร อยากให้คนอื่นเขาพ้นจากความทุกข์ความลำบากที่เป็นอยู่
มุทิตาพรหมวิหาร มีความยินดีเมื่อเห็นคนอื่นอยู่ดีมีสุข ไม่อิจฉาริษยาใคร และ
อุเบกขาพรหมวิหาร รู้จักปล่อยวางเมื่อเกินกำลัง ก็หมายความว่าเราจะรักจะสงสารขนาดไหน ถ้าช่วยไม่ไหวก็ต้องวางเฉยไว้ก่อน มีโอกาสแล้วเราค่อยช่วยเหลือใหม่
คราวนี้ในส่วนที่เราควรจะทำก็คือการแผ่เมตตา คือการส่งกำลังใจที่เต็มไปด้วยความหวังดี ปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากจะให้เขาพ้นจากกองทุกข์ อยากจะให้เขาอยู่ดีมีสุข ใครที่มีความสุขอยู่แล้วก็ขอให้มีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป