เถรี
04-07-2018, 22:25
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก... ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา ถ้าเผลอสติไปคิดเรื่องอื่น เมื่อรู้ตัวก็รีบดึงความรู้สึกกลับมาที่ลมหายใจเข้าออก ส่วนการกระทบของลมนั้น จะใช้ฐานเดียว ๓ ฐาน ๗ ฐานก็แล้วแต่ความถนัด คำภาวนาก็ใช้ตามความถนัดแต่เดิมของเรา
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ จะกล่าวถึงในเรื่องการปฏิบัติของเราว่า ส่วนใหญ่แล้วพวกเราปฏิบัติธรรมอยู่ แต่มักจะกังวลคิดโน่นคิดนี่อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบ้าน เรื่องครอบครัว เรื่องสามี เรื่องภรรยา บางคนฟุ้งซ่านไปถึงขนาดหนี้สินต่าง ๆ ก็มี ขอให้เราทุกคนทำใจว่าเรานั่งอยู่ตรงนี้ ต่อให้เป็นห่วงเป็นใยเท่าไร เราก็ไปแก้ไขเรื่องเหล่านั้นไม่ได้ ที่แน่ ๆ ถ้าหากกำลังใจเราฟุ้งซ่านแบบนี้ ถ้าตายลงไปเราอาจจะลงสู่อบายภูมิ เมื่อรู้จักเตือนสติตัวเองแบบนี้ กำลังใจก็จะได้อยู่กับลมหายใจเข้าออกมากขึ้น
ส่วนที่ ๒ คือเรื่องนิวรณ์ทั้ง ๕ อย่างที่เป็นกิเลสหยาบ มากั้นความดีไม่ให้เข้าถึงใจของเรา คือ กามฉันทะ ความข้องเกี่ยวกับรูปสวย เสียงเพราะ รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ พยาบาท ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นผู้อื่น ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจปฏิบัติ อุทธัจจะกุกุจจะ ความฟุ้งซ่าน ความหงุดหงิดรำคาญใจ และวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลการปฏิบัติ ซึ่งนิวรณ์ ๕ นี้ ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในใจของเรา ความดีก็จะเข้าไม่ถึง แต่การละนิวรณ์นั้นง่ายมาก ก็คือเอาสติของเราจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก ตราบใดที่ยังไม่หลุดไปจากลมหายใจ ตราบนั้นนิวรณ์ก็ยังกินเราไม่ได้
ในขณะเดียวกันก็ขอให้เราเป็นบุคคลที่มีสัจจะ ทำความดีเพื่อความดี ปฏิบัติธรรมเพื่อธรรม อย่างที่ภาษาบาลีว่า ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ก็คือปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม ก็แปลว่าเราจำเป็นที่จะจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับการปฏิบัติของเรา โดยไม่ส่งส่ายกำลังใจไปที่ไหน พยายามทบทวน ตามดูตามรู้ลมหายใจของเรา ว่าตอนนี้ลมหายใจเข้าออกนี้ แรงหรือเบา ยาวหรือสั้น ซึ่งปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของร่างกาย เรามีหน้าที่ตามดูตามรู้เท่านั้น และเราจะตามดูตามรู้เช่นนี้ตลอดไปโดยไม่ทอดทิ้ง ก็แปลว่าเราต้องเป็นคนมีสัจจะมั่นคง จริงจัง จริงใจต่อการกระทำของเรา
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ จะกล่าวถึงในเรื่องการปฏิบัติของเราว่า ส่วนใหญ่แล้วพวกเราปฏิบัติธรรมอยู่ แต่มักจะกังวลคิดโน่นคิดนี่อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบ้าน เรื่องครอบครัว เรื่องสามี เรื่องภรรยา บางคนฟุ้งซ่านไปถึงขนาดหนี้สินต่าง ๆ ก็มี ขอให้เราทุกคนทำใจว่าเรานั่งอยู่ตรงนี้ ต่อให้เป็นห่วงเป็นใยเท่าไร เราก็ไปแก้ไขเรื่องเหล่านั้นไม่ได้ ที่แน่ ๆ ถ้าหากกำลังใจเราฟุ้งซ่านแบบนี้ ถ้าตายลงไปเราอาจจะลงสู่อบายภูมิ เมื่อรู้จักเตือนสติตัวเองแบบนี้ กำลังใจก็จะได้อยู่กับลมหายใจเข้าออกมากขึ้น
ส่วนที่ ๒ คือเรื่องนิวรณ์ทั้ง ๕ อย่างที่เป็นกิเลสหยาบ มากั้นความดีไม่ให้เข้าถึงใจของเรา คือ กามฉันทะ ความข้องเกี่ยวกับรูปสวย เสียงเพราะ รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ พยาบาท ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นผู้อื่น ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจปฏิบัติ อุทธัจจะกุกุจจะ ความฟุ้งซ่าน ความหงุดหงิดรำคาญใจ และวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลการปฏิบัติ ซึ่งนิวรณ์ ๕ นี้ ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในใจของเรา ความดีก็จะเข้าไม่ถึง แต่การละนิวรณ์นั้นง่ายมาก ก็คือเอาสติของเราจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก ตราบใดที่ยังไม่หลุดไปจากลมหายใจ ตราบนั้นนิวรณ์ก็ยังกินเราไม่ได้
ในขณะเดียวกันก็ขอให้เราเป็นบุคคลที่มีสัจจะ ทำความดีเพื่อความดี ปฏิบัติธรรมเพื่อธรรม อย่างที่ภาษาบาลีว่า ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ก็คือปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม ก็แปลว่าเราจำเป็นที่จะจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับการปฏิบัติของเรา โดยไม่ส่งส่ายกำลังใจไปที่ไหน พยายามทบทวน ตามดูตามรู้ลมหายใจของเรา ว่าตอนนี้ลมหายใจเข้าออกนี้ แรงหรือเบา ยาวหรือสั้น ซึ่งปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของร่างกาย เรามีหน้าที่ตามดูตามรู้เท่านั้น และเราจะตามดูตามรู้เช่นนี้ตลอดไปโดยไม่ทอดทิ้ง ก็แปลว่าเราต้องเป็นคนมีสัจจะมั่นคง จริงจัง จริงใจต่อการกระทำของเรา