เถรี
22-05-2018, 23:44
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เมื่อสักครู่นี้ตอนตอบปัญหา มีบางท่านที่ถามเกี่ยวกับมโนมยิทธิ ซึ่งวิชามโนมยิทธินั้น จะว่าไปแล้วเป็นวิชาที่มีความสำคัญมาก เพราะว่าทำให้เรารู้จักพระนิพพานได้ ไปพระนิพพานตรง ถ้าใช้ถูกวิธีจะเป็นการตัดกิเลสที่ง่ายที่สุด แต่เท่าที่พบเห็นมาส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๙ ขึ้นไปใช้ผิดทั้งสิ้น
ในเรื่องของการใช้มโนมยิทธินั้น อันดับแรก เราต้องสร้างมโนมยิทธิซึ่งก็คือทิพจักขุญาณขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นเมื่อซักซ้อมคล่องตัวแล้ว ก็ใช้ทิพจักขุญาณไปกำหนดรู้ในเรื่องต่าง ๆ อย่างเช่นว่า
รู้อดีต เรียกว่า อตีตังสญาณ
รู้อนาคตเรียกว่า อนาคตังสญาณ
รู้ว่าปัจจุบันนี้ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร เรียกว่า ปัจจุปปันนังสญาณ
ระลึกชาติได้ เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
รู้ว่าคนและสัตว์ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน เรียกว่า จุตูปปาตญาณ
รู้ว่าคนเราทำดี ทำชั่วแล้วจะได้รับผลอย่างไร เรียกว่า ยถากัมมุตาญาณ
ถ้าท้ายสุด พยายามชำระจิตใจให้ผ่องใส ปราศจากกิเลส ถ้าทำได้ เรียกว่า อาสวักขยญาณ
ก็แปลว่าญาณทั้ง ๗ อย่างนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลของทิพจักขุญาณทั้งสิ้น
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เมื่อสักครู่นี้ตอนตอบปัญหา มีบางท่านที่ถามเกี่ยวกับมโนมยิทธิ ซึ่งวิชามโนมยิทธินั้น จะว่าไปแล้วเป็นวิชาที่มีความสำคัญมาก เพราะว่าทำให้เรารู้จักพระนิพพานได้ ไปพระนิพพานตรง ถ้าใช้ถูกวิธีจะเป็นการตัดกิเลสที่ง่ายที่สุด แต่เท่าที่พบเห็นมาส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๙ ขึ้นไปใช้ผิดทั้งสิ้น
ในเรื่องของการใช้มโนมยิทธินั้น อันดับแรก เราต้องสร้างมโนมยิทธิซึ่งก็คือทิพจักขุญาณขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นเมื่อซักซ้อมคล่องตัวแล้ว ก็ใช้ทิพจักขุญาณไปกำหนดรู้ในเรื่องต่าง ๆ อย่างเช่นว่า
รู้อดีต เรียกว่า อตีตังสญาณ
รู้อนาคตเรียกว่า อนาคตังสญาณ
รู้ว่าปัจจุบันนี้ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร เรียกว่า ปัจจุปปันนังสญาณ
ระลึกชาติได้ เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
รู้ว่าคนและสัตว์ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน เรียกว่า จุตูปปาตญาณ
รู้ว่าคนเราทำดี ทำชั่วแล้วจะได้รับผลอย่างไร เรียกว่า ยถากัมมุตาญาณ
ถ้าท้ายสุด พยายามชำระจิตใจให้ผ่องใส ปราศจากกิเลส ถ้าทำได้ เรียกว่า อาสวักขยญาณ
ก็แปลว่าญาณทั้ง ๗ อย่างนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลของทิพจักขุญาณทั้งสิ้น