เถรี
16-05-2018, 21:23
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ จากเมื่อวานที่ได้กล่าวว่า อานาปานสติคือการระลึกถึงลมหายใจเข้าออก เป็นพื้นฐานของกรรมฐานทั้งปวง ถ้าทิ้งอานาปานสติเสียอย่างเดียว เราก็ไม่สามารถที่จะทำกรรมฐานกองใดให้สำเร็จสัมฤทธิ์ผลลงไปได้ แต่การปฏิบัติในอานาปานสตินั้น ตอนท้ายเราต้องใช้ปัญญาในการพิจารณา ให้เห็นความเป็นจริงของสภาพร่างกายนี้ ให้เห็นความเป็นจริงของสภาพร่างกายของคนอื่น ให้เห็นความเป็นจริงในสภาพของโลกนี้ ว่ามีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง และสลายตัวไปในที่สุด
เนื่องเพราะว่าการปฏิบัติกรรมฐานของพวกเรานั้น เป็นการที่เราสะสมกำลังไว้เพื่อต่อสู้กับกิเลส เมื่อเราภาวนาไปจนกำลังของเราเต็มแล้ว ก็คือไม่สามารถที่จะไปต่อได้ เริ่มรู้สึกเครียด ก็ให้คลายกำลังใจออกมา แล้วนำเอาหลักไตรลักษณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาพิจารณาร่างกายของเรา ร่างกายของคนอื่น ร่างกายของสัตว์อื่น ตลอดจนวัตถุธาตุสิ่งของทั้งปวง ให้เห็นจริง ๆ ว่าทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา
เหตุที่ต้องทำเช่นนั้นเพราะว่า สภาพจิตของเรานั้น ถ้าไม่บังคับให้คิดในสิ่งที่ดี ๆ ก็จะไปคิดในเรื่องของ รัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาชอบ ในเมื่อเราภาวนาจนมีกำลังแล้ว ก็จะทำให้สภาพจิตสามารถใช้กำลังนั้นไปคิดในเรื่อง รัก โลภ โกรธ หลง ได้อย่างเป็นหลักเป็นฐาน เป็นงานเป็นการ เหมือนอย่างกับม้าหลุดจากคอก ไม่สามารถที่จะเหนี่ยวรั้งเอาไว้ได้อยู่ เป็นการเอากำลังของการปฏิบัติไปใช้ในทางที่ผิด
ดังนั้น...เมื่อท่านทั้งหลายภาวนาไปจนกระทั่งไปต่อไม่ได้แล้ว ให้คลายกำลังใจออกมาพิจารณา เพราะว่าการภาวนาคือสมถกรรมฐาน การพิจารณาคือวิปัสสนากรรมฐาน เปรียบเหมือนคนที่ผูกขาติดกันอยู่ มีช่วงให้ก้าวได้แค่สั้น ๆ เท่านั้น ถ้าเราจะก้าวในเรื่องของสมถะอย่างเดียว เมื่อสุดแล้วก็ไปต่อไม่ได้ ถ้าฝืนรั้งที่จะก้าวไป ก็จะโดนกระชากกลับ
หรือว่าเราจะก้าวในด้านของวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะว่าเมื่อกำลังใช้ในการพิจารณาจนหมดแล้ว ไม่มีกำลังของสมถะคอยหนุนเสริม กิเลสก็ตีเราตายเหมือนเดิม ก็อยู่ในลักษณะเดียวกันว่า ก้าวด้านวิปัสสนาไปจนสุด ก็ต้องย้อนกลับมาภาวนา เมื่อภาวนาจนกำลังใจไปต่อไม่ได้ ก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณา ต้องทำสลับกันไปสลับกันมาในลักษณะอย่างนี้ เราถึงจะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติ เหมือนกับคนมีโซ่ล่ามขาอยู่ ก็ต้องผลัดกันก้าวซ้ายทีขวาที จึงจะได้ระยะทาง ถ้าก้าวข้างเดียวก็ไม่สามารถที่จะไปได้
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ จากเมื่อวานที่ได้กล่าวว่า อานาปานสติคือการระลึกถึงลมหายใจเข้าออก เป็นพื้นฐานของกรรมฐานทั้งปวง ถ้าทิ้งอานาปานสติเสียอย่างเดียว เราก็ไม่สามารถที่จะทำกรรมฐานกองใดให้สำเร็จสัมฤทธิ์ผลลงไปได้ แต่การปฏิบัติในอานาปานสตินั้น ตอนท้ายเราต้องใช้ปัญญาในการพิจารณา ให้เห็นความเป็นจริงของสภาพร่างกายนี้ ให้เห็นความเป็นจริงของสภาพร่างกายของคนอื่น ให้เห็นความเป็นจริงในสภาพของโลกนี้ ว่ามีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง และสลายตัวไปในที่สุด
เนื่องเพราะว่าการปฏิบัติกรรมฐานของพวกเรานั้น เป็นการที่เราสะสมกำลังไว้เพื่อต่อสู้กับกิเลส เมื่อเราภาวนาไปจนกำลังของเราเต็มแล้ว ก็คือไม่สามารถที่จะไปต่อได้ เริ่มรู้สึกเครียด ก็ให้คลายกำลังใจออกมา แล้วนำเอาหลักไตรลักษณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาพิจารณาร่างกายของเรา ร่างกายของคนอื่น ร่างกายของสัตว์อื่น ตลอดจนวัตถุธาตุสิ่งของทั้งปวง ให้เห็นจริง ๆ ว่าทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา
เหตุที่ต้องทำเช่นนั้นเพราะว่า สภาพจิตของเรานั้น ถ้าไม่บังคับให้คิดในสิ่งที่ดี ๆ ก็จะไปคิดในเรื่องของ รัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาชอบ ในเมื่อเราภาวนาจนมีกำลังแล้ว ก็จะทำให้สภาพจิตสามารถใช้กำลังนั้นไปคิดในเรื่อง รัก โลภ โกรธ หลง ได้อย่างเป็นหลักเป็นฐาน เป็นงานเป็นการ เหมือนอย่างกับม้าหลุดจากคอก ไม่สามารถที่จะเหนี่ยวรั้งเอาไว้ได้อยู่ เป็นการเอากำลังของการปฏิบัติไปใช้ในทางที่ผิด
ดังนั้น...เมื่อท่านทั้งหลายภาวนาไปจนกระทั่งไปต่อไม่ได้แล้ว ให้คลายกำลังใจออกมาพิจารณา เพราะว่าการภาวนาคือสมถกรรมฐาน การพิจารณาคือวิปัสสนากรรมฐาน เปรียบเหมือนคนที่ผูกขาติดกันอยู่ มีช่วงให้ก้าวได้แค่สั้น ๆ เท่านั้น ถ้าเราจะก้าวในเรื่องของสมถะอย่างเดียว เมื่อสุดแล้วก็ไปต่อไม่ได้ ถ้าฝืนรั้งที่จะก้าวไป ก็จะโดนกระชากกลับ
หรือว่าเราจะก้าวในด้านของวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะว่าเมื่อกำลังใช้ในการพิจารณาจนหมดแล้ว ไม่มีกำลังของสมถะคอยหนุนเสริม กิเลสก็ตีเราตายเหมือนเดิม ก็อยู่ในลักษณะเดียวกันว่า ก้าวด้านวิปัสสนาไปจนสุด ก็ต้องย้อนกลับมาภาวนา เมื่อภาวนาจนกำลังใจไปต่อไม่ได้ ก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณา ต้องทำสลับกันไปสลับกันมาในลักษณะอย่างนี้ เราถึงจะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติ เหมือนกับคนมีโซ่ล่ามขาอยู่ ก็ต้องผลัดกันก้าวซ้ายทีขวาที จึงจะได้ระยะทาง ถ้าก้าวข้างเดียวก็ไม่สามารถที่จะไปได้