เถรี
02-05-2018, 08:42
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราทั้งหมดไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ วันนี้จะกล่าวถึงการปฏิบัติธรรมของพวกเรา ซึ่งส่วนใหญ่ก็หวังในส่วนของฤทธิ์ ของอภิญญา ซึ่งไม่ใช่ความผิด เพราะว่าการปฏิบัติของเราถ้าไม่มีส่วนของธรรมฉันทะ คือความพอใจในส่วนใดส่วนหนึ่ง เราก็จะขาดความพากเพียรทุ่มเททำให้กับสิ่งนั้น ๆ
ถ้าหากว่าเราต้องการในเรื่องของฤทธิ์เรื่องของอภิญญานั้น ก็เป็นไปได้โดย ๒ แนวทาง แนวทางแรกของเราก็คือ ฝึกตามแบบของวิสุทธิมรรค ก็คือจับกสิณกองใดกองหนึ่งที่วัสดุหาได้ง่ายสำหรับเรา มองภาพกสิณนั้นพร้อมกับกำหนดคำภาวนา อย่างเช่นว่า ถ้าเป็นสีแดงก็ภาวนาว่า โลหิตกสิณัง โลหิตกสิณัง เป็นต้น ถ้าเป็นธาตุดิน เป็นก้อนดิน ก็ภาวนา ปฐวีกสิณัง ปฐวีกสิณัง เป็นต้น
เมื่อภาพเลือนไปก็ลืมตามองใหม่ หลับตาลงจำภาพนั้นแล้วภาวนาใหม่ อย่างนี้เป็นต้น ทำแบบนี้เป็นร้อยเป็นพันครั้ง จนกระทั่งเราจะลืมตาหรือหลับตาก็เห็นภาพนั้นได้เท่ากัน เมื่อถึงขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่ยาก เพราะว่าเราต้องประคับประคองภาพกสิณนี้ให้อยู่กับเรา จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง ต้องแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งไว้กับภาพกสิณนี้เสมอ ไม่เช่นนั้นก็จะเลือนหายไป ทำให้เราต้องไปเริ่มต้นทำภาพกสิณมาใหม่
แต่ถ้าเราสามารถรักษาเอาไว้ได้ ภาพกสิณเหล่านี้ก็จะมีการเปลี่ยนสี จากสีเข้มก็เป็นสีจางลง จากสีจางลงก็เป็นสีเหลือง จากสีเหลืองเป็นสีเหลืองอ่อน จากสีเหลืองอ่อนเป็นสีขาว จากสีขาวเป็นใส จากใสเป็นสว่าง ถ้าหากว่าความสว่างขึ้นเต็มที่ เราสามารถที่จะอธิษฐานให้ใหญ่ ให้เล็ก ให้มา ให้ไปได้ ก็แปลว่าเราสามารถใช้กสิณกองนั้น อธิษฐานให้เกิดผลตามที่ท่านระบุเอาไว้ในตำรา อย่างเช่นว่าจะทำของอ่อนให้แข็งก็ใช้ปฐวีกสิณ ถ้าหากอยากไปที่ไหนเร็ว ๆ ก็ใช้วาโยกสิณ เป็นต้น
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ วันนี้จะกล่าวถึงการปฏิบัติธรรมของพวกเรา ซึ่งส่วนใหญ่ก็หวังในส่วนของฤทธิ์ ของอภิญญา ซึ่งไม่ใช่ความผิด เพราะว่าการปฏิบัติของเราถ้าไม่มีส่วนของธรรมฉันทะ คือความพอใจในส่วนใดส่วนหนึ่ง เราก็จะขาดความพากเพียรทุ่มเททำให้กับสิ่งนั้น ๆ
ถ้าหากว่าเราต้องการในเรื่องของฤทธิ์เรื่องของอภิญญานั้น ก็เป็นไปได้โดย ๒ แนวทาง แนวทางแรกของเราก็คือ ฝึกตามแบบของวิสุทธิมรรค ก็คือจับกสิณกองใดกองหนึ่งที่วัสดุหาได้ง่ายสำหรับเรา มองภาพกสิณนั้นพร้อมกับกำหนดคำภาวนา อย่างเช่นว่า ถ้าเป็นสีแดงก็ภาวนาว่า โลหิตกสิณัง โลหิตกสิณัง เป็นต้น ถ้าเป็นธาตุดิน เป็นก้อนดิน ก็ภาวนา ปฐวีกสิณัง ปฐวีกสิณัง เป็นต้น
เมื่อภาพเลือนไปก็ลืมตามองใหม่ หลับตาลงจำภาพนั้นแล้วภาวนาใหม่ อย่างนี้เป็นต้น ทำแบบนี้เป็นร้อยเป็นพันครั้ง จนกระทั่งเราจะลืมตาหรือหลับตาก็เห็นภาพนั้นได้เท่ากัน เมื่อถึงขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่ยาก เพราะว่าเราต้องประคับประคองภาพกสิณนี้ให้อยู่กับเรา จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง ต้องแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งไว้กับภาพกสิณนี้เสมอ ไม่เช่นนั้นก็จะเลือนหายไป ทำให้เราต้องไปเริ่มต้นทำภาพกสิณมาใหม่
แต่ถ้าเราสามารถรักษาเอาไว้ได้ ภาพกสิณเหล่านี้ก็จะมีการเปลี่ยนสี จากสีเข้มก็เป็นสีจางลง จากสีจางลงก็เป็นสีเหลือง จากสีเหลืองเป็นสีเหลืองอ่อน จากสีเหลืองอ่อนเป็นสีขาว จากสีขาวเป็นใส จากใสเป็นสว่าง ถ้าหากว่าความสว่างขึ้นเต็มที่ เราสามารถที่จะอธิษฐานให้ใหญ่ ให้เล็ก ให้มา ให้ไปได้ ก็แปลว่าเราสามารถใช้กสิณกองนั้น อธิษฐานให้เกิดผลตามที่ท่านระบุเอาไว้ในตำรา อย่างเช่นว่าจะทำของอ่อนให้แข็งก็ใช้ปฐวีกสิณ ถ้าหากอยากไปที่ไหนเร็ว ๆ ก็ใช้วาโยกสิณ เป็นต้น