เถรี
30-01-2018, 08:36
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ จากการตอบคำถามเมื่อครู่ก่อนการปฏิบัติธรรมนั้น ทำให้เห็นว่านักปฏิบัติธรรมของเราจำนวนหนึ่ง ประกอบไปด้วยความฟุ้งซ่านเป็นอย่างมาก ถ้าเอาเวลาในการคิดคำถามไปภาวนา ก็น่าจะทรงฌานไปได้นานแล้ว
เพียงแต่ว่าท่านทั้งหลายเหล่านี้เมื่อศึกษาแล้ว กลายเป็นศึกษาไปในทางที่ผิด เพราะว่าการศึกษาในทางพระพุทธศาสนานั้นประกอบไปด้วย อลคัททูปมปริยัติ เรียกว่า การศึกษาเหมือนจับงูข้างหาง นอกจากไม่ก่อประโยชน์แล้ว ยังอาจจะโดนงูนั้นกัดจนถึงแก่ความตายได้ ก็คือลักษณะของบุคคลที่ศึกษาแบบจับแพะชนแกะไปเรื่อย กลายเป็นว่าตนเองก็สับสน ไม่ทราบว่าอะไรเป็นอะไร แล้วก็มาฟุ้งซ่านว่า จะต้องเป็นอย่างนั้น จะต้องเป็นอย่างนี้ ท้ายสุดก็อาจจะเลี้ยวออกนอกลู่นอกทาง กลายเป็นมิจฉาทิฐิไปได้
การศึกษาประเภทต่อไป คือ ภัณฑาคาริกปริยัติ ท่านกล่าวว่าการศึกษาประเภทนี้เหมือนดั่งห้องสมุดหรือคลังเก็บความรู้ ก็คือรักษาความรู้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ก็จะอยู่ในลักษณะของเถรใบลานเปล่า คือศึกษาได้ ท่องจำได้ ถ่ายทอดให้คนอื่นต่อได้ แต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรมากไปกว่านี้
ก็เหลือเพียงประการสุดท้าย คือ นิสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อความหลุดพ้น ถ้าจะศึกษาเพื่อความหลุดพ้น ก็ต้องทำตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ ก็คือต้องหาสัปปายะ ๗ ให้ครบ ก็แปลว่าสิ่งที่พอเหมาะ พอดี พอควรแก่ผู้ที่ปฏิบัติธรรมนั้นเราจะต้องมีอยู่ เพื่อที่จะได้ก้าวเข้าสู่การหลุดพ้นได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ จากการตอบคำถามเมื่อครู่ก่อนการปฏิบัติธรรมนั้น ทำให้เห็นว่านักปฏิบัติธรรมของเราจำนวนหนึ่ง ประกอบไปด้วยความฟุ้งซ่านเป็นอย่างมาก ถ้าเอาเวลาในการคิดคำถามไปภาวนา ก็น่าจะทรงฌานไปได้นานแล้ว
เพียงแต่ว่าท่านทั้งหลายเหล่านี้เมื่อศึกษาแล้ว กลายเป็นศึกษาไปในทางที่ผิด เพราะว่าการศึกษาในทางพระพุทธศาสนานั้นประกอบไปด้วย อลคัททูปมปริยัติ เรียกว่า การศึกษาเหมือนจับงูข้างหาง นอกจากไม่ก่อประโยชน์แล้ว ยังอาจจะโดนงูนั้นกัดจนถึงแก่ความตายได้ ก็คือลักษณะของบุคคลที่ศึกษาแบบจับแพะชนแกะไปเรื่อย กลายเป็นว่าตนเองก็สับสน ไม่ทราบว่าอะไรเป็นอะไร แล้วก็มาฟุ้งซ่านว่า จะต้องเป็นอย่างนั้น จะต้องเป็นอย่างนี้ ท้ายสุดก็อาจจะเลี้ยวออกนอกลู่นอกทาง กลายเป็นมิจฉาทิฐิไปได้
การศึกษาประเภทต่อไป คือ ภัณฑาคาริกปริยัติ ท่านกล่าวว่าการศึกษาประเภทนี้เหมือนดั่งห้องสมุดหรือคลังเก็บความรู้ ก็คือรักษาความรู้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ก็จะอยู่ในลักษณะของเถรใบลานเปล่า คือศึกษาได้ ท่องจำได้ ถ่ายทอดให้คนอื่นต่อได้ แต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรมากไปกว่านี้
ก็เหลือเพียงประการสุดท้าย คือ นิสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อความหลุดพ้น ถ้าจะศึกษาเพื่อความหลุดพ้น ก็ต้องทำตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ ก็คือต้องหาสัปปายะ ๗ ให้ครบ ก็แปลว่าสิ่งที่พอเหมาะ พอดี พอควรแก่ผู้ที่ปฏิบัติธรรมนั้นเราจะต้องมีอยู่ เพื่อที่จะได้ก้าวเข้าสู่การหลุดพ้นได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้