เถรี
11-12-2017, 09:52
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ จากวันนี้ที่มีบุคคลซึ่งตั้งใจปฏิบัติ สามารถทรงกสิณ ๑๐ ได้แล้วมาถามปัญหา ทำให้นึกย้อนไปถึงสมัยที่อาตมายังปฏิบัติใหม่ ๆ ก็จะมีปัญหาหนึ่งซึ่งทุกคนต้องพบเหมือนกันก็คือ กำลังใจไม่ทรงตัว ภาวนาไปแล้วสงบได้เพียงเล็กน้อย หลังจากนั้นก็ฟุ้งซ่าน ซึ่งในส่วนนี้หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านได้เมตตาสอนพระคาถาต่าง ๆ ให้
อาตมาเองช่วงนั้นเป็นวัยรุ่น อายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี จิตใจก็ย่อมฟุ้งซ่านส่งส่ายไปง่าย หลวงพ่อท่านจึงสอนพระคาถาให้ทีละบท บอกให้ไปภาวนาพร้อมกับรักษาศีล โดยให้ภาวนาครั้งละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เมื่อเกิดผลแล้วไปรายงาน ท่านก็ให้คำชมเชยแล้วก็มอบพระคาถาบทใหม่ ซึ่งมีอานุภาพแบบใหม่ ๆ มาให้อีก
เมื่อทำไป ๆ ระยะหนึ่ง พระคาถาต่าง ๆ ก็เริ่มมีมากบทขึ้น จนกระทั่งที่ใช้อยู่หลัก ๆ ก็เป็นสิบบทแล้ว จึงได้แบ่งเวลาภาวนาพระคาถาเหล่านั้น อย่างเช่น ภาวนาอย่างละ ๓๐ จบ เมื่อครบแล้วจึงเลื่อนไปพระคาถาอื่น แต่นี่คือหลังจากที่ทำได้ผลแล้วทุกบท ถ้ายังทำไม่ได้ผล ก็ให้ปักใจอยู่กับบทเดิมนั้น แล้วก็ภาวนาให้เกิดผลเสียก่อน
เมื่อมีพระคาถาหลายบทต้องแบ่งเวลาในการภาวนา ทำให้สภาพจิตทรงตัวได้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น เมื่อต้องแบ่งเวลาให้ทุกบท หลวงพ่อท่านบอกว่า อะไรที่เราทำได้แล้ว ก่อนที่จะเริ่มบทใหม่ ต้องทวนของเก่าให้คล่องตัวก่อน อาตมาจึงไม่กล้าทิ้ง ถึงเวลาก็ภาวนาของเก่าก่อน ๑๐ จบ ๒๐ จบ ๓๐ จบ ๑๐๘ จบ แล้วแต่จำนวนสั้นยาวของพระคาถา จนกำลังใจทรงตัวแล้วก็เปลี่ยนเป็นบทต่อไป ทำให้สามารถทรงสมาธิได้นานเป็นชั่วโมง ๆ โดยที่ไม่รู้สึกฟุ้งซ่านรำคาญเหมือนกับก่อนหน้านี้
ในส่วนนี้จึงขอแนะนำแก่ญาติโยมทั้งหลายว่า ให้หาพระคาถาบทใดบทหนึ่งที่เรารักเราชอบ หรือมีพระคาถาหลายบทก็นำมากำหนดภาวนา อาจจะกำหนดไว้ว่าบทละ ๕ นาที บทละ ๑๐ นาที หรือบทละ ๑๐๘ จบอย่างที่อาตมาทำก็ได้
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ จากวันนี้ที่มีบุคคลซึ่งตั้งใจปฏิบัติ สามารถทรงกสิณ ๑๐ ได้แล้วมาถามปัญหา ทำให้นึกย้อนไปถึงสมัยที่อาตมายังปฏิบัติใหม่ ๆ ก็จะมีปัญหาหนึ่งซึ่งทุกคนต้องพบเหมือนกันก็คือ กำลังใจไม่ทรงตัว ภาวนาไปแล้วสงบได้เพียงเล็กน้อย หลังจากนั้นก็ฟุ้งซ่าน ซึ่งในส่วนนี้หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านได้เมตตาสอนพระคาถาต่าง ๆ ให้
อาตมาเองช่วงนั้นเป็นวัยรุ่น อายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี จิตใจก็ย่อมฟุ้งซ่านส่งส่ายไปง่าย หลวงพ่อท่านจึงสอนพระคาถาให้ทีละบท บอกให้ไปภาวนาพร้อมกับรักษาศีล โดยให้ภาวนาครั้งละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เมื่อเกิดผลแล้วไปรายงาน ท่านก็ให้คำชมเชยแล้วก็มอบพระคาถาบทใหม่ ซึ่งมีอานุภาพแบบใหม่ ๆ มาให้อีก
เมื่อทำไป ๆ ระยะหนึ่ง พระคาถาต่าง ๆ ก็เริ่มมีมากบทขึ้น จนกระทั่งที่ใช้อยู่หลัก ๆ ก็เป็นสิบบทแล้ว จึงได้แบ่งเวลาภาวนาพระคาถาเหล่านั้น อย่างเช่น ภาวนาอย่างละ ๓๐ จบ เมื่อครบแล้วจึงเลื่อนไปพระคาถาอื่น แต่นี่คือหลังจากที่ทำได้ผลแล้วทุกบท ถ้ายังทำไม่ได้ผล ก็ให้ปักใจอยู่กับบทเดิมนั้น แล้วก็ภาวนาให้เกิดผลเสียก่อน
เมื่อมีพระคาถาหลายบทต้องแบ่งเวลาในการภาวนา ทำให้สภาพจิตทรงตัวได้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น เมื่อต้องแบ่งเวลาให้ทุกบท หลวงพ่อท่านบอกว่า อะไรที่เราทำได้แล้ว ก่อนที่จะเริ่มบทใหม่ ต้องทวนของเก่าให้คล่องตัวก่อน อาตมาจึงไม่กล้าทิ้ง ถึงเวลาก็ภาวนาของเก่าก่อน ๑๐ จบ ๒๐ จบ ๓๐ จบ ๑๐๘ จบ แล้วแต่จำนวนสั้นยาวของพระคาถา จนกำลังใจทรงตัวแล้วก็เปลี่ยนเป็นบทต่อไป ทำให้สามารถทรงสมาธิได้นานเป็นชั่วโมง ๆ โดยที่ไม่รู้สึกฟุ้งซ่านรำคาญเหมือนกับก่อนหน้านี้
ในส่วนนี้จึงขอแนะนำแก่ญาติโยมทั้งหลายว่า ให้หาพระคาถาบทใดบทหนึ่งที่เรารักเราชอบ หรือมีพระคาถาหลายบทก็นำมากำหนดภาวนา อาจจะกำหนดไว้ว่าบทละ ๕ นาที บทละ ๑๐ นาที หรือบทละ ๑๐๘ จบอย่างที่อาตมาทำก็ได้