เถรี
02-08-2017, 22:00
ปกติพวกเราเวลาปฏิบัติธรรมแล้วมีอยู่ ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งก็คือมั่วเหมือนมวยวัด ประเภทปะฉะดะ เจออะไรดีกวาดไว้หมด การปฏิบัติธรรมแรก ๆ ก็เป็นอย่างนั้น ทุกคนอยากจะดีที่สุด เก่งที่สุดทุกคน แต่พอทำไป ๆ แล้วเหมือนกับการร่อนกากเหลือแต่แก่นแท้ จะเริ่มรู้แล้วว่าอะไรที่เหมาะกับเรา จากการที่ตีอวนจะเอาปลาทั้งทะเล ก็จะกลายเป็นเล็งแค่ตัวที่ดีที่สุดตัวเดียว
ฉะนั้น...ตอนนี้ใครที่ยังตีอวนจะเอาปลาทั้งทะเลอยู่ อาตมาก็ไม่ได้ตำหนิ เพราะถ้าไม่ทำก็ไม่แล้วแก่ใจ นี่ไม่ใช่สำนวนคนภาคกลาง “บ่แล่วใจ๋” ก็เอาปลาทั้งทะเลไปก่อน ดูซิว่าจะลากไหวไหม ? เราลองมานึกดูว่า ถ้าตีอวนเอาปลาตัวหนึ่ง กับตีอวนเอาปลาทั้งทะเล อย่างไหนจะลากง่ายกว่ากัน ?
อีกส่วนหนึ่งก็คือ ได้หลักแล้วแต่ยังขาดวิริยะกับปัญญาอยู่มาก บารมี ๑๐ ของพวกเราส่วนใหญ่จะพร่องอยู่ที่ ๒ ตัวนี้ อาตมาเล็งดูแล้ว ใครจะยืนยันว่าไม่พร่องช่วยยกมือให้ดูหน้าหน่อย เชื่อเถอะ...พระอาจารย์ดูไม่ผิดหรอก วิริยบารมีของเราที่ขาดก็เพราะว่าความเพียรไม่พอ ไฟลุกเป็นพัก ๆ เจอหน้าครูบาอาจารย์หรือเพื่อนฝูง คุยกันเรื่องการปฏิบัติขึ้นมา ก็ไฟลุกฮือขึ้นมาพักหนึ่ง พอห่างหายจากกัลยาณมิตรก็ไฟดับต่อไป
ทำอย่างไรที่จะให้เรามีไฟอย่างสม่ำเสมอ ? อย่างน้อยที่สุดต้องปฏิบัติให้ถึงขั้นปีติ แบบคุณอดิเทพที่รำมวยนั่น มีใครโดนเตะบ้างไหม ? วันนี้ตูก็ไม่ได้อยู่ดูการรำมวยด้วย นั่นเป็นอาการของปีติ
ถ้าถึงตรงนั้นแล้วจะไม่เบื่อไม่หน่ายในการปฏิบัติ เพราะว่าสภาพจิตเริ่มรู้แล้ว รู้รสพระธรรมแล้ว ก็คือรู้ว่าปฏิบัติแล้วเป็นอย่างไร ได้ผลจริงอย่างไร ในเมื่อเป็นลักษณะอย่างนั้นกำลังใจก็จะไม่ถอย และอาจจะทำเกินด้วย ก็คือพอปีติขึ้นมาก็ขยันปฏิบัติหัวไม่วางหางไม่เว้น บางทีควรจะพักก็ไม่พัก ทำมากจนสติแตกไปเลยก็มี เพราะว่าร่างกายทนความเครียดไม่ไหว ฉะนั้น...นักปฏิบัติที่ดีต้องมีมัชฌิมาปฏิปทา รู้จักผ่อนสั้นพักผ่อนยาว เอาที่พอเหมาะพอดีกับตัวเอง
ฉะนั้น...ตอนนี้ใครที่ยังตีอวนจะเอาปลาทั้งทะเลอยู่ อาตมาก็ไม่ได้ตำหนิ เพราะถ้าไม่ทำก็ไม่แล้วแก่ใจ นี่ไม่ใช่สำนวนคนภาคกลาง “บ่แล่วใจ๋” ก็เอาปลาทั้งทะเลไปก่อน ดูซิว่าจะลากไหวไหม ? เราลองมานึกดูว่า ถ้าตีอวนเอาปลาตัวหนึ่ง กับตีอวนเอาปลาทั้งทะเล อย่างไหนจะลากง่ายกว่ากัน ?
อีกส่วนหนึ่งก็คือ ได้หลักแล้วแต่ยังขาดวิริยะกับปัญญาอยู่มาก บารมี ๑๐ ของพวกเราส่วนใหญ่จะพร่องอยู่ที่ ๒ ตัวนี้ อาตมาเล็งดูแล้ว ใครจะยืนยันว่าไม่พร่องช่วยยกมือให้ดูหน้าหน่อย เชื่อเถอะ...พระอาจารย์ดูไม่ผิดหรอก วิริยบารมีของเราที่ขาดก็เพราะว่าความเพียรไม่พอ ไฟลุกเป็นพัก ๆ เจอหน้าครูบาอาจารย์หรือเพื่อนฝูง คุยกันเรื่องการปฏิบัติขึ้นมา ก็ไฟลุกฮือขึ้นมาพักหนึ่ง พอห่างหายจากกัลยาณมิตรก็ไฟดับต่อไป
ทำอย่างไรที่จะให้เรามีไฟอย่างสม่ำเสมอ ? อย่างน้อยที่สุดต้องปฏิบัติให้ถึงขั้นปีติ แบบคุณอดิเทพที่รำมวยนั่น มีใครโดนเตะบ้างไหม ? วันนี้ตูก็ไม่ได้อยู่ดูการรำมวยด้วย นั่นเป็นอาการของปีติ
ถ้าถึงตรงนั้นแล้วจะไม่เบื่อไม่หน่ายในการปฏิบัติ เพราะว่าสภาพจิตเริ่มรู้แล้ว รู้รสพระธรรมแล้ว ก็คือรู้ว่าปฏิบัติแล้วเป็นอย่างไร ได้ผลจริงอย่างไร ในเมื่อเป็นลักษณะอย่างนั้นกำลังใจก็จะไม่ถอย และอาจจะทำเกินด้วย ก็คือพอปีติขึ้นมาก็ขยันปฏิบัติหัวไม่วางหางไม่เว้น บางทีควรจะพักก็ไม่พัก ทำมากจนสติแตกไปเลยก็มี เพราะว่าร่างกายทนความเครียดไม่ไหว ฉะนั้น...นักปฏิบัติที่ดีต้องมีมัชฌิมาปฏิปทา รู้จักผ่อนสั้นพักผ่อนยาว เอาที่พอเหมาะพอดีกับตัวเอง