เถรี
27-06-2017, 18:32
ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตน ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกของเราทั้งหมดไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับวันนี้ในส่วนของการปฏิบัติของพวกเรานั้น สิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกกล่าวถึง ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นพื้นฐานเลย คือลมหายใจเข้าออกของเรานี่เอง
ลมหายใจเข้าออกเป็นพื้นฐานใหญ่ในการปฏิบัติธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออกควบไปด้วย เราจะไม่สามารถที่จะทำให้ถึงที่สุดของกองกรรมฐานนั้น ๆ ได้ สมาธิทุกระดับของเราต้องอาศัยลมหายใจเข้าออกเป็นบาทฐาน ถ้าไม่สามารถจับลมหายใจเข้าออกได้ เราก็ไม่สามารถทรงอัปปนาสมาธิได้อย่างที่ต้องการ
ดังนั้น...เราจะเห็นว่าอานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออกของเรานั้น สำคัญอย่างยิ่ง สำคัญชนิดที่จะละทิ้งไม่ได้เลย เพียงแต่ว่าการจับลมหายใจเข้าออกของเรานั้น ให้เป็นไปโดยธรรมชาติ ลมหายใจจะแรง จะเบา จะยาว จะสั้น ปล่อยให้เป็นไปตามปกติ
เราแค่เอาสติคือความรู้สึก เข้าไปรับรู้การหายใจนั้น ๆ ว่าตอนนี้ลมหายใจของเราแรง ตอนนี้ลมหายใจของเราเบา ตอนนี้ลมหายใจของเรายาว ตอนนี้ลมหายใจของเราสั้น อรรถกถาจารย์ท่านบอกว่า “เหมือนอย่างกับลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ว่าตนเองชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ว่าตนเองชักเชือกกลึงสั้น” นั่นคือเอาสติจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้าออก แต่ไม่ใช่การบังคับลม
ยกเว้นบางท่านที่สามารถทรงสมาธิระดับใดระดับหนึ่งได้แล้ว จนเกิดความเคยชิน เกิดความชำนาญ ทันทีที่ตั้งใจจะภาวนาจับลมหายใจเข้าออก สมาธิก็จะกระโดดข้ามไประดับที่ตนเองมีความชำนาญเลย จะมีการเปลี่ยนแปลงของลมหายใจอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นว่าลมหายใจจะเบาลงหรือหายไปเลย เป็นต้น เราก็อาจจะคิดว่าเป็นการบังคับลมหายใจ ถ้าเกิดอาการอย่างนี้ให้รู้ว่า เป็นความชำนาญในการเข้าสมาธิ ไม่ใช่การบังคับลมหายใจเข้าออก
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับวันนี้ในส่วนของการปฏิบัติของพวกเรานั้น สิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกกล่าวถึง ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นพื้นฐานเลย คือลมหายใจเข้าออกของเรานี่เอง
ลมหายใจเข้าออกเป็นพื้นฐานใหญ่ในการปฏิบัติธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออกควบไปด้วย เราจะไม่สามารถที่จะทำให้ถึงที่สุดของกองกรรมฐานนั้น ๆ ได้ สมาธิทุกระดับของเราต้องอาศัยลมหายใจเข้าออกเป็นบาทฐาน ถ้าไม่สามารถจับลมหายใจเข้าออกได้ เราก็ไม่สามารถทรงอัปปนาสมาธิได้อย่างที่ต้องการ
ดังนั้น...เราจะเห็นว่าอานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออกของเรานั้น สำคัญอย่างยิ่ง สำคัญชนิดที่จะละทิ้งไม่ได้เลย เพียงแต่ว่าการจับลมหายใจเข้าออกของเรานั้น ให้เป็นไปโดยธรรมชาติ ลมหายใจจะแรง จะเบา จะยาว จะสั้น ปล่อยให้เป็นไปตามปกติ
เราแค่เอาสติคือความรู้สึก เข้าไปรับรู้การหายใจนั้น ๆ ว่าตอนนี้ลมหายใจของเราแรง ตอนนี้ลมหายใจของเราเบา ตอนนี้ลมหายใจของเรายาว ตอนนี้ลมหายใจของเราสั้น อรรถกถาจารย์ท่านบอกว่า “เหมือนอย่างกับลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ว่าตนเองชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ว่าตนเองชักเชือกกลึงสั้น” นั่นคือเอาสติจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้าออก แต่ไม่ใช่การบังคับลม
ยกเว้นบางท่านที่สามารถทรงสมาธิระดับใดระดับหนึ่งได้แล้ว จนเกิดความเคยชิน เกิดความชำนาญ ทันทีที่ตั้งใจจะภาวนาจับลมหายใจเข้าออก สมาธิก็จะกระโดดข้ามไประดับที่ตนเองมีความชำนาญเลย จะมีการเปลี่ยนแปลงของลมหายใจอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นว่าลมหายใจจะเบาลงหรือหายไปเลย เป็นต้น เราก็อาจจะคิดว่าเป็นการบังคับลมหายใจ ถ้าเกิดอาการอย่างนี้ให้รู้ว่า เป็นความชำนาญในการเข้าสมาธิ ไม่ใช่การบังคับลมหายใจเข้าออก