เถรี
29-05-2017, 09:58
การปฏิบัติธรรมนั้นความจริงแล้วต้อง ๒๔ ชั่วโมงเต็ม ไม่ขาดแม้แต่วินาทีเดียว ไม่ใช่ว่าปฏิบัติตอนช่วงเช้าชั่วโมงครึ่ง ตอนบ่าย ๒ ชั่วโมง รวมแล้วก็ ๓ ชั่วโมงครึ่ง ที่เหลืออีก ๒๐ ชั่วโมงครึ่ง เราไหลตามกิเลสไปโดยตลอด แล้วโอกาสที่จะชนะมีหรือไม่ ? ไปลองตรองดู ถ้าเป็นเด็ก ป. ๑ บวกลบคูณหารก็น่าจะได้คำตอบแล้ว ไม่ต้องถึงระดับพวกเราหรอก
เรื่องของการปฏิบัติธรรมต้องเป็นคนที่รักธรรมจริงจังถึงจะสำเร็จผล เราอาจจะสงสัยว่า สมัยก่อนทำไมฆราวาสกลายเป็นบุคคลผู้สำเร็จในการปฏิบัติธรรม มีชื่อเสียงโด่งดัง อย่างท่านอาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง ท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม เป็นต้น ก็เพราะว่าท่านทั้งหลายเหล่านี้ปฏิบัติแบบทุ่มเท ไม่ได้ทำเล่น ๆ แบบแก้บนเหมือนพวกเราทำกัน เพราะว่าท่านต้องการจะพ้นทุกข์ ต้องการจะไปพระนิพพาน แล้วเราลองสำรวจว่าสิ่งที่เราทำนั้นสมควรที่จะได้ไปหรือไม่ ? แม้กระทั่งเอาตัวรอดจากวัฏสงสารโอกาสยังแทบไม่มีเลย แล้วเราจะไปถึงพระนิพพาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความเพียรพยายามเป็นอย่างสูง
เพราะฉะนั้น...ในระยะเวลาที่เหลือโปรดอย่าทำเป็นเล่น การที่เราเดินจงกรมนั้นต้องการความพร้อมเพรียง จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการเดินจงกรมแบบสติปัฏฐาน ๖ ระยะ แต่ถ้าตอนนั่งภาวนา เราถนัดแบบไหนให้ทำแบบนั้น เพราะว่าการภาวนานั้นมีสภาพจำ เคยชินกับการภาวนาในวิธีการอย่างไร คำภาวนาอย่างไร จิตจะจำอย่างนั้น พอเราไปเปลี่ยนวิธีการ จิตก็จะพะวักพะวงกับของเก่า แล้วก็ระมัดระวังของใหม่ ทำให้สับสนวุ่นวายกลายเป็นฟุ้งซ่าน แล้วจะหาความเจริญได้ยาก
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงก่อนปฏิบัติกรรมฐานเนกขัมมะ
วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐
เรื่องของการปฏิบัติธรรมต้องเป็นคนที่รักธรรมจริงจังถึงจะสำเร็จผล เราอาจจะสงสัยว่า สมัยก่อนทำไมฆราวาสกลายเป็นบุคคลผู้สำเร็จในการปฏิบัติธรรม มีชื่อเสียงโด่งดัง อย่างท่านอาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง ท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม เป็นต้น ก็เพราะว่าท่านทั้งหลายเหล่านี้ปฏิบัติแบบทุ่มเท ไม่ได้ทำเล่น ๆ แบบแก้บนเหมือนพวกเราทำกัน เพราะว่าท่านต้องการจะพ้นทุกข์ ต้องการจะไปพระนิพพาน แล้วเราลองสำรวจว่าสิ่งที่เราทำนั้นสมควรที่จะได้ไปหรือไม่ ? แม้กระทั่งเอาตัวรอดจากวัฏสงสารโอกาสยังแทบไม่มีเลย แล้วเราจะไปถึงพระนิพพาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความเพียรพยายามเป็นอย่างสูง
เพราะฉะนั้น...ในระยะเวลาที่เหลือโปรดอย่าทำเป็นเล่น การที่เราเดินจงกรมนั้นต้องการความพร้อมเพรียง จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการเดินจงกรมแบบสติปัฏฐาน ๖ ระยะ แต่ถ้าตอนนั่งภาวนา เราถนัดแบบไหนให้ทำแบบนั้น เพราะว่าการภาวนานั้นมีสภาพจำ เคยชินกับการภาวนาในวิธีการอย่างไร คำภาวนาอย่างไร จิตจะจำอย่างนั้น พอเราไปเปลี่ยนวิธีการ จิตก็จะพะวักพะวงกับของเก่า แล้วก็ระมัดระวังของใหม่ ทำให้สับสนวุ่นวายกลายเป็นฟุ้งซ่าน แล้วจะหาความเจริญได้ยาก
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงก่อนปฏิบัติกรรมฐานเนกขัมมะ
วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐