เถรี
01-01-2017, 18:50
ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราไว้กับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกแนบชิดติดกับลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกของเราแนบชิดติดกับลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ สำหรับในวันนี้อยากให้เราพินิจพิจารณาอยู่ในส่วนการปฏิบัติของเรา ซึ่งจะว่าไปแล้วสิ่งที่เราพยายามไขว่คว้าหามาทั้งหมด หรือว่าสิ่งที่เราพยายามผลักไสไล่ส่งเพราะเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็ไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน อยู่ในใจของเรานี่เอง เพราะฉะนั้น...การปฏิบัติจึงไม่ต้องไปใส่ใจเรื่องภายนอก สำคัญที่สุดตรงที่การชำระจิตใจของเราให้ผ่องใส ให้หมดสิ้นจากกิเลส โดยยึดหลักสัมมัปปธาน ๔ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องประกอบ
เพราะว่าสภาพจิตของเรารับความดีความชั่วได้ทีละอย่างเดียว ไม่มีใครสามารถทำความดีความชั่วพร้อม ๆ กันได้ ต่อให้เจตนาแกล้งกระทำก็ทำไม่ได้ ดังนั้น...องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้มอบปธาน ๔ คือความเพียร ๔ อย่างให้กับเรา ได้แก่ ๑. สังวรปธาน คือ พินิจพิจารณาดูว่าใจของเรามีความชั่วอยู่หรือไม่ ? พยายามเสาะหาโดยที่ไม่เข้าข้างตนเอง
วิธีที่ง่ายที่สุดก็ดูไปตั้งแต่นิวรณ์ ๕ อย่าง ก็คือสภาพจิตของเรายังยึดโยงอยู่กับรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศหรือไม่ ? ยังโกรธ เกลียด อาฆาต พยาบาท คนอื่นหรือไม่ ? มีง่วงเหงาหาวนอนขี้เกียจปฏิบัติหรือไม่ ? มีความฟุ้งซ่านรำคาญในจิตใจหรือไม่ ? มีความลังเลสงสัยในคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่ามีคุณความดีหรือไม่ ?
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ สำหรับในวันนี้อยากให้เราพินิจพิจารณาอยู่ในส่วนการปฏิบัติของเรา ซึ่งจะว่าไปแล้วสิ่งที่เราพยายามไขว่คว้าหามาทั้งหมด หรือว่าสิ่งที่เราพยายามผลักไสไล่ส่งเพราะเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็ไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน อยู่ในใจของเรานี่เอง เพราะฉะนั้น...การปฏิบัติจึงไม่ต้องไปใส่ใจเรื่องภายนอก สำคัญที่สุดตรงที่การชำระจิตใจของเราให้ผ่องใส ให้หมดสิ้นจากกิเลส โดยยึดหลักสัมมัปปธาน ๔ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องประกอบ
เพราะว่าสภาพจิตของเรารับความดีความชั่วได้ทีละอย่างเดียว ไม่มีใครสามารถทำความดีความชั่วพร้อม ๆ กันได้ ต่อให้เจตนาแกล้งกระทำก็ทำไม่ได้ ดังนั้น...องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้มอบปธาน ๔ คือความเพียร ๔ อย่างให้กับเรา ได้แก่ ๑. สังวรปธาน คือ พินิจพิจารณาดูว่าใจของเรามีความชั่วอยู่หรือไม่ ? พยายามเสาะหาโดยที่ไม่เข้าข้างตนเอง
วิธีที่ง่ายที่สุดก็ดูไปตั้งแต่นิวรณ์ ๕ อย่าง ก็คือสภาพจิตของเรายังยึดโยงอยู่กับรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศหรือไม่ ? ยังโกรธ เกลียด อาฆาต พยาบาท คนอื่นหรือไม่ ? มีง่วงเหงาหาวนอนขี้เกียจปฏิบัติหรือไม่ ? มีความฟุ้งซ่านรำคาญในจิตใจหรือไม่ ? มีความลังเลสงสัยในคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่ามีคุณความดีหรือไม่ ?