เถรี
25-10-2016, 13:35
ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกแนบชิดติดกับลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกแนบชิดติดกับลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม จะจับการกระทบของลมจุดเดียว ๓ จุด ๕ จุด ๗ จุด หรือว่ารู้ตลอดกองลมก็ได้
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ จากคำถามที่ได้ถามช่วงก่อนเจริญกรรมฐานทำให้เห็นว่า บางท่านนั้นไปเลือกแนวทางการปฏิบัติที่เป็นทุกขาปฏิปทา คือปฏิบัติยากลำบาก ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับพวกเราส่วนใหญ่
ในส่วนของการปฏิบัติธรรมนั้น เป้าหมายของเราคือความหลุดพ้นจากกองทุกข์ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ไว้ว่า มีมรรค คือ หนทาง ๘ ประการ ซึ่งเริ่มจากสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ คือการมีความเห็นชอบ การมีความดำริชอบ ซึ่งจัดอยู่ในส่วนของปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดอยู่ในส่วนของศีล สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดอยู่ในส่วนของสมาธิ แปลว่าเราปฏิบัติใน ปัญญา ศีล และสมาธิ จึงจะถูกต้องตามหลักที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนเอาไว้
คราวนี้ในการปฏิบัติของเรานั้น ในศีลที่เราปฏิบัติต้องปฏิบัติอย่างไร ? ก็คือรักษาศีลตามเพศภาวะของตน อย่างเช่น ฆราวาสรักษาศีล ๕ อุบาสกอุบาสิการักษาศีล ๘ สามเณรรักษาศีล ๑๐ พระภิกษุสงฆ์รักษาศีล ๒๒๗ แต่มีข้อแม้ว่าเราต้องไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล และไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล ให้เราทบทวนเอาไว้ทุกวัน ทั้งก่อนนอนและตื่นนอนว่า มีศีลสิกขาบทใดของเราที่ขาดตกบกพร่องบ้าง ถ้ามีอยู่ก็ให้ตั้งใจว่า ในวันนี้เราจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ทุกข้อ
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ จากคำถามที่ได้ถามช่วงก่อนเจริญกรรมฐานทำให้เห็นว่า บางท่านนั้นไปเลือกแนวทางการปฏิบัติที่เป็นทุกขาปฏิปทา คือปฏิบัติยากลำบาก ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับพวกเราส่วนใหญ่
ในส่วนของการปฏิบัติธรรมนั้น เป้าหมายของเราคือความหลุดพ้นจากกองทุกข์ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ไว้ว่า มีมรรค คือ หนทาง ๘ ประการ ซึ่งเริ่มจากสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ คือการมีความเห็นชอบ การมีความดำริชอบ ซึ่งจัดอยู่ในส่วนของปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดอยู่ในส่วนของศีล สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดอยู่ในส่วนของสมาธิ แปลว่าเราปฏิบัติใน ปัญญา ศีล และสมาธิ จึงจะถูกต้องตามหลักที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนเอาไว้
คราวนี้ในการปฏิบัติของเรานั้น ในศีลที่เราปฏิบัติต้องปฏิบัติอย่างไร ? ก็คือรักษาศีลตามเพศภาวะของตน อย่างเช่น ฆราวาสรักษาศีล ๕ อุบาสกอุบาสิการักษาศีล ๘ สามเณรรักษาศีล ๑๐ พระภิกษุสงฆ์รักษาศีล ๒๒๗ แต่มีข้อแม้ว่าเราต้องไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล และไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล ให้เราทบทวนเอาไว้ทุกวัน ทั้งก่อนนอนและตื่นนอนว่า มีศีลสิกขาบทใดของเราที่ขาดตกบกพร่องบ้าง ถ้ามีอยู่ก็ให้ตั้งใจว่า ในวันนี้เราจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ทุกข้อ